ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอบ้านโพธิ์
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโพธิ์
เบอร์โทรศัพท์ 08 1819
9206
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ
การวัดผลสำเร็จของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557
สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านทุ่งช้าง หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
เรื่องเล่า... กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานในการส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน
โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการดำเนินงาน และใช้ในการขับเคลื่อน
สร้างขุมความรู้ให้กับประชาชน กลุ่ม องค์กร และชุมชนในหมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน
กลุ่ม องค์กร ชุมชนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตและเป็นเป้าหมายการพัฒนาของหมู่บ้านผ่านกระบวนการใช้ความรู้
ความเข้าใจ ประสบการณ์ และแนวการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาประยุกต์ใช้ให้เกิดความสำเร็จในเชิงคุณภาพ
และส่งผลให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนมีความสุข ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน
ซึ่งหมายถึง (ความอยู่เย็น เป็นสุข” ของชุมชน หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน
(Gross Village Happiness:GVH) และได้จัดสรรงบประมาณการดำเนินงานให้กับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นหมู่บ้านตัวอย่างให้หมู่บ้านอื่น ซึ่งมีกิจกรรมหลากหลาย เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในหมู่บ้าน (3 ไม่ 3
มี) กล่าวคือ ไม่มีคนจน ไม่มียาเสพติด ไม่มีหนี้นอกระบบ มีสวัสดิการในชุมชน มีการอนุรักษ์การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และมีความสมัครสมานสามัคคี อันเป็นคำตอบของ “ความอยู่เย็นเป็นสุข” ภายในหมู่บ้าน
หรือชุมชน อย่างยั่งยืน
บ้านทุ่งช้าง... หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านโพธิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา
เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบที่ได้รับงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน ปี
2557 หลังจากกรมการพัฒนาชุมชน โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโพธิ์ ได้เข้าไปขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้คนในหมู่บ้านได้เรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความคิดของตนเองและคนในครอบครัวไปในทางที่ดียิ่งขึ้น
ปี 2554 – 2557… กรมการพัฒนาชุมชน โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโพธิ์ ยังเข้าไปขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดยการรักษามาตรฐานความเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดยกิจกรรมที่ทำจะต้องลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
สร้างการเรียนรู้ให้คนในชุมชนอยู่เสมอและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้
เพื่อเป็นการทดสอบว่า...
ทุกอย่างที่ลงไปสนับสนุนประชาชนทำให้ชุมชนมีความสุขเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร กรมการพัฒนาชุมชนจึงสร้างแบบดัชนีการวัดความสุขมวลรวมของชุมชน
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หรือดัชนีชี้วัด ความอยู่เย็นเป็นสุขของหมู่บ้าน โดยการวัดความสุขมวลรวม มีองค์ประกอบ 6 ด้าน 22
ตัวชี้วัด ดังนี้
ด้านที่ 1 การมีสุขภาวะ...
ทั้งในด้านของสุขภาพร่างกายที่ดีแข็งแรงสมบูรณ์ การเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาล
รวมถึงสุขภาพใจที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรม และได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง
ใช้ชีวิตอย่างมุคุณค่าอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขเป็นบุคคลที่มีศักยภาพ จำนวน 3
ตัวชี้วัด
ด้านที่ 2 เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง...
เป็นธรรม มุ่งเน้นการสร้างอาชีพ ส่งเสริมการมีรายได้
การรวมกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่เห็นเป็นรูปธรรมหลากหลาย อาทิ
การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP การส่งเสริมให้เกิดการออม
การมีสวัสดิการกองทุนในรุปแบบต่างๆ
ที่ให้บริการตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยในชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม จำนวน 3
ตัวชี้วัด
ด้านที่ 3 ครอบครัวอบอุ่น...
เป็นการส่งเสริม สนับสนุนสถาบันครอบครัว สร้างการมีส่วนร่วม มีจุดหมายร่วมกัน
รวมถึงการส่งเสริมการจัดสวัสดิการให้กับคนชรา
และปลูกฝังคุณธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างผาสุกจำนวน 3 ตัวชี้วัด
ด้านที่ 4 ชุมชนมีการบริหารจัดการชุมชนที่ดี... ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
และมีการบริหารจัดการชุมชนอย่างมีเหตุผล พร้อมสร้างการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีบทบาทเกื้อหนุนกันในชุมชน
ตลอดจนสามารถรักษา สืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 5 ตัวชี้วัด
ด้านที่ 5
การมีสภาพแวดล้อมที่ดีมีระบบนิเวศที่สมดุล...
