เจ้าของความรู้ นางอมรา
วงศ์ศรีรัตน์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 089-7542866
สถานที่ : อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เนื้อหา...บ้านวังอ้ายเนื้อ หมู่ที่ 6 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา.ซึ่งมีลักษณะเป็นชุมชนพื้นที่เกษตรกรรม มีประฃากร..614..คน จำนวน..169..หลังคาเรือน ภายใต้การนำของกำนันทองใบ พวงมาลัยทอง และกลุ่มแกนนำขับเคลื่อน ซึ่งเป็นผู้นำชุมชนในหมู่บ้าน รวม 30 คน ได้ร่วมกันกำหนดกิจกรรมตามแนวพระราชดำริวิถีพอเพียงเชิงบูรณาการ โดยเน้นการประสานสนับสนุนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เน้นผลเชิงคุณภาพที่มีการขยายผลสู่กิจกรรมอื่นๆที่ชุมชนมีศักยภาพและความพร้อมอย่างต่อเนื่อง อันประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลักตามแนวทางที่เป็นกระบวนงานที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด ดังนี้
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 089-7542866
สถานที่ : อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เนื้อหา...บ้านวังอ้ายเนื้อ หมู่ที่ 6 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา.ซึ่งมีลักษณะเป็นชุมชนพื้นที่เกษตรกรรม มีประฃากร..614..คน จำนวน..169..หลังคาเรือน ภายใต้การนำของกำนันทองใบ พวงมาลัยทอง และกลุ่มแกนนำขับเคลื่อน ซึ่งเป็นผู้นำชุมชนในหมู่บ้าน รวม 30 คน ได้ร่วมกันกำหนดกิจกรรมตามแนวพระราชดำริวิถีพอเพียงเชิงบูรณาการ โดยเน้นการประสานสนับสนุนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เน้นผลเชิงคุณภาพที่มีการขยายผลสู่กิจกรรมอื่นๆที่ชุมชนมีศักยภาพและความพร้อมอย่างต่อเนื่อง อันประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลักตามแนวทางที่เป็นกระบวนงานที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด ดังนี้
- การสร้างทีมงานบูรณาการเพื่อเชื่อมโยงงานและกิจกรรมภายในหมู่บ้าน...พัฒนากรดำเนินการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากกลุ่มผู้นำชุมชนเป็นเบื้องแรก ทั้งนี้เพื่อสร้างทีมงานบูรณาการ โดยเน้นผู้นำกลุ่มกิจกรรมหลักที่มีอยู่ก่อน อาทิ ผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน ผู้นำกลุ่มอาชีพ ผู้นำองค์กรสตรี อสม. อาสาพัฒนาชุมชน วิธีการขับเคลื่อนสำคัญคือ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนรู้ ให้หันมาวิเคราะห์ตนเองและชุมชน รวมถึงวิเคราะห์กิจกรรมที่เป็นอยู่ว่ามีลักษณะเชิงบูรณาการเกี่ยวพันกันหรือไม่ แล้วนำไปสู่การสร้างและกำหนดแนวทางพัฒนาปรับปรุงสู่แนวทางตามวิถีพอเพียงต้นแบบเฃิงบูรณาการอย่างจริงจัง ในทุกวิถีการดำรงชีวิต กำหนดให้มีการนำสิ่งที่ทำไปแล้วมาทบทวนแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- การบูรณาการโดยกิจกรรมที่สนับสนุนส่งเสริมจากภายนอก...เป็นการนำกิจกรรมของหมู่บ้านตามข้อ 1 ไปสู่การให้รับรู้เพื่อขอการสนับสนุนส่งเสริมจากภาคีพัฒนา รวมถึงเครือข่ายอื่นๆจากภายนอก โดยเฉพาะส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบอื่นๆ ที่มีบทบาทในฐานะศูนย์เรียนรู้ หน่วยที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ จะได้รับเชิญให้เข้ามาช่วยสนับสนุนแนะนำกระบวนการขับเคลื่อนที่เหมาะสมกับหมู่บ้านอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม หรืออาจนำกิจกรรมอื่นๆ(อาทิ กองทุนแม่ของแผ่นดิน) มาผสมผสานต่อยอดกับกิจกรรมบูรณาการนี้อย่างเหมาะสม
อนึ่ง
ทั้ง 2 กิจกรรมหลักดังกล่าว จะอยู่บนพื้นฐานสำคัญ 3 ประการ คือ
- สอดคล้องกับแนวทางแผนพัฒนาหมู่บ้านหรือชุมชน
- ทุกกระบวนกิจกรรมจะต้องเน้นการมีส่วนร่วมเต็มรูปแบบของประชาชนในชุมชน
- ผลเชิงคุณภาพที่เกิดขึ้นต้องสนองตอบต่อประชาชนในหมู่บ้านไม่ใช่สนองตอบต่อสมาชิกกลุ่มกิจกรรมเท่านั้น
บันทึกองค์ความรู้
(Knowledge)
การบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ที่นำเสนอนี้ สามารถบันทึกเป็นองค์ความรู้ ว่าเป็นกระบวนการขับเคลื่อนที่จะต้องประกอบด้วยเกณฑ์การปฏิบัติที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หลักการบูรณาการงานภายในชุมชน ซึ่งมีการสร้างและพัฒนาศักยภาพทีมงานในหมู่บ้าน/ฃุมชน และหลักการบูรณณาการเพื่อเชื่อมโยงจากหน่วยอื่นภายนอกชุมชน โดยทั้ง 2 กระบวนกิจกรรมนี้ จะต้องประสานเชื่อโยงและเอื้ออำนวยต่อกันในทุกมิติอย่างครบถ้วนต่อเนื่อง ทั้งนี้ภายใต้หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเข้มข้นในทุกมิติ มีกระบวนการตรวจสอบประเมินผล เพื่อปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตลอดระยะเวลาในทุกกระบวนกิจกรรมทันที
แก่นความรู้ (Core competency)
การบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ที่นำเสนอนี้ สามารถบันทึกเป็นองค์ความรู้ ว่าเป็นกระบวนการขับเคลื่อนที่จะต้องประกอบด้วยเกณฑ์การปฏิบัติที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หลักการบูรณาการงานภายในชุมชน ซึ่งมีการสร้างและพัฒนาศักยภาพทีมงานในหมู่บ้าน/ฃุมชน และหลักการบูรณณาการเพื่อเชื่อมโยงจากหน่วยอื่นภายนอกชุมชน โดยทั้ง 2 กระบวนกิจกรรมนี้ จะต้องประสานเชื่อโยงและเอื้ออำนวยต่อกันในทุกมิติอย่างครบถ้วนต่อเนื่อง ทั้งนี้ภายใต้หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเข้มข้นในทุกมิติ มีกระบวนการตรวจสอบประเมินผล เพื่อปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตลอดระยะเวลาในทุกกระบวนกิจกรรมทันที
แก่นความรู้ (Core competency)
- ความรู้ความเข้าใจอย่างแตกฉาน และความทุ่มเทเอาจริงเอาจังของกลุ่มแกนนำขับเคลื่อน ยังเป็นเงื่อนไขสำคัญแรกของความสำเร็จในการบูรณาการกิจกรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
- การขับเคลื่อนกระบวนกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในทุกมิติทุกกระบวนกิจกรรมเป็นหัวใจสำคัญของประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบูรณาการกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
- การส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้การบูรณาการกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องเน้นให้ประชาชนในหมู่บ้านเห็นผลเชิงคุณภาพที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงมากกว่าผลเชิงปริมาณ ( ของกิจกรรม )
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อน
- กระบวนการจัดทำแผนขับเคลื่อนต้องเน้นให้เป็นกระบวนการกำหนดแผนชีวิตร่วมกันอย่างจริงจังทั่วถึงของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ในลักษณะ”เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้” ภายใต้การสร้างความตระหนักเห็นปัญหาจากข้อมูลชุมชนที่ไกล้ตัวที่สุดที่ชาวบ้านเผชิญอยู่ ไม่ใช่อาศัยเพียงฐานข้อมูลที่เป็นทางการที่จัดเก็บไว้แล้วเป็นประจำเท่านั้น
- การขับเคลื่อนจะต้องสามารถแลเห็นกิจกรรมอื่นๆทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาสู้เวทีเรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์เชื่อมโยงกับกิจกรรมการบูรณาการที่จะเกิดขึ้นให้สอดคล้องอย่างเหมาะสม อาทิกิจกรรมสนับสนุนกิจกรรมทางเลือกด้านอาชีพขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมการศึกษาดูงาน กิจกรรมการเรียนรู้ตนเอง เป็นต้น
กฎระเบียบ
แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
- ปรัชญา หลัก และกรรมวิธีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
- หลักปรัชญาการพัฒนาชุมชน
- หลักและแนวคิดการสร้างและพัฒนาทีมงาน
- การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR)
- กระบวนการจัดการเรียนรู้ภายหลังการปฏิบัติ (After action review :AAR)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น