วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ



ชื่อ นามสกุล    นายเกียรติศักดิ์  อรัณยะกานนท์
ตำแหน่ง    นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ        
สังกัด        สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์  08  7030  6080
เรื่อง          บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ     
เป็นการจัดทำกิจกรรมเกี่ยวกับ การปฏิบัติงานในหมู่บ้านที่ได้รับมอบหมาย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.  2556 - ปัจจุบัน
สถานที่      บ้านคลองแขวงกลั่น หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะไร่  อำเภอบ้านโพธิ์  จังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื้อเรื่อง...จากการเล่าขานต่อๆกันมาเป็นเวลานานกว่า 100 ปี มาแล้ว  ได้มีการรับจ้างขุดลอกคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิตชิโนรส ในสมัยรัชการที่ 5  ก่อนที่พระองค์ท่านจะเสด็จทางชลมารค ในลำคลองสายนี้และมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาทั้งยังมีหลักฐานประวัติศาสตร์ อยู่ทุกสถานที่ที่ท่านเสด็จ ต่อมาราษฎรที่เข้ามารับจ้างขุดคลองก็ได้พากัน อพยพเข้ามาในเขตพื้นที่ โดยการ ตั้งหลักแหล่ง โดยมาประกอบอาชีพในการทำนา ด้วยเห็นว่าพื้นที่นี้อุดมสมบูรณ์ดินดี และมีน้ำล้อมรอบพื้นที่ ติดกับริมคลองแขวงกลั่น จึงได้ตั้งชื่อว่า บ้านคลองแขวงกลั่นตั้งแต่นั้นมาโดยลำคลองต่างๆนี้เป็นหัวใจสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรในตำบลทั้งการประกอบอาชีพ (เลี้ยงกุ้ง,เลี้ยงสัตว์,เกษตรกรรม) และใช้อุปโภคบริโภค และยังเป็นพื้นที่ราบลุ่มลำคลองเชื่อมต่อกับแม่น้ำบางปะกง

เป็นภารกิจที่ได้รับมอบหมาย...ให้ดำเนินงานตามโครงการโดยการจัดกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ร่วมกับผู้นำในหมู่บ้าน ตำบล เป็นคณะทำงาน ดำเนินการกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบที่หมู่บ้านดำเนินการตามโครงการฯมี  ดังนี้ วันที่  18 กุมภาพันธ์  2556
¤ ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างกลุ่มผู้นำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบและรับสมัครครัวเรือนเป้าหมาย
ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะไร่  อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ดำเนินการอบรมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านคลองแขวงกลั่น หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะไร่ อำเภอบ้านโพธิ์   จังหวัดฉะเชิงเทรา  วันที่  23 ธันวาคม 2556  
 กิจกรรมที่ 1
-  ทบทวนกระบวนการเรียนรู้ การบริหารจัดการ การตรวจสภาพหมู่บ้าน ตามเกณฑ์ประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและประเมินความสุขมวลรวม
-  กิจกรรมสาธิตการดูแลรักษากล้าไม้ยืนต้น, การป้องกันโรค  พร้อมกับ สรุปบทเรียน
วันที่ 23 มกราคม  2557   
กิจกรรมที่ 2    
-  เตรียมการขยายผลสู่บ้านน้อง
วันที่  9 มิถุนายน 2557   
กิจกรรมที่ 3    
-  จัดกิจกรรมจัดการถอดบทเรียนองค์ความรู้วิธีการปฏิบัติการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 30 คน 1 วัน เพื่อติดตาม ประเมินผล และจัดทำเอกสารตามความรู้วิธีการปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้าน   ตามโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะไร่  อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ขั้นตอนการทำงาน
การถอดบทเรียนองค์ความรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
