วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP



นางสาวกุสุมา ปัญญี
นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแปลงยาว

เรื่อง
การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
OTOP การพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานOTOP ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ประเภทสมุนไพร
สถานที่เกิดเหตุการณ์
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา


อำเภอแปลงยาว...
มีกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
OTOP ที่อยู่ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา จำนวน 3 กลุ่ม โดยแยกเป็นประเภทผลิตภัณฑ์ได้ 2 ประเภท คือ ประเภทของใช้ และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ซึ่งแต่ละกลุ่มได้ผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์ อย่างน้อย 3 ใน 6 หลักเกณฑ์ โดยผู้ผลิตทั้ง 3 กลุ่ม ได้เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ด้านการผลิตและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ โดยได้มีการกำหนดให้มีการพัฒนายกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์  โดยยึดหลัก 4P ประกอบด้วย
  1. Product คือ การพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย
  2. Price คือ ราคา เป็นตัวบ่งบอกภาพลักษณ์ของสินค้าที่สำคัญที่สุด
  3. Place คือ ช่องทางการจำหน่าย วิธีการนำสินค้าไปสู่มือของลูกค้า
  4. Promotion คือ ส่งเสริมการจำหน่าย การส่งเสริมการจำหน่ายหรือการส่งเสริมการขายมีบทบาทสำคัญที่ช่วยเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม OTOP ในกลุ่มประเภท D... ของอำเภอแปลงยาว ดำเนินกิจกรรมภายใต้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการใช้หลัก 4P และเกณฑ์การพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ โดยจะขอยกตัวอย่างกลุ่มผู้ผลิตสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

น.ส.ดาว พะนัดรัมย์
... ผู้ประกอบการรายเดียว ผลิตสินค้าประเภทสบู่ แชมพู และครีมสมุนไพรต่างๆ โดยใช้ชื่อสินค้าว่า “ประกายพรึก” ผู้ประกอบการรายนี้ได้เข้าร่วมอบรมโครงการส่งเสริมสนับสนุนศูนย์บริการเศรษฐกิจฐานรากและโครงการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
OTOP ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแปลงยาว, โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตชุมชน ของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา และ โครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตชุมชนด้านการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ (Quality Control : QC) ของกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งผู้ประกอบการได้นำความรู้จากการอบรมดังกล่าวไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพิ่มเติม เช่น การปรับเปลี่ยนสูตรของแชมพูสระผม การเพิ่มความหลากหลายของสบู่สมุนไพร ได้กำหนดแผนในการพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ ให้มีแบรนด์สินค้า เรื่องราวผลิตภัณฑ์  ความโดดเด่นของสินค้า เพื่อสร้างจุดขายในด้านการตลาด สำหรับงบประมาณที่ได้รับจากโครงการนำไปพัฒนาฉลากสินค้าและบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ตามคำแนะนำของวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ด้านการผลิต ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทราได้จัดอบรม ซึ่งปัจจุบันกลุ่มอยู่ระหว่างการดำเนินการแผน

จุดเด่นของผู้ประกอบการ...
มีความตั้งใจอย่างสูงในการดำเนินกิจการของตน ต้องการพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการ
OTOP ที่มีศักยภาพ สามารถพัฒนาไปเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่างๆ และเป็นแหล่งพัฒนาอาชีพ สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

สรุป ในฐานะเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบงาน
OTOP ของอำเภอแปลงยาว... เชื่อว่าผู้ประกอบการ OTOP ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารของอำเภอแปลงยาว ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทั้งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และจากหน่วยงานในอำเภอบางแปลงยาวที่ร่วมกันสนับสนุนและพัฒนาผู้ผลิต จะสามารถพัฒนากลุ่มของตนเองให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ หรือผ่านหลักเกณฑ์การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อย่างน้อย จำนวน 3 ใน 6 ตามตัวชี้วัดกิจกรรมของกรมการพัฒนาชุมชน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มตนเอง โดยใช้หลัก 4P ร่วมด้วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้ประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น