วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการติดตามหนี้เงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)



เจ้าของความรู้  นายกฤษวิสิฐ  จิรทิพย์รัช
ตำแหน่ง 
นักวิชาการพัฒนาชุมปฏิบัติการ
สังกัด  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปะกง
 
เรื่องเล่า... บ้านท่าแค หมู่ที่ 3 ตำบลบางผึ้ง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ได้รับเงินโครงการ กข.คจ. จำนวน 280,000 บาท ปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันมีครัวเรือนเป้าหมาย 25 ครัวเรือน เงินทุนหมุนเวียน 289,761.83 บาท เป็นหมู่บ้านเดียวของอำเภอบางปะกงที่มีปัญหาเรื่องหนี้ค้างชำระ ปัจจุบันมีหนี้ค้างชำระ 15 ราย เป็นเงิน 280,000 บาท ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา ครั้งแรกที่เข้ามารับผิดชอบตำบลนี้ ได้ลงพื้นที่ติดตามพบว่าปัญหาคือ คณะกรรมการ กข.คจ. หมู่บ้าน ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ ขาดความรับผิดชอบ ประธานกรรมการ กข.คจ. หมู่บ้าน ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านขาดวุฒิภาวะผู้นำ ชาวบ้านขาดการนับถือ และที่สำคัญหลักฐานสัญญาเงินยืมสูญหายทำให้ยากแก่การติดตาม เนื่องจากอำเภอบางปะกงชาวบ้านส่วนใหญ่หัวหมอและดื้อแพ่งตีความเข้าข้างตนเองเงินกองทุนทุกกองทุนมีมีในหมู่บ้านกู้ยืมแล้วมีเจตนาไม่ใช้หนี้ หากอย่างได้เงินคืนก็ไปฟ้องเอาเอง ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องหาวิธีการติดตามเอาเงินคืน ในฐานะพัฒนากร ไม่ใช่ตำรวจในการที่จะไปบังคับใช้กฎหมายกับชาวบ้าน หน้าที่ของพัฒนากรชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าพัฒนาคน พัฒนาชุมชน เพื่อให้เกิดความเข็มแข็ง ต้องทำให้ชาวบ้านรักไว้เนื้อเชื่อใจ และเราถือระเบียบของทางราชการเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน

บันทึกขุมความรู้ (
Knowledge Assets)
  1. ศึกษาทำความเข้าใจระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2553 ในการปฏิบัติงาน 
  2. การทำงานโดยยึดหลักความเชื่อมั่นและศรัทธาในหลักการที่ว่า”คนทุกคนมีความรู้ ความสามารถและพัฒนาได้ ยึดหลัก 3 ช. ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ คือ 1.ชอบ 2.เชื่อ 3.ช่วย 
  3. ลงพื้นที่ติดตามงานประชุมชี้แจงพบปะพูดคุย
แก่นความรู้ (Core Competencies)
  1. หลักการมีส่วนร่วมในการทำงาน 
  2. หลักการบริหารจัดการชุมชน  
  3. ยึดถือระเบียบในการปฏิบัติงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น