              กระบวนการสร้างชุมชน  ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนพื้นที่ มีบางส่วนเป็นคนนอกพื้นที่ๆ เข้ามาทำงานในด้านการเลี้ยงกุ้ง  อาชีพส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม เลี้ยงกุ้ง ปลา และรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม รับจ้างทั่วไป มีการลดรายจ่ายในครัวเรือนที่ไม่จำเป็น  มีระบบเฝ้าระวัง ดูแลคนในชุมชนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด  มีการรักษาความสะอาด  และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  ส่วนเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น คือ  ระหว่างปี 25452557  แต่ก่อนชาวบ้านอยู่กันอย่างเอื้ออาทร เป็นสังคมแบบชนบท ประมาณ 12 ปี ที่ผ่านมา วิถีชีวิตของชาวบ้านเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ปัญหาต่างๆ เริ่มเข้ามามีผลกระทบต่อคนในหมู่บ้านมากขึ้น  การประกอบอาชีพทางด้านการเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากภาวะทางธรรมชาติเกิดโรคกุ้งระบาด ทำให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะปัญหาความยากจน เริ่มมีหนี้สินจากภาวะเศรษฐกิจ หรือ ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้นำชาวบ้านเริ่มมองเห็นปัญหาของหมู่บ้าน และคิดหาหนทางแก้ไขปัญหาความยากจน จึงเริ่มประชาสัมพันธ์ ส่งเสริม ให้ชาวบ้านนำแนวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เข้ามาใช้ในการแก้ไขปัญหา ปัจจุบันมีกลุ่ม/องค์กรต่างๆที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านหลายกลุ่มได้แก่ 1) กองทุนหมู่บ้าน 2) กลุ่มอาชีพแปรรูปข้าว 3)  กลุ่มอาชีพสตรี(ทำดอกไม้จันทน์,และ,ทำพวงหรีด)4)  กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงกบ  5)  กลุ่มสตรี ตัดเย็บผ้า 6)  กลุ่มอาชีพปลูกมะนาวในปลอกซิเมนต์  7)  กลุ่มปลูกมะม่วงพันธ์ดี  ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  1) ด้านดี ได้แก่  ความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้นทั้งด้านฐานะ พร้อมอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม    พื้นที่บริเวณบ้านมีการปลูกผักสวนครัว  มีเงินกองทุนหมู่บ้านและกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  และมีระเบียบของหมู่บ้านที่ใช้ปฏิบัติร่วมกัน  และ 2) ด้านลบ  ได้แก่  การครองชีพของชาวบ้านมีความแตกต่างกัน ตามสภาพเศรษฐกิจ และการประกอบอาชีพ  การประชุมกลุ่ม หรือเวทีประชาคมหมู่บ้าน ต้องใช้เวลาช่วงวันหยุด หรือช่วงเย็นที่ชาวบ้านว่างจากการทำงาน ชาวบ้านมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมาจากการสร้างฐานะและการประกอบอาชีพและสภาพเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม          นอกจากนี้ผลงานของชุมชนที่เกิดจากการกิจกรรมนี้คือ  ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของหมู่บ้านมากขึ้น  การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า มีระบบการเฝ้าระวัง ดูแล ตรวจสอบ ปัญหายาเสพติด   มีการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ การทำดอกไม้จันทน์ พวงหรีด การประกอบอาชีพทำนาโดยใช้กรรมวิธีแบบดั้งเดิม  
   
            การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  รากฐานของหมู่บ้านที่ปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดเพื่อพึ่งพาตนเองนั้น เริ่มมาจากการลดรายจ่ายในครัวเรือน  โดยการก่อตั้งกลุ่มอาชีพขึ้นมา เพื่อเป็นการออมเงิน สร้างภูมิคุ้มกันให้กับชาวบ้าน ปัจจุบันกลุ่มอาชีพฯ มีกิจกรรม และบริการให้สมาชิกกู้เงินไปประกอบอาชีพ  ส่งเสริมให้ชาวบ้านทำบัญชีครัวเรือน  ทำของใช้ในครัวเรือน  มีกลุ่มสตรีที่มีความเข้มแข็ง  และมีสวัสดิการให้กับชาวบ้าน เช่น  ฌาปนกิจสงเคราะห์ การจัดสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิก มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปลูกผักสวนครัวริมรั้วและพื้นที่บริเวณรอบๆ บ้าน  เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด  และมีระเบียบกฎเกณฑ์ของหมู่บ้าน  มีกิจกรรมและการฝึกอบรมอาชีพที่สอดแทรกความพอเพียงมาโดยตลอด ดังนั้น  การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบที่เกิดขึ้นได้ เพราะ  1)  ความร่วมมือของชาวบ้าน  2)  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของชาวบ้าน ได้แก่  การลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน  3)  การมีแผนพัฒนาหมู่บ้าน  4)  การพัฒนาอาชีพหลักและอาชีพเสริม   5)  ต้องหาจุดที่ พอเพียงของหมู่บ้านให้เจอ  จึงสรุปเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  ดังนี้
