วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ



ชื่อ-สกุล  นางจงธพรรณ  ยงพฤกษา
ตำแหน่ง
  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด  
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอคลองเขื่อน
ชื่อเรื่อง
การบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี
2557
สถานที่
บ้านวังขอน ตำบลก้อนแก้ว อำเภอคลองเขื่อน


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง...
เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานแนวทางการดำรงชีวิตและปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบครอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน


กรมการพัฒนาชุมชน... ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ใน ๓ ระดับ คือ  พออยู่ พอกิน” “อยู่ดี กินดี ” “มั่งมี ศรีสุข โดยเป้าหมายของกรมการพัฒนาชุมชน คือ ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนพึ่งตนเองได้และครอบครัวมีคุณภาพชีวิตดีมีความสุข กระบวนการพัฒนาชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชนมุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา กรมฯได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพชุมชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ส่งเสริมการบริหารจัดการทุนชุมชน สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการวางแผนชุมชน เพื่อแก้ปัญหาของชุมชน และส่งเสริมให้เกิดการจัดการความรู้ของชุมชน ซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


กิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ...
  1. สร้างการเรียนรู้ของประชาชนและเกิดการยอมรับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. สร้างกระบวนการเรียนรู้สภาพของชุมชนและฝึกการตัดสินใจเพื่อการพัฒนาชุมชนโดยคนในชุมชน ด้วยกิจกรรมการปรับแผนชีวิตสำหรับครอบครัวและแผนชุมชนสำหรับชุมชน
  3. กิจกรรมเพิ่มทักษะการประกอบกิจกรรมการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือน ทักษะการบริหารจัดการกิจกรรมกลุ่ม ทักษะการบริการจัดการเครือข่ายเพื่อการพัฒนาให้เป็นไปตามพื้นฐานของหมู่บ้าน  และมีการจัดการความรู้เพื่อใช้ในการปรับปรุงงานการพัฒนาหมู่บ้านต่อไป


บันทึกขุมความรู้...
กระบวนการดำเนินงาน  มีดังนี้
  1. เผยแพร่แนวความคิดในที่ประชุมประจำเดือนผู้ใหญ่บ้าน 
  2. คัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบที่มีจิตอาสาสมัครในการดำเนินงาน 
  3. จัดประชุมผู้นำหมู่บ้าน ค้นหาแกนนำของหมู่บ้านเพื่อเป็นแกนหลัก 
  4. จัดเวทีประชาคม/ประชุมแกนนำของหมู่บ้าน กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนกิจกรรม 
  5. วิเคราะห์ศักยภาพครัวเรือน ศักยภาพของชุมชน และเรียนรู้ 
  6. จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบภายใต้ศักยภาพและทุนของชุมชน 
  7. บูรณาการการขับเคลื่อนหมู่บ้านกับภาคีการพัฒนาในชุมชนและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 
  8. ดำเนินการขับเคลื่อนหมู่บ้านตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด โดยการสร้างครอบครัวต้นแบบขยายผลไปสู่ครอบครัวอื่น ๆ ในชุมชน 
  9. กำหนดการสร้างแรงจูงใจ ด้วยการส่งประกวดกิจกรรมพัฒนาชุมชนระดับอำเภอ/จังหวัด 
  10. ทีมแกนนำติดตามประเมินผลในการขับเคลื่อนกิจกรรมในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ในการทำงาน...
การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา หลักการทำงานร่วมกันและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน และเชื่อมโยงกิจกรรมในชุมชน
ให้เป็นระบบและเป็นองค์รวม เพื่อให้เกิดการบูรณาการเชื่อมโยงกันและสนับสนุนให้เกิดชุมชนเป็นชุมชนจัดการตนเองด้วยตนเอง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น