วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง



เจ้าของความรู้  นางสุคนธ์  เจียรมาศ
ตำแหน่ง
  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด
  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์  
038-814349
ชื่อเรื่อง
   การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
เหตุเกิดเมื่อ  
ปี พ.ศ. 2554
สถานที่ 
จังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื้อเรื่อง
...กระทรวงมหาดไทยได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ อยู่ดี  มีสุข โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพหลักรับผิดชอบในกาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้รากฐานของการดำเนินชีวิตของประชาชนให้อยู่ดี มีสุขให้ได้และขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงมีการบูรณาการ การทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้โครงสร้างการทำงานของกระทรวงมหาดไทย

กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินงานโครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
ในปีงบประมาณ พ.ศ.2554  อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ได้รับงบประมาณ จำนวน 2 หมู่บ้าน รับงบประมาณ หมู ได้แก่ บ้านแพรกชุมรุม หมู่ที่ 13 ตำบล  บางเตย และบ้านบางเรือน  หมู่ที่ 9 ตำบลบางกะไห  เพื่อดำเนินงาน  5 กิจกรรม เป้าหมายจำนวน 30 ครัวเรือน โดยได้ดำเนินการ ดังนี้

สรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

1. การเตรียมความพร้อมก่อนการอนุมัติโครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
  • ประชุมทีมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเพื่อรับทราบแนวทางและขั้นตอนการดำเนินงานโครงการฯ 
  • แจ้งที่ประชุมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านประจำเดือน เพื่อรับทราบพื้นที่เป้าหมาย 
  • ทำหนังสือแจ้งผู้ใหญ่บ้านทราบและกำหนดวันประชุมประชาคม 
  • ทำหนังสือแจ้งประสานหน่วยงานภาคีการพัฒนาให้บูรณาการพื้นที่เป้าหมายการทำงานร่วมกัน 
  • ประชาคมหมู่บ้านเพื่อแจ้งรายละเอียดและขั้นตอนการดำเนินงานตามกิจกรรม 
  • คัดเลือกตัวแทนครอบครัวพัฒนา ๓๐ ครัวเรือน มาจากตัวแทนกลุ่มต่างๆ 
  • กำหนดกิจกรรมสาธิต ๒ กิจกรรม คือ การทำปุ๋ยหมักและการเพาะเห็ด 
  • เจ้าหน้าที่รับผิดชอบหมู่บ้าน ๑ คน และแกนนำหมู่บ้าน 3 คน อบรมวิทยากรกระบวนการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2. การดำเนินงานตามกิจกรรมหลัก ๕  กิจกรรม ตามโครงการฯ
2.1
  กิจกรรมส่งเสริมครอบครัวพัฒนาในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2.1.1.ประชุมเชิงปฏิบัติการครอบครัวพัฒนา ๑ วัน
ผลการดำเนินงาน
  • ผู้แทนครอบครัวพัฒนา ๓๐ คน ได้เรียนรู้การดำเนินชีวิตตามวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
  • ได้ทราบถึงแนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในครอบครัว หมู่บ้าน และสังคม 
  • เรียนรู้ประเมินผลเกณฑ์ชี้วัดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของกระทรวงมหาดไทย ๔ ด้าน ๒๓ ตัวชี้วัด บ้านแพรกชุมรุม  ผ่าน ๒2 ตัวชี้วัด ไม่ผ่าน ตัวชี้วัด   คือตัวชี้วัดที่ 22 หมู่บ้านหรือชุมชนมีการใช้พลังงานทดแทนที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชน จึงจัดระดับเป็นหมู่บ้านระดับ  อยู่ดี กินดี 
  • กำหนดแผนในการพัฒนาหมู่บ้านตามเกณฑ์ชี้วัด ๒๓ ตัวชี้วัด 
  • เรียนรู้การประเมินความสุขมวลรวมหมู่บ้าน (GVH) ๖ องค์ประกอบ ๒๒ ตัวชี้วัด 
  • บ้านแพรกชุมรุม  มีค่าคะแนนรวมทุกองค์ประกอบ ๔.๕๘ คะแนน และมีระดับปรอทวัดความสุขที่ ๙๑ คะแนน
2.1.2. ศึกษาดูงานประสบการณ์การพัฒนาชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงจากแห่งเรียนรู้ต้นแบบ
ผลการดำเนินงาน
  • ศึกษาดูงาน ณ โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ และศูนย์กลางการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง จังหวัดเพชรบุรี 
  • ผู้แทนครอบครัวพัฒนา ๓๐ ครัวเรือน ได้เรียนรู้/แลกเปลี่ยนกับการดำเนินงานของโครงการ 