 การลดรายจ่าย
-  ครัวเรือนทำส่วนครัว ได้แก่  ชาวบ้านมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย  พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่และไม่ฟุ่มเฟือย  มีการลดรายจ่ายในครัวเรือน ( ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ / ปลูกผัก / เลี้ยงปลา / เลี้ยงไก่ไข่ / เลี้ยงเป็ดไข่ / เลี้ยงกบในกระชัง / ทำน้ำยาล้างจาน  / น้ำยาซักผ้า/น้ำยาปรับผ้านุ่ม)  ลดรายจ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็น
- ครัวเรือนปลอดอบายมุข ได้แก่ เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด มีการประชุมเพื่อค้นหา ผู้เสพ ผู้ค้า
และ ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด มีการคัดเลือกผู้นำธรรมชาติในการดูแล ให้คำปรึกษา และดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกัน ดูแลด้านยาเสพติดในหมู่บ้าน
ด้านการเพิ่มรายได้
ได้แก่  มีการวางแผนชีวิต แผนการผลิต  1) กองทุนหมู่บ้าน 2) กลุ่มอาชีพแปรรูปข้าว 3)  กลุ่มอาชีพสตรี(ทำน้ำยาล้างจาน,น้ำยาซักผ้า,ปรับผ้านุ่ม)  4)  กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงกบ (เลี้ยงปลา/กุ้ง ) 5)  กลุ่มสตรี ตัดเย็บผ้า 6)  กลุ่มอาชีพปลูกมะนาวในปลอกซิเมนต์  7)  กลุ่มปลูกมะม่วงพันธ์ดีทำแบบพอประมาณ รอบคอบ และคิดอย่างมีเหตุมีผล  8) มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพสตรี (ทำดอกไม้จันทน์ / พวงหรีด ) ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มแม่บ้านทำการผลิตดอกไม้จันทน์ / พวงหรีด จำหน่ายในหมู่บ้าน และบริเวณใกล้เคียง
ด้านการประหยัด
-  ครัวเรือนมีการออมทรัพย์  ได้แก่  การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของหมู่บ้าน
สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน เพื่อรับฝากเงินสัจจะของสมาชิก สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง และครอบครัว
-  ชุมชนมีกลุ่มออมทรัพย์ฯ มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ฯของหมู่บ้านโดยการรวมตัวของคนในหมู่บ้านฯ เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้าน
ด้านการเรียนรู้                
-  ชุมชนมีการสืบทอด และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้แก่ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การปลูกพืชผักสวนครัว รั้วกินได้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สืบทอดจากคนรุ่นก่อนมีการทำประชาคมหมู่บ้านสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในหมู่บ้าน            
-  ชุมชนมีการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การได้ความรู้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา จากสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ทำให้คนในหมู่บ้านได้รับทราบแนวทางการดำเนินชีวิตที่มุ่งเน้นให้คนมีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล
ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 
ได้แก่  การรณรงค์ ดูแลรักษาสภาพแวดล้อม ที่ประชาชน และหน่วยงานราชการต่างๆ ร่วมกันดำเนินงานในเทศกาล หรือวันหยุดทางราชการ เช่น วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม หรือวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม มีการร่วมกันทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน   
