ชื่อ-สกุล นางสาวิตรี ประดิษแจ้งตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 08-9889-9063
ชื่อเรื่อง แก้จน ให้ตรงจุด
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ/ความสำเร็จเกี่ยวกับ การแก้ไขปัญหาความยากจนให้บรรลุเป้าหมาย (ครัวเรือนพ้นจน)
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2556-2557
สถานที่เกิดเหตุการณ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ในปี 2554... กระทรวงมหาดไทย ก่อตั้งครบ ๑๒๐ ปี และคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ให้จัดงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ๑๕๐ ปี วันประสูติ และครบ ๕๐ ปี ที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ถวายพระเกียรติให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกคนแรกของประเทศไทย กระทรวงมหาดไทย จึงกำหนดดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ โครงการลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ด้วยการขจัดความยากจนในชนบท กระทรวงมหาดไทย เพื่อร่วมเฉลิมฉลองและ ตอบสนองต่ออุดมการณ์ หรือปรัชญา“บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ตามที่องค์ปฐมเสนาบดีของกระทรวงมหาดไทยได้ ทรงวางรากฐานไว้ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้จัดทำยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ พ.ศ.2554 – 2559 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือนยากจนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม
จังหวัดฉะเชิงเทรา... ได้จัดทำรายงานคุณภาพชีวิต ประจำปี 2556 โดยมีการนำเสนอผลการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2556 ซึ่งดำเนินการจัดข้อมูลทุกครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริง ทุกหมู่บ้านในเขตชนบท จำนวน 11 อำเภอ 81 ตำบล 779 หมู่บ้าน 89,440 ครัวเรือน จากตัวชี้วัด หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า พบว่า ข้อ 23 คนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าคนละ 30,000 บาท/คน/ปี มีจำนวน 49 ครัวเรือน
ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น
- ครัวเรือนเป้าหมาย รู้จักตัวเองมากขึ้นด้วยปฏิบัติการ 4ท (ทัศนะ ทักษะ ทรัพยากร ทางออก)
- ยกระดับรายได้ครัวเรือนเป้าหมาย จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ข้อ 23
- ชุมชนมองเห็นปัญหาและร่วมกันแก้ไขปัญหา สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน
- ภาคราชการและเอกชน ให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหา ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
- ปัญหาความยากจนของครัวเรือน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพของครัวเรือนในแต่ละแห่งด้วย การยกระดับครัวเรือนจึงจำเป็นต้องให้ครัวเรือนรู้จักตัวเอง และหาทางออกด้วยตนเองให้ได้
- หากมองว่าปัญหาความยากจนเป็นเรื่องของครัวเรือนนั้น ๆ เพียงอย่างเดียว ก็คงใช่ หากแต่ชุมชน เมื่อพบว่ามีครัวเรือนประสบปัญหาความเดือนร้อนและร่วมกันแก้ไข ปัญหาที่ว่าใหญ่ก็จะเล็ก และขจัดไปได้ในที่สุด
- ภาคีการพัฒนา ประกอบด้วยส่วนราชการ ภาคเอกชน ต้องร่วมมือ ร่วมใจกัน เมื่อเป็นปัญหาแล้วไม่นิ่งนอนใจ หน้าที่ช่วยเหลือส่วนใดเป็นของใคร หากดำเนินการอย่างเต็มที่ ปัญหาทุกอย่างย่อมแก้ไขสำเร็จไปได้
ขุมความรู้
- ขั้นตอนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจน ที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบ และใช้ติดต่อกันมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว
- หน่วยงานภาคีภาคราชการรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองในการแก้ไขปัญหาความยากจน
แก่นความรู้
- การแก้ไขปัญหาความยากจนต้องมีการวางแผน และกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานที่มีความชัดเจน สอดคล้องกับเป้าหมาย และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ซึ่งในการดำเนินการตามแผนให้มีประสิทธิภาพนั้น ต้องมีกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพเหมาะสมกับช่องทาง (ทางออก) ที่กำหนด รวมถึงสนับสนุนให้คนได้รับการพัฒนาศักยภาพที่สอดคล้องกับภารกิจเพิ่มมากขึ้น
- ถ้าการดำเนินงานมีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ครัวเรือนเป้าหมาย ได้ปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับทางออกที่เลือกไว้ และร่วมถึงการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานอีกด้วย
ข้อเสนอแนะ
- ประชาชนเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาความยากจน
- การแก้ไขปัญหาในระดับครัวเรือนต้องใช้หลักการพัฒนาที่มีพื้นที่เป็นตัวตั้งและทุกฝ่ายในพื้นที่ประสานความร่วมมือกัน
- ทุกฝ่ายซึ่งอยู่ในพื้นที่ควรประสานความร่วมมือในการเข้าไปสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจนซึ่งดำเนินการโดยฝ่ายที่อยู่ในพื้นที่
- ควรมีระบบข้อมูลและการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจน
- ควรมีนโยบาย ข้อกำหนด และระบบงบประมาณของทุกระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติที่สนับสนุนและเอื้อต่อการแก้ปัญหาความยากจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น