วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP



ชื่อ-นามสกุล  นางสาวสิรีภรณ์  ยงศิริ (ปอ)
ตำแหน่ง 
นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด
  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
ชื่อเรื่อง
  การพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตผู้ประกอบการ  OTOP
สถานที่
อำเภออำเภอบางน้ำเปรี้ยว  จังหวัดฉะเชิงเทรา


"หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์"... โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือเรียกชื่อย่อๆว่า โอทอป (OTOP) เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อมากระตุ้นธุรกิจประกอบการที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น ซึ่งโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่น ในแต่ละตำบล โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP) ที่ประสบความสำเร็จของประเทศญี่ปุ่น โครงการโอทอป จะเป็นการกระตุ้นให้ชุมชนและหมู่บ้านพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นประกอบกับการตลาด โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นมา 1 ชิ้นจากแต่ละตำบลมาประทับตราว่า "ผลิตภัณฑ์โอทอป" และจัดหาเวทีทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อที่จะประชาสัมพันธ์สินค้าเหล่านี้ ผลิตภัณฑ์โอทอปได้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง ซึ่งได้รวมไปถึงงานหัตถกรรม ผ้าทอ ผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับแฟชั่น ของใช้ในครัวเรือน อาหาร สมุนไพร และเครื่องดื่ม

กรมการพัฒนาชุมชน...ได้รับให้เป็นเจ้าภาพหลักในการยกระดับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ (
OTOP) และเพิ่มช่องทางการตลาดเชิงรุกทั้งภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านโดยมีเป้า ประสงค์เชิงนโยบายในการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งในการดำเนินงาน OTOP ของอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา พบความยุ่งยากในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ คือ ในเรื่องของการศึกษารายละเอียดข้อมูล การจัดทำฐานข้อมูล การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP   และยังพบปัญหาในเรื่องการเชื่อมประสาน การบูรณการระหว่างหน่วยงานต่างๆ ร่วมกัน จึงมีความคิดเห็นว่าจะต้องมีการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และส่วนท้องถิ่น ในการให้ความช่วยเหลือการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบในการผลิต งบประมาณ การประชาสัมพันธ์ และการจัดหาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า พัฒนาด้านการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด และในทางปฏิบัติของตัวเจ้าหน้าที่นั้นเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนต้อง มีบทบาทหน้าที่ในการให้ความรู้ เป็นที่ปรึกษาแนะนำค้นหาปัญหาร่วมกัน  เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ในส่วนของผู้ประกอบการจะต้องมีวิธีการบริหารจัดการในการดำเนินงานให้ สามารถบริหารจัดการไม่ว่าจะวิธีการประชาสัมพันธ์ การเพิ่มยอดจำหน่าย

บันทึกขุมความรู้  (
Knowledge  Assets )
  1. การจัดทำแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ 
  2. การสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เช่น กระบวนการผลิต บรรจุภัณฑ์ 
  3. ผลิตภัณฑ์ OTOP จะต้องมีคุณภาพและมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย รวมถึงมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น 
  4. ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จะต้องมีการสร้างเครือข่าย เพื่อเชื่อมโยงสินค้าระหว่างกัน
แก่นความรู้  ( Core  Competcy ) 
  1. ความร่วมมือระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้อง 
  2. การใช้ทุนภายในชุมชน 
  3. การพึ่งตนเองของชุมชน 
  4. ความรู้เรื่องธุรกิจ การบริหารจัดการ และเทคโนโลยีการผลิต

กลยุทธ์ในการทำงาน
  1. การร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ กับผู้ผลิตชุมชน
  2. การบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาคีในด้านศักยภาพ ความเชี่ยวชาญ และองค์ความรู้ 
  3. การจัดทำแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ 
  4. การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมการทำงานในรูปของเครือข่ายภาคีให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและยั่งยืน

กฎระเบียบ / แนวคิด /  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 
  1. หลัก 5 ก 
  2. การบริหารงานและการหาช่องทางการตลาด 
  3. กระบวนการมีส่วนร่วม 
  4. การเชื่อมโยงเครือข่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น