การเอื้ออารีย์ต่อกัน
-  ชุมชนมีการดูแล ช่วยเหลือคนจน คนด้อยโอกาส และคนประสบปัญหา เช่น การจัดสวัสดิการช่วยเหลือด้านฌาปนกิจสงเคราะห์แก่สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน , การสนับสนุนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกิจกรรมวันเด็ก โดยการนำเงินจากผลกำไรที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมกองทุนหมู่บ้าน และกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต สนับสนุน
-  ชุมชนรู้รักสามัคคี การประชุมเวทีประชาคมของหมู่บ้านเพื่อแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน หรือ การประชุมเพื่อวางแผนการพัฒนาของหมู่บ้านจะได้รับการตอบรับที่ดี โดยดูจากการจำนวนประชาชนที่เข้าร่วมประชุม การแสดงความคิดเห็น และการร่วมมือร่วมใจของผู้นำท้องถิ่น หน่วยงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในท้องถิ่น

กระบวนการถอดบทเรียน
       ขั้นที่ 1  ชี้แจงและเล่าความเป็นมา 
ชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยวิธีการดำเนินกิจกรรมตามเกณฑ์ตัวชี้วัด 23 ตัวชี้วัด เพื่อการประเมินและจัดระดับของหมู่บ้านโดยยึดหลักทางสายกลาง  เพื่อเป็นสิ่งนำทางไปสู่ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ที่ก้าวหน้าอย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน บนพื้นฐานความพอเพียงเป็นกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในหมู่บ้าน    คือความพอประมาณ ความมีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และ 2 เงื่อนไขคือ ความรู้ และคุณธรรม  
       ขั้นที่ 2  แนะนำทีมงานที่เข้าร่วมกันการถอดบทเรียน
หน่วยงานที่เข้าร่วมเวทีประชาคมถอดบทเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับหมู่บ้าน ได้แก่
1.พัฒนากรประสานงานตำบล    
2. เกษตรตำบล
3. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
4. เจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารส่วนตำบล 
5. ครูอาสา จาก กศน.
6. หน่วยงานราชการ อื่นๆ
หน่วยงานเหล่านี้ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตามแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ รับรู้และสามารถปฏิบัติได้
       ขั้นที่ 3  ซักถามข้อมูลและชวนคุยชวนเล่า
          สนทนาพูด คุย สร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและสอบถามการดำเนินกิจกรรมตามแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงของครัวเรือน และหมู่บ้าน ได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง ทราบหรือไม่ว่าวิธีการดำเนินกิจกรรมตามเกณฑ์ตัวชี้วัด 23 ตัวชี้วัด เพื่อการประเมินและจัดระดับของหมู่บ้านโดยยึดหลักทางสายกลาง  เพื่อเป็นสิ่งนำทางไปสู่ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ที่ก้าวหน้าอย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน บนพื้นฐานความพอเพียงเป็นกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในหมู่บ้าน  เงื่อนไขคืออะไร ตั้งคำถามให้ชาวบ้านตอบเพื่อจะได้ทราบว่าชาวบ้านเข้าใจ หรือ มีความรู้ ที่ถูกต้องหรือไม่ ต้องส่งเสริม สร้างการเรียนรู้ด้านใดบ้าง
       ขั้นที่ 4  จัดเก็บและบันทึกข้อมูลตามที่มีการสนทนาระหว่างผู้ร่วมเวทีถอดบทเรียน กับทีมเจ้าหน้าที่
สร้างความเข้าใจแนวความคิด โดยการจัดเวทีการเรียนรู้โครงการเมืองสายน้ำแห่งชีวิตวิถีเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ชาวบ้านได้ แสดงความคิดเห็น ตลอดจนความต้องการของชาวบ้านโดยการพูดในการนำเสนอ พร้อมจดบันทึกแนวความคิดของชาวบ้านแต่ละคนที่เสนอแนวความคิด
       ขั้นที่ 5  สะท้อนข้อมูลที่จัดเก็บสู่กลุ่มชาวบ้าน โดยใช้ ตัวชี้วัดหลัก 23 ตัวชี้วัด