โดยการส่งเสริมให้ประชาชน ครอบครัว และชุมชน มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
ตลอดจนมีสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพสมดุลกับระบบนิเวศ จำนวน 4 ตัวชี้วัด
ด้านที่ 6 เป็นชุมชนประชาธิปไตย มีธรรมมาภิบาล... โดยการส่งเสริมการรวมกลุ่มและการมีส่วนร่วมของชุมชน
ที่เห็นได้จากการจัดให้มีเวทีประชาคมของหมู่บ้าน ชุมชน
ตลอดจนการปลูกจิตสำนึกให้เคารพในสิทธิของส่วนรวม จำนวน 4 ตัวชี้วัด
ขุมความรู้
วิธีการดำเนินการ (ส่งเสริม สนับสนุน ให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน
ดำเนินการดังนี้)
- เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ทุกคน ควรศึกษาและทำความเข้าใจกับตัวชี้วัดอย่างละเอียด
- เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้พร้อม เช่น ตัวชี้วัด ค่าคะแนน อุปกรณ์การให้คะแนน
- เตรียมครัวเรือนเป้าหมายอย่างน้อย 30 ครัวเรือน
- เตรียมสถานที่ให้พร้อม เครื่องเสียงพร้อม เดินไปมาสะดวก
- ก่อนวัดความสุขมวลรวม ควรสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง เน้นการพูดคุยแลกเปลี่ยนแบบเรียบง่ายไม่เน้นรูปแบบเชิงวิชาการ
- อธิบายตัวชี้วัดแต่ละตัว ค่าคะแนน การให้คะแนนให้ครัวเรือนเป้าหมาย ได้ทราบ
- หาค่าเฉลี่ยคะแนนเป็นข้อๆไป แล้วใส่ค่าคะแนนที่โครงข่ายใยแมงมุม
- คิดคะแนนจาก 100 คะแนน เป็นร้อยละ ใส่ที่ปรอทวัดความสุข บ้านทุ่งช้าง หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัว วัดปรอทได้ 49 คะแนน (อยู่อิ่ม นอนอุ่น) พร้อมอธิบายหัวข้อของค่าคะแนนปรอทให้คนในชุมชนได้รู้ว่า ขณะนี้คนในชุมชนอยู่แบบไหน มีความสุขหรือไม่ ถ้าอยากให้คนในชุมชนอยู่เย็น เป็นสุข ต้องสร้างแรงจูงให้ทำอย่างไรถึงจะมีความสุขแบบอยู่เย็น เป็นสุขได้
แก่นความรู้
- กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนมีผลต่อความเที่ยงตรงของค่าคะแนนความสุขมวลรวมที่วัดได้ ดังนั้นครัวเรือนเป้าหมาย ต้องมีอิสระในการให้ค่าคะแนนอย่างถูกต้องและเป็นจริง ไม่ถูกครอบงำหรือมีอคติ
- การวัดความสุขมวลรวมของชุมชน จะเกิดประโยชน์ได้จริง ชุมชนต้องร่วมกันวิเคราะห์องค์ประกอบที่มีค่าคะแนนต่ำหรือมีค่าคะแนนลดลง แล้วนำมาวางแผนกำหนดเป็นแผนงานหรือกิจกรรมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาตามองค์ประกอบนั้นๆ ให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์ในการทำงาน (ส่งเสริม สนับสนุน ให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ดำเนินการดังนี้)
- เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ ให้พร้อม
- วิทยากรกระบวนการต้องมีความเข้าในในดัชนีตัวชี้วัดเป็นอย่างดี มีการเตรียมตัว ศึกษาเอกสารที่จะถ่ายทอดคนในชุมชนได้เข้าใจและเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
- สร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง สนุกสนาน และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีอิสระในการให้คะแนน
ผลสำเร็จของโครงการ
- ครัวเรือนเป้าหมาย อย่างน้อย 30 ครัวเรือนได้รู้ข้อมูลและใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตของตนเองได้อย่างมีความสุขอย่างต่อเนื่อง
- หมู่บ้านชุมชนได้เรียนรู้ตัวชี้วัดแต่ละด้าน และได้นำกลับมาใช้ปรับปรุงในหมู่บ้านของตนเอง
- หมู่บ้านสามารถเป็นศูนย์เรียนรู้แก่ชุมชนอื่นได้เป็นอย่างดี
- เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน เองก็สามารถนำตัวชี้วัดบ้างตัวมาปรับใช้ในดำรงชีวิตประจำวันและการทำงานได้เป็นอย่างดี
ปัญหาและอุปสรรค
ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ เป็นครัวเรือนที่มีความเสียสละเป็นอย่างมาก ถ้าเข้าร่วมประชุม อบรม ต่อ 1 วัน 1 ครั้ง ก็อาจจะทำให้ครัวเรือนนั้น ขาดรายได้ที่ทำเป็นประจำ (เช่น การรับจ้างเป็นวัน ๆ ละ 300 บาท)
ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ เป็นครัวเรือนที่มีความเสียสละเป็นอย่างมาก ถ้าเข้าร่วมประชุม อบรม ต่อ 1 วัน 1 ครั้ง ก็อาจจะทำให้ครัวเรือนนั้น ขาดรายได้ที่ทำเป็นประจำ (เช่น การรับจ้างเป็นวัน ๆ ละ 300 บาท)
แนวทางแก้ไข
ในฐานะเป็นผู้ส่งเสริมการขับเคลื่อนการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของกรมการพัฒนาชุมชน ต้องชี้แจงและสร้างความเข้าใจให้ครัวเรือนในชุมชน หรือครัวเรือนเป้าหมายได้ตระหนักและเข้าใจในวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการเป็นการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางที่ใช้ในการดำรงชีวิตของคนในชุมชนตลอดไป
ในฐานะเป็นผู้ส่งเสริมการขับเคลื่อนการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของกรมการพัฒนาชุมชน ต้องชี้แจงและสร้างความเข้าใจให้ครัวเรือนในชุมชน หรือครัวเรือนเป้าหมายได้ตระหนักและเข้าใจในวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการเป็นการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางที่ใช้ในการดำรงชีวิตของคนในชุมชนตลอดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น