วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ




เจ้าของความรู้ นางสาวอัญชลี  สุขถาวร
ตำแหน่ง
  นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เรื่อง การขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ


การขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ... บ้านไผ่ดำ หมู่ที่ 5 ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ปีงบประมาณ
2557 โครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดยได้คัดเลือกบ้านนาไผ่ดำ หมู่ที่ 5 ตำบลศาลาแดง ได้รับสนับสนุนงบประมาณโครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบประจำปี 2557 จำนวนเงิน89,900 บาทดำเนินการใน 3 กิจกรรม คือ

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมครัวเรือนพัฒนาในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมที่ 2 การเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการชุมชน
กิจกรรมที่ 3 การเตรียมการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
เป้าหมาย ผู้แทนครอบครัวพัฒนาจำนวน 30 คน

กิจกรรมที่1 ส่งเสริมครัวเรือนพัฒนาในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าหมายตัวแทนครอบครัวพัฒนา 30 คน... วันที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการ/ สัมมนาเป็นผู้แทนครอบครัวพัฒนาให้การเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนหรือตัวแทนครอบครัวได้ทราบและเข้าใจ       ในแนวคิดหลักการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  สามารถกำหนดทิศทางในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและประชุมเชิงปฏิบัติการผู้แทนครอบครัวพัฒนาแกนนำ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือรอบรู้ด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ ตระหนักในสภาพของครอบครัวและหมู่บ้าน เป็นจุดเริ่มต้นในการบริหารจัดการไปสู่เป้าหมายที่เป็นผลสัมฤทธิ์การพัฒนาที่ต้องการ ทั้งในระดับครอบครัวและหมู่บ้าน ประเมินหมู่บ้านตามเกณฑ์ประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของกระทรวงหมาดไทย (4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด) ประเมินความสุขอยู่เย็น เป็นสุขหรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน (GVH) ครัวเรือนมีแบบบัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือนละ1 เล่มและมีการจัดทำบัญชีครัวเรือนและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ศึกษาดูงานให้ผู้เข้าอบรมมีจุดมุ่งหมายในการศึกษาดูงาน... แบ่งกลุ่ม 5 กลุ่มเพื่อศึกษา
1) ศึกษากระบวนการทำงานตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
2) ศึกษากระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน
3) ศึกษาการดำเนินชีวิตด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4) ศึกษารูปแบบการจัดทำแผนชีวิตของครัวเรือนตามแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
5) ศึกษาแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดยขอศึกษาดูงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นเพื่อศึกษาวิธีการในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศึกษาดูงานในพื้นที่ปฏิบัติจริงศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านลุงสวิง ตำบลบางขนาก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา จากการศึกษาดูงานสิ่งที่ชุมชนได้รับแนวทางการดำเนินงานของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบโดยมีวิทยากรให้คำแนะนำสอดแทรกความรู้วิธีการปฏิบัติตัวแทนครัวเรือนได้รู้รูปแบบวิธีการที่จะนำกลับมาปรับใช้ในครัวเรือนและร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านได้ดียิ่งขึ้น

กิจกรรมที่ 2 การเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการชุมชน

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์... สร้างความเข้าใจในขั้นตอนของระบบการบริหารจัดการพัฒนาหมู่บ้าน รูปแบบที่เหมาะสมกับชุมชนเป็นการกำหนดแนวทาง ในการทำงานเพื่อส่วนรวม กำหนดบทบาทในการเข้าร่วมการพัฒนาหมู่บ้านของคนในชุมชน การเรียนรู้เรื่องการพัฒนาประชาธิปไตยอันมีประมหากษัตริย์เป็นประมุข และการสร้างความสมานฉันท์สามัคคีของหมู่บ้าน

สาธิตกิจกรรมการดำเนินชีวิตตามแนววิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง... ชุมชนได้เลือกกิจกรรมที่ทุกครัวเรือนสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนได้ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนชุมชนที่จะพัฒนาหมู่บ้านอย่างยั่งยืนกิจกรรมสาธิตการทำกระเป๋าสานจากเส้นพลาสติกและการทำน้ำยาเอนกประสงค์ โดยวิทยากรจากศูนย์สามวัย ตำบลหมอนทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

กิจกรรมที่ 3 การเตรียมการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้... เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มีส่วนร่วมในการถอดองค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนาปัจจัยที่ทำให้งานและประเมินหมู่บ้านตามเกณฑ์ประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของกระทรวงหมาดไทย (4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด) ประเมินความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน (GVH) ครัวเรือน เพื่อนำไปเป็นแผนการดำเนินงานของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

ปัจจัยที่ทำให้งานสำเร็จ
สำเร็จองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วมในการวางแผน แก้ไขปัญหาร่วมกันของทุกองค์กร เวทีประชาคมจะเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันอย่างเป็นเจ้าของ เกิดความผูกพันและมีความสำนึกรับผิดชอบในการดูแลและอนุรักษ์ชุมชนด้วยตนเอง นอกจากนี้ชุมชนมีการแบ่งปันเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการรวมกลุ่ม แบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน สิ่งที่คนในชุมชนได้รับ คือ
1) รู้จักใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก อย่างรอบคอบ ระมัด ระวัง
2) รู้จักการนำทฤษฎีหรือการเกษตรผสมผสานมาเป็นแนวทางปฏิบัติ
3) เกิดความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน
4) เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน
ปัญหา/อุปสรรค และวิธีการแก้ไข
กำหนดการในการดำเนินการของหน่วยงานที่ร่วมบูรณาการ ไม่สอดคล้องกับช่วงเวลาในการประกอบอาชีพของชาวบ้าน

วิธีการแก้ไข
วางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับช่วงเวลาประกอบอาชีพและวิถีชีวิตของชาวบ้าน วางแผนในการดำเนินงานร่วมกันก่อนกำหนดแผนงาน โครงการในการสนับสนุนของแต่ละหน่วยงานที่ร่วมบูรณาการ

ข้อเสนอแนะ
ชุมชน จะเข้มแข็งได้ ต้องเกิดจากรากฐานของความร่วมมือ ร่วมใจ ของคนในชุมชนความสามัคคีของคนในหมู่บ้านชุมชน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการทำงาน ต้องแยกให้ออกระหว่าง เรื่องส่วนตัว ปัญหาการเมือง หรือเรื่องส่วนรวม เรื่องไหนสำคัญกว่ากัน ถ้าแยกได้ ความสามัคคีก็จะเกิดขึ้นกับคนในหมู่บ้าน ทำงานอะไร ก็จะประสบผลสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น