นางศิริกาญจน์
แดงงาม
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแปลงยาว
เรื่อง
การบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
สถานที่เกิดเหตุการณ์
อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
ความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน (Gross Village Happiness : GVH ) หมายถึง สภาวะที่คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตอย่างมีสมดุลยภาพทั้งจิต กาย ปัญญา ที่เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นองค์รวมและสัมพันธ์กันได้ถูกต้องดีงาม นำไปสู่การอยู่รวมกันอย่างสันติระหว่างคนกับคน และระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งความอยู่เย็น เป็นสุข มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยพื้นฐานร่วม ในการสร้างความสุขของมนุษย์ได้ ๖ องค์ประกอบ ได้แก่
- การมีสุขภาวะ
- เศรษฐกิจชุมชนเข็มแข็งเป็นธรรม
- ครอบครัวอบอุ่น
- การบริหารจัดการชุมชนดี
- การมีสภาพแวดล้อมดีมีระบบนิเวศที่สมดุล
- เป็นชุมชนประชาธิปไตยมีธรรมาภิบาล
สำหรับการประเมินความสุขมวลรวมของหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
ในอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา ใช้วิธีการประเมินความอยู่เย็นเป็นสุข
หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้านและชุมชน (Gross
Village Happiness: GVH) และการใช้ปรอทวัดความสุขเป็นเครื่องมือในการประเมิน
โดยให้คนในชุมชนทั้งหมดเห็นด้วยพร้อมกันมากที่สุด
เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคะแนนที่ได้จะเห็นถึงระดับความสุข
ว่าอยู่ในระดับใด โดยมีขั้นตอนการประเมินฯ
ดังนี้
- วิทยากรในการประเมิน ทำความเข้าใจในกระบวนการ ขั้นตอนการจัดประชุมรวมทั้งศึกษารายละเอียดความหมายของตัวชี้วัด เตรียมคำถามที่สามารถสร้างความเข้าใจหรือสื่อสารกับผู้เข้าร่วมประชุมและเหมาะสมสำหรับกลุ่มคนในชุมชน
- สร้าง/ทำความเข้าใจในขั้นตอน ประเด็นคำถาม การใช้เครื่องมือกับคณะวิทยากรแบ่งงานให้ทุกคนในทีมมีบทบาทหน้าที่และสามารถทำงานแทนกันได้ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้งานตามกระบวนการที่ออกแบบไว้ให้เพียงพอ การจัดสถานที่ควรจัดเป็นรูปครึ่งวงกลม ๑-๒ แถว ไม่ควรซ้อนกัน หลายชั้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมมากที่สุด
- พัฒนากรผู้ประสานงานตำบล ต้องมีการเตรียมความพร้อมของชุมชนล่วงหน้า โดยการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจต่อประชาชนในการเข้าร่วมประชุม เตรียมข้อมูลความเป็นจริงของหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันตัดสินใจการประเมิน หรือประสานงานคัดเลือกตัวแทนจากทุกครัวเรือนของหมู่บ้านครัวเรือนละ 1 คน เข้าร่วมการจัดเวที
- ดำเนินการประเมิน โดยวิทยากรสร้างบรรยากาศ สร้างความรู้สึกผ่อยคลายเป็นกันเองในการประเมิน ชี้แจงวัตถุประสงค์ และวิทยากรอธิบายความหมายของแต่ละองค์ประกอบตัวชี้วัด ให้ที่ประชุมให้เหตุผลหรือบอกวิธีการที่ทำให้ตัวชี้วัดเป็นจริง แล้วให้ที่ประชุมให้คะแนนที่ละตัวชี้วัด โดยวิธีการยกมือให้คะแนนตามที่ต้องการ จนครบทุกตัวชี้วัดแล้ววิทยากรจึงเฉลยความหมายสรุปคะแนน เป็นรายองค์ประกอบและสรุปการประเมินเป็นรายตัวชี้วัด เพื่อเรียนรู้ร่วมกันว่าสิ่งที่ต้องปรับปรุง