             (1)  ความพอประมาณ  ได้แก่  พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย   มีการลดรายจ่ายในครัวเรือน (ปลูกผัก / เลี้ยงปลา /เลี้ยงไก่ไข่ / เลี้ยงเป็ดไข่ / เลี้ยงกบ / อื่น ๆ)  และพึ่งพาเทคโนโลยีที่มีในบ้านเป็นหลัก 
             (2)  ความมีเหตุมีผล  ได้แก่  มีการวางแผนการผลิต (เลี้ยงปลา กุ้ง และอื่น ๆ)  ทำพอกินพอใช้   และคิดอย่างมีเหตุมีผล มีการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ
             (3)  มีภูมิคุ้มกัน  ได้แก่  ดำเนินชีวิตตามฐานะ  มีอาหารการกินทุกวัน  มีเงินทุนเก็บออมและหมุนเวียน  ไม่เลือกหรือเกี่ยงงาน  ใช้วิชาการหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับตนเองในการประกอบอาชีพ  และมีความใกล้ชิดกันในครอบครัวและชุมชน                              
             (4)  มีความรู้  ได้แก่  พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เข้ารับการอบรม สัมมนา ประชุมเวทีประชาคม เพื่อแลกเปลี่ยนการเรียนรู้  และ   มีความสุขจากการทำงาน                                            (5)  มีคุณธรรม  ได้แก่  มีความสุขจากงานที่ทำ ดำรงชีวิตตามฐานะ การเข้าร่วมกิจกรรมของหมู่บ้านซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ที่หมู่บ้านกำหนดขึ้น และอยู่กันอย่างมีความสุข (ช่วยเหลือกัน/มีเพื่อน/มีกิจกรรมทำร่วมกัน/อื่น ๆ)
       ขั้นที่ 6  สรุปบทเรียน 
              สรุปบทเรียนจากการจัดเวทีถอดบทเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เพื่อให้ชาวบ้านได้ทราบ และทำความเข้าใจแนวความคิดอย่างง่ายๆ
1.พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวรั้วกินได้ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้านพอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือนเหลือจึงขายไป
2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น รักษาสุขภาพ
เมื่อสุขภาพดี     (ก็ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตนไม่อยากได้อยากมีเหมือนคนอื่น เพราะจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด
       ขั้นที่ 7  งานที่จะดำเนินการต่อไป
           1)  ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เพื่อจัดทำเป็นเอกสาร เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ การดำเนินกิจกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ชี้แจงให้ชาวบ้านได้ทราบกิจกรรมที่ได้ดำเนินการครั้งนี้ เป็นการถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านคลองแขวงกลั่นได้ดำเนินการตรงเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร การดำเนินการขั้นตอนต่อไปจะเป็นการจัดทำเอกสาร เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้หมู่บ้านอื่นๆ ได้ศึกษา ทำความเข้าใจ เกิดการเรียนรู้ในการดำเนินกิจกรรม โดยผ่านเอกสารที่จะได้จัดทำต่อไป             
          2) วิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาโดยใช้แบบประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เพื่อประเมินผลการจัดระดับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ชาวบ้านช่วยกันประเมินกิจกรรมที่ผ่านมาของหมู่บ้าน ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ พออยู่  พอกิน คือผ่านการประเมินตัวชี้วัดหลัก จำนวน 10  ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดข้อ 1,2,4,8,10,13,16,17,20,21
          3)ส่งเสริมกิจกรรมด้านการขยายพันธุ์ พืช เช่น มะนาว มะม่วง ที่ได้ส่งเสริมกิจกรรมทางเลือกไว้
กิจกรรมที่ปรากฏ และชุมชนได้รับประโยชน์
