วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

OTOP



                                                                                                                                           
ผู้ถอดบทเรียน    นางสาวสวณีย์  มีเจริญ
ตำแหน่ง            นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
บันทึกเมื่อ         พฤษภาคม 2557
สถานที่             ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี

           ที่มาขององค์ความรู้ที่เลือก (ทำไมถึงเลือกองค์ความรู้นี้)     
กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับผิดชอบดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างงาน สร้างรายได้ ด้วยการนำทรัพยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ และบริหารคุณภาพที่มีจุดเด่น และมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาดชุมชน ส่งเสริมให้เกิดอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน รวมถึงการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคง นำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
          ปัจจุบันการดำเนินงานก็ยังมีปัญหา อุปสรรค หลักๆ ดังนี้
1. ปัญหาด้านการตลาด
2. ปัญหาด้านการผลิต และผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ขาดเอกลักษณ์ ง่ายต่อการลอกเลียนแบบ เป็นการผลิตสินค้าตามกัน เลียนแบบกัน ขาดทักษะการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ ไม่สนใจเรื่องมาตรฐานต่างๆ
3. ปัญหาด้านการบริการจัดการธุรกิจ โดยเฉพาะการจัดทำแผนธุรกิจอย่างเป็นระบบ และนำแผนธุรกิจไปใช้ให้เกิดประโยชน์
4. ปัญหาด้านงบประมาณ
          บันทึกขุมความรู้ (วิธีปฏิบัติงานที่ผู้สนใจสามารถนำไปปฏิบัติได้)
          การจำหน่ายสินค้าในปัจจุบันมีขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
1. เริ่มต้นด้วยการประชุมคณะกรรมการเครือข่าย OTOP และผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด เพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ร่วมจำหน่าย ในจำนวนบูธที่จำกัด แต่ผู้ประกอบการ OTOPที่มีความต้องการขายสินค้ามาก
2. การเยี่ยมเยียน พบปะ พูดคุยให้กำลังใจ รับฟังปัญหา ผู้ผลิต/ผู้ประกอบ OTOP
3. จัดประชุมเครือข่าย OTOP เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและการจำหน่ายสินค้าของแต่ละกลุ่ม
4. การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายการตลาด
5. นำองค์ความรู้การส่งเสริมการตลาดและผลิตภัณฑ์ OTOP ไปส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน แก่กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบ OTOP อย่างต่อเนื่อง

          มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไรบ้าง
1. การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมแก่กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบ OTOP เพราะจะเกิดการเรียนรู้แบบทำไป เรียนรู้ไป
2. การให้ความรู้กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบ OTOP ต้องมีความหลากหลาย ทั้งมีการอบรม ศึกษาดูงาน ทดลองทำ เป็นต้น
3. ส่งเสริมกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบ OTOP จัดทำแผนธุรกิจ ประกอบด้วย แผนการผลิต แผนการตลาด แผนการบริหารจัดการ และดำเนินการตามแผนอย่างจริงจัง 
4. การสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบ OTOP เพื่อร่วมมือกันด้านการตลาด
5. การพัฒนารูปแบบ การบรรจุภัณฑ์ ให้ทันสมัย สวยงาม
6. กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบ OTOP ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง
7.การพัฒนาและส่งเสริมทั้งด้านการผลิตและการตลาดแก่กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบ OTOPที่สินค้ามีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านวิชาการ งบประมาณ การประชาสัมพันธ์
8. ส่งเสริมกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบ OTOP ให้มีคุณภาพ การผลิตให้ได้มาตรฐาน
9. ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้KBO
10. ส่งเสริมกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบ OTOP มีการบริหารจัดการในลักษณะแบบครบวงจรทั้งด้านการบริหารจัดการ การผลิต การตลาด และการจัดการทุน
11. ส่งเสริมกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบ OTOP มีการจัดทำคลังความรู้ คลังข้อมูลภูมิปัญญาของผลิตภัณฑ์

         แก่นความรู้ (เทคนิคสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จและผลที่เกิดขึ้นจริงกับผลที่คาดว่าจะได้รับ)
1. การสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบ OTOP จัดตกแต่งร้านให้สวยงาม น่าเข้าเยี่ยมชม ต้องมีใบประกาศดาว ต้องมีเรื่องราวผลิตภัณฑ์
2. การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP อย่างต่อเนื่อง
3. การรณรงค์ให้ซื้อสินค้า OTOPเป็นของฝาก ของขวัญในเทศกาลต่างๆ
4. ส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม
5. การสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบ OTOP จำหน่ายสินค้าจากการออกหน่วยเคลื่อนที่ของราชการ
6. ส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงาน
 
        มีกลยุทธ์ในการทำงานอย่างไร 
1. จัดการประชุมแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบ OTOP ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
2. การให้ความรู้เฉพาะเรื่องแก่ผู้ผลิต/ผู้ประกอบ OTOP เช่น กลยุทธ์ทางการตลาด กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์ 
3. การนำกลยุทธ์ในด้านต่างๆ มาใช้เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามแผนธุรกิจ ได้แก่ ในด้านการบริหารจัดการจะวางแผนการบริหารสมาชิก แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบด้านต่าง ๆ ให้ชัดเจน
 สรุปบทเรียน

         ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
1. การสร้างศรัทธาให้กับผู้ประกอบการในขณะปฏิบัติหน้าที่ ด้วยการกำกับดูแลและให้ความสะดวกแก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมจำหน่ายสินค้าอย่างเป็นธรรม และเท่าเทียมกัน
2. มีการสอบถามปัญหาเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าอย่างเป็นกันเองทุกวัน เพื่อนำปัญหามาแก้ไขโดยบางปัญหาให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมคิดและแก้ไขปัญหาด้วย เพื่อจะได้คุ้นเคยกับผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น
3. ให้กำลังใจเมื่อผู้ประกอบการประสบปัญหา และร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

          ข้อสังเกต/ข้อควรคำนึงถึง
1. ผู้ประกอบการ OTOP แต่ละรายมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ในการกำกับดูแลผู้ประกอบการต้องดูแลอย่างใจเย็น และจริงใจ
2. ในกรณีผู้ประกอบการมีปัญหาต้องรับฟังปัญหาของผู้ประกอบการ และร่วมคิดร่วมแก้ปัญหากับผู้ประกอบการ
3. ให้กำลังใจผู้ประกอบการที่ได้ยอดรายได้ในการจำหน่ายน้อย หรือ ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ที่มาจับจ่ายซื้อสินค้า   ในการปฏิบัติหน้าที่ควรให้เกียรติผู้ประกอบการ ไม่พูดจาดูถูกดูแคลน หรือมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวต่อประกอบการที่มาจำหน่ายสินค้า เพราะจะทำให้เราปฏิบัติหน้าที่ได้ยากขึ้นและไม่สำเร็จเท่าที่ควรเท่าที่ควร
 
          กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
  • หลักการพัฒนาชุมชน
  • กระบวนการมีส่วนร่วม
  • หลักเศรษฐศาสตร์
  • หลักการประชาสัมพันธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น