สิ่งที่ต้องรักษาไว้ ทำความเข้าใจสภาพของชุมชน และระดับความสุขที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และเพื่อวัดผลให้เกิดประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องมีการเปรียบเทียบ จึงได้มีการวัดความสุขในภาพรวมโดยวิธีการวัดโดยใช้ปรอทวัดความสุข ณ ปัจจุบัน โดยให้ที่ประชุมให้คะแนนระดับความสุข โดยวิธีการยกมือให้คะแนนตามที่ต้องการ ในแต่ละระดับ คือ ระดับ ๐-๒๐ คะแนน ระดับน้อยที่สุด (อยู่ร้อน นอนทุกข์) ระดับ ๒๑-๔๐ คะแนน ระดับน้อย (อยู่ได้ คลายทุกข์) ระดับ ๔๑-๖๐ คะแนน ระดับปานกลาง (อยู่อิ่ม นอนอุ่น) ระดับ๖๑-๘๐ คะแนน ระดับมาก(อยู่ดี มีสุข) ระดับ๘๑-๑๐๐ คะแนน ระดับมากที่สุด(อยู่เย็น เป็นสุข) สรุปผลการประเมิน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ได้คะแนน ประมาณ 85 คะแนนขึ้นไป อยู่ในระดับมากที่สุด คือหมู่บ้านมีความ “อยู่เย็น เป็นสุข ”
- วิทยากรถามที่ประชุมต่อว่า ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำ จะต้องทำอะไรต่อกันดี เพื่อให้ค่าคะแนนความสุขเพิ่มขึ้น สำหรับตัวชี้วัดที่ได้ค่าคะแนนสูงจะต้องทำอะไรต่อเพื่อให้คงอยู่และดีขึ้นอีก แล้วนำข้อเสนอที่ได้ไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแผนพัฒนาหมู่บ้านต่อไป
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge
Assets)
- ศึกษารายละเอียด สร้าง/ทำความเข้าใจในขั้นตอน ประเด็นคำถาม การใช้เครื่องมือในการประเมิน
- การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนต้องมาจากตัวแทนของทุกครัวเรือน
- การดำเนินการประเมิน โดยวิทยากรต้องสร้างบรรยากาศ สร้างความรู้สึกผ่อนคลายเป็นกันเองกับผู้เข้าร่วมประชุมและวิทยากรต้องตั้งคำถาม/อธิบายความหมายของแต่ละตัวชี้วัดอย่างชัดเจน
แก่นความรู้ (เทคนิคสำคัญของความสำเร็จ)
การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การวัดความสุขมวลรวมชุมชนนั้น
มีเทคนิคสำคัญในการดำเนินงานคือ เทคนิคการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพราะในการดำเนินงานการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การวัดความสุขมวลรวมชุมชน
จะทำคนเดียวนั้นยากที่จะสำเร็จได้
จำเป็นต้องอาศัยหลักการมีส่วนร่วมจากภาคีการพัฒนาทั้งภาครัฐ
เอกชนและประชาชนในพื้นที่
กลยุทธ์ในการทำงาน
กลยุทธ์ในการทำงาน
- การทำความเข้าใจในขั้นตอน ประเด็นคำถาม การใช้เครื่องมือกับคณะวิทยากรแบ่งงานให้ทุกคนในทีมมีบทบาทหน้าที่และสามารถทำงานแทนกันได้
- การดำเนินการประเมิน โดยวิทยากรต้องสร้างบรรยากาศ สร้างความรู้สึกผ่อนคลายเป็นกันเองกับผู้เข้าร่วมประชุมและวิทยาต้องตั้งคำถาม/อธิบายความหมายของแต่ละตัวชี้วัดอย่างชัดเจน
- พัฒนากรผู้ประสานงานตำบล ต้องมีการเตรียมความพร้อมของชุมชน ล่วงหน้า โดยการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจต่อประชาชนในการเข้าร่วมประชุม
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
- แนวทางการประเมินความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน (ฉบับการ์ตูน) กรมการพัฒนาชุมชน
- คู่มือการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
- คู่มือการประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข” กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น