1.หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านคลองแขวงกลั่นได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เป้าหมาย ปี 2556 ได้ดำเนินกิจกรรมตามแนวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วิธีการดำเนินกิจกรรมตามเกณฑ์ตัวชี้วัด 23 ตัวชี้วัด เพื่อการประเมินและจัดระดับของหมู่บ้านโดยยึดหลักทางสายกลาง  เพื่อเป็นสิ่งนำทางไปสู่ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ที่ก้าวหน้าอย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน บนพื้นฐานความพอเพียงเป็นกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในหมู่บ้าน  เงื่อนไข  ซึ่งประชาชนในหมู่บ้านได้เข้าร่วมกิจกรรม และดำเนินชีวิตตามแนวคิดนี้ ทำให้เกิดผลดีต่อหมู่บ้านหลายประการ เช่น มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
2.การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้าน บ้านคลองแขวงกลั่นการบริหาร การจัดการกองทุน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การกู้ยืมเงิน และการคืนเงิน ตรงตามกำหนดเวลา ไม่มีหนี้เสียจนเป็นปัญหาให้กับกองทุน ทำให้มองเห็นว่าสมาชิกของหมู่บ้านมีความสามัคคี ซื่อสัตย์ เป็นกองทุนที่สามารถเป็นแบบอย่างการดำเนินงานให้กับกองทุนอื่นๆ ได้ศึกษา เรียนรู้ กอปรกับผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง เป็นที่ไว้วางใจของสมาชิก จนได้รับการยอมรับ นับถือ จากหน่วยงานราชการอื่นๆ ให้เข้าไปดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในระดับตำบล และอำเภอ
3.กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
บ้านคลองแขวงกลั่นไม่มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตแต่มีกองทุนหมู่บ้านที่ดำเนินกิจกรรม รับฝากเงินสัจจะ และกู้ยืมเงินไปประกอบอาชีพ เป็นแหล่งเงินเงินทุนที่สำคัญของหมู่บ้านที่ทำให้สมาชิก ได้กู้ยืมเงินไปประกอบชีพ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับครอบครัว และได้รับการประเมินยกระดับ เป็นกลุ่มที่มีการบริหารจัดการดีเด่น มีกิจกรรมเครือข่ายหลายกิจกรรม เช่น กลุ่มมีผู้นำที่มีความเข้มแข็งคือ นายประเสริฐ  เผือกพูลผล ประธานกลุ่มฯ และคณะกรรมการ ที่สร้างความไว้วางใจของคนในหมู่บ้าน ทำให้การบริหาร จัดการกองทุนสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.กลุ่มอาชีพ  1) กองทุนหมู่บ้าน 2) กลุ่มอาชีพแปรรูปข้าว  3)  กลุ่มอาชีพสตรี(ทำน้ำยาล้างจาน,น้ำยาซักผ้า,ปรับผ้านุ่ม)  4)  กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงกบ (เลี้ยงปลา / กุ้ง / อื่น ๆ) 5) กลุ่มสตรี ตัดเย็บผ้า6)  กลุ่มอาชีพปลูกมะนาวในปลอกซิเมนต์  7)  กลุ่มปลู่มะม่วงพันธ์ดี และ 8) สตรี(ทำดอกไม้จันทน์ / พวงหรีด / ตัดเย็บเสื้อผ้า /ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ) เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มองค์กรสตรี ที่ต้องการประกอบชีพเสริม สร้างรายได้ให้กับครอบครัว และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จึงได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นโดยมีสมาชิก 25 คน มีประธานกลุ่ม คือ  นางสาวจิณภัธ  ชัยสายัณ เป็นประธานกลุ่มฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานจากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย  (ความรู้จากการประกอบอาชีพอื่นๆ) จาก กศน.  พัฒนาชุมชน ปัจจุบันกลุ่มฯ มีความเข้มแข็ง สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.การดำเนินการช่วยเหลือสมาชิก (ฌาปนกิจสงเคราะห์) เป็นการนำผลกำไรที่เกิดจากการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านส่วนหนึ่งมาช่วยเหลือสมาชิกที่เสียชีวิต เพื่อบรรเทาความจำเป็นเร่งด่วน ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจ เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ทำให้หมู่บ้านมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สามัคคี ช่วยเหลือกันในยามตกทุกข์ได้ยาก

ผลงานดีเด่นที่ปรากฏ และชุมชนได้รับประโยชน์