  • ได้เรียนรู้การจัดตั้งและการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ของชุมชน 
  • ได้เรียนรู้กระบวนการพัฒนาโครงการจากอดีตจนถึงปัจจุบัน 
  • แผนการพัฒนาหมู่บ้านหลังจากการศึกษาดูงาน 
  • ขยายผลการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทุกครัวเรือนในชุมชน 
  • ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจในการจัดทำศูนย์เรียนรู้ชุมชน 
  • พัฒนาศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้านให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบให้ชุมชนอื่นได้มาเรียนรู้
2.2  กิจกรรมการเรียนรู้ตนเองและกำหนดการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ผลการดำเนินงาน
  • เรียนรู้การจัดทำแผนชีวิตของตนเอง/ครอบครัว และชุมชน 
  • เรียนรู้ความสำคัญและเรียนรู้การจัดทำบัญชีรับ-จ่ายครัวเรือน 
  • จัดทำแผนที่ชีวิตในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาของครัวเรือน 
  • การวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนเพื่อจัดทำแผนชุมชนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
3. กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ/สาธิตกิจกรรมการดำรงชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง 2 กิจกรรม
3.1
กิจกรรมสาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียง (การเพาะเห็ด)
ผลการดำเนินงาน
  • เรียนรู้การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 
  • เรียนรู้การทำเพาะเห็ดเลี้ยง โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากปราชญ์ชาวบ้าน   
3.2 กิจกรรมสาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียง (การทำปุ๋ยหมัก)
ผลการดำเนินงาน
  • เรียนรู้การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 
  • เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักโดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
4. กิจกรรมประชุมการสร้างระบบบริหารจัดการชุมชน
ผลการดำเนินงาน
  • การบริหารจัดการชุมชนในปัจจุบัน การปกครองในระบอบประชาธิปไตย 
  • เรียนรู้การสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน (เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม)การบริหารความขัดแย้ง 
  • การสร้างความสมานฉันท์ของหมู่บ้าน การตั้งปณิธานร่วมกันของคนในชุมชน
5. การจัดการความรู้การดำเนินการและการเตรียมเป็นหมู่บ้านต้นแบบ
ผลการดำเนินงาน
  • ทบทวนกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 
  • เรียนรู้การจัดการความรู้ในชุมชน 
  • ประเมิน ผลเกณฑ์ชี้วัดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของกระทรวงมหาดไทย ๔ ด้าน ๒๓ ตัวชี้วัด บ้านแพรกชุมรุม ผ่าน ๒๒ ตัวชี้วัด ไม่ผ่าน ๑  ตัวชี้วัด  คือตัวชี้วัดที่ 22 หมู่บ้านหรือชุมชนมีการใช้พลังงานทดแทนที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชน จัดอยู่ในระดับ  อยู่ดี กินดี 
  • กำหนดแผนในการพัฒนาหมู่บ้านตามเกณฑ์ชี้วัด ๒๓ ตัวชี้วัด

แก่นความรู้
  1. การทำงานแบบบูรณาการ 
  2. ใช้แผนชุมชนในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
  3. ผู้นำกลุ่มองค์กรชุมชน คือฐานหลักแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงที่ยั่งยืน

กลยุทธ์ในการทางาน
  1. ศึกษาเอกสาร คู่มือ แนวทางการดำเนินงานให้ชัดเจน 
  2. ให้การศึกษากับผู้นำชุมชน/ประชาชน 
  3. เน้นทำงานเป็นทีม (ทีมเพื่อนร่วมงานและทีมภาคีการพัฒนา) 
  4. ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุน อย่างต่อเนื่อง 
  5. ประเมินผลตามแบบที่กำหนด พัฒนาแก้ไขตัวชี้วัดที่ยังไม่บรรลุผลตามเกณฑ์ 
  6. ปรึกษาผู้รู้ / ผู้บังคับบัญชา ตามความเหมาะสม
กฎระเบียบ/แนวคิด/ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
  1. คู่มือ/เอกสาร แนวทางการดาเนินงานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
  2. แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น