1.หมู่บ้านปลอดยาเสพติด จากสภาพเศรษฐกิจ    สังคม ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทำให้ชาวบ้านคลองแขวงกลั่น ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว คือปัญหายาเสพติด ที่ส่งผลกระทบทำให้เด็ก และเยาวชน อยากรู้ อยากลอง หมู่บ้านจึงได้ทำการประชุมเพื่อค้นหา ผู้เสพ ผู้ค้า และผู้ที่ข้องกับยาเสพติด โดยให้ประชาชนเข้าร่วมเวทีประชาคม แจ้งรายชื่อในแบบสอบถาม พร้อมหย่อนลงหีบบัตร เพื่อให้เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล เมื่อรวบรวมข้อมูลเสร็จจึงจัดการทำลายเอกสาร โดยการเผาข้อมูลทิ้งทั้งหมด เพื่อความปลอดภัยของผู้ให้ข้อมูล และได้จัดทำเวทีเพื่อค้นหาผู้นำธรรมชาติเพื่อดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ผู้นำธรรมชาติ และคณะกรรมการ ที่จะได้ช่วยเหลือในการจัดกิจกรรม เฝ้าระวัง ดูแล ป้องกัน และให้คำปรึกษาปัญหายาเสพติด
2. การดำเนินโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ พออยู่  พอกิน  บ้านคลองแขวงกลั่นได้จัดเวทีประชาคม เพื่อระดมความคิด ในการแก้ไขปัญหาของชุมชนที่ยังไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินการแก้ไข ซึ่งปัญหาดังกล่าวก็คืออุปกรณ์ทางการเกษตร เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่องพ่นยา  ฯลฯ ที่หมู่บ้านยังขาดแคลน ต้องไปหาเช่าจากที่อื่นเพื่อนำมาใช้ในการเกษตร ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบอยู่  จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวเสนอหน่วยงานตามลำดับ และได้รับงบประมาณ เพื่อดำเนินการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ทำให้ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้มีวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับประกอบอาชีพโดยไม่ต้องไปหายืมจากที่อื่นเป็นการลดภาระค่าใช้จ่าย และลดการสูญเสียที่เกิดจากการอุปกรณ์ทางการเกษตรมีไม่เพียงพอ ทำให้เกษตรกรมีทางเลือก และมีรายได้เพิ่มขึ้น
3.การดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ของหมู่บ้านบ้านคลองแขวงกลั่น ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ  เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ ในการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับหมู่บ้านทำให้เศรษฐกิจของหมู่บ้านมีความเข้มแข็ง โดยการจัดเวทีประชาคมเพื่อรับทราบปัญหา และแนวทางในการแก้ไขปัญหา จึงได้เกิดโครงการปลูกมะนาวในปลอกซิเมนต์ ปลูกมะม่วง เลี้ยงกบในกระชัง และปลูกพืชผัก สวนครัว โดยหวังว่าสักวันทางราชการจะสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อมาดำเนินการอีก ในโอกาสต่อไป
4.การดูแล รักษา ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จากสภาพเศรษฐกิจ สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ธรรมชาติได้ถูกทำลายไปพอสมควร ชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่นได้เล็งเห็นความสำคัญตรงจุดนี้ จึงได้เกิดการรณรงค์ สร้างค่านิยม ในการดูแล รักษา ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในวันสำคัญต่างๆ เช่น  5 ธันวาคม (วันพ่อแห่งชาติ ) , 12 สิงหาคม (วันแม่แห่งชาติ) ประชาชนได้เข้ามาร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก เพื่อคืนธรรมชาติให้กับท้องถิ่นกลับมาสมบูรณ์ และมีคุณค่าดังเดิม

1 ความคิดเห็น:

  1. Bună ziua

    Ai nevoie de un împrumut sau ai nevoie de un împrumut bancar, suntem aici pentru a vă ajuta financiar, tot ce trebuie să facem acum este să ne scrie cu datele tale în formularul de mai jos și să se întoarcă la noi prin
    donaldpatrickloanheritage@gmail.com, pentru a obține dvs. de credit instant in orice cantitate, la orice loc.

    Nume:
    Bucati necesare:
    durata:
    adresa:
    Țară:
    obiective:
    Venitul lunar:
    Număr de telefon:

    Așteptăm răspunsul dumneavoastră.

    Dl Donald Patrick

    ตอบลบ