ชื่อ
– นามสกุล นายธีรยุทธ เปลี่ยนผัน
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอคลองเขื่อน
ชื่อเรื่อง การบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านหัวลำพู หมู่ที่ 4 ตำบลคลองเขื่อน
ก่อนที่จะเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง... จะต้องมีการคัดเลือกหมู่บ้านที่มีความพร้อม ในทุกด้าน และต้องผ่านตัวชี้วัด 6x2 และตัวชี้วัดของกระทรวงมหาดไทย เพื่อจัดระดับของหมู่บ้านเพื่อการพัฒนา ตามกรอบแนวทางการพัฒนาของกระทรวงมหาดไทย
บ้านหัวลำพู... หมู่ที่ 4 ตำบลคลองเขื่อน เป็นหมู่บ้านหนึ่งในหลายๆ หมู่บ้านในอำเภอคลองเขื่อน ที่ได้รับงบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จากกรมการพัฒนาชุมชน จากเกณฑ์ประเมินหมู่บ้าน บ้านหัวลำพู อยู่ในระดับ”พออยู่พอกิน” ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุด จึงได้งบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้านเป็นเงิน 120,000 บาท(หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน) หลังจากมีการอบรมแกนนำแล้ว ก็ได้มีการอบรมครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 30 ครัวเรือน โดยมีการอบรมตามขั้นตอน จนครบตามหลักสูตร ในปี 2556 ได้รับงบประมาณโครงการรักษาและพัฒนาความเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเพื่อขยายผล เป็นเงิน 27,500 บาท (สองหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน) และกิจกรรมสาธิตการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
นายสุชาติ เสน่หา ผู้ใหญ่บ้าน (กำนันในขณะนั้น)... ได้จัดประชุมครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน เพื่อจัดทำโครงการ โดยให้แนวคิดกับที่ประชุมว่า “เราเป็นครัวเรือนเป้าหมายตามโรงการ เป็นครัวเรือนที่มีโอกาสได้รับสิ่งของจากเงินงบประมาณก้อนนี้ แล้วทำอย่างไรเล่าจะทำให้งบประมาณก้อนนี้ ไปถึงมือผู้ที่ไม่มีโอกาสได้รับงบประมาณได้บ้าง ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร แต่เขาก็เป็นสมาชิกในหมู่บ้าน ใช่อื่นไกล พี่น้องเราทั้งนั้น” หลังจากนั้นในที่ประชุมได้พิจารณาถึงสภาพทั่วไปของหมู่บ้าน อาชีพ ของครัวเรือนเป้าหมาย ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา และทุกครัวเรือนต้องใช้ปุ๋ยในการเพิ่มผลผลิต ถ้าทำน้ำหมักชีวภาพ ก็ไม่ทันการเพราะอยู่ในช่วงของฤดูกาลผลิตแล้ว จึงได้จัดทำโครงการซื้อปุ๋ยเคมีใช้ในนาข้าว แล้วจะทำอย่างไรเล่าถึงจะได้ใช้งบประมาณก้อนนี้ได้ทั้งหมู่บ้าน เป็นเรื่องที่น่าขบคิดของหมู่บ้าน และได้มีการถกเถียงกันกันยกใหญ่ จึงได้มีคณะกรรมการหมู่บ้านให้แนวความคิดว่า”ทำไมไม่เอาเงินเข้ากองทุนปุ๋ยของหมู่บ้านละ” ถึงบางอ้อเลยครับ กองทุนปุ๋ยของหมู่บ้านก็มีนี้ แล้วครัวเรือนเป้าหมายจะยอมหรือ จนได้ข้อสรุปว่า ในปีแรกให้นำปุ๋ยไปใช้ แล้วขายผลผลิตได้ให้เอาเงินคืนโดยไม่มีดอกเบี้ย(กองทุนปุ๋ยหมู่บ้านมีดอกเบี้ย) หลังจากนั้นก็เป็นกองทุนในปุ๋ยหมุนเวียนต่อไป
หลังจากนั้นบ้านหัวลำพู... ยังได้รับงบประมาณในปี 2557 จากกรมการพัฒนาชุมชน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เป็นเงิน 21,300 บาท(สองหมื่นหนึ่งพันสามร้อยบาทถ้วน) และได้นำเงินทุนก้อนนี้ไปซื้อปุ๋ยอีกเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้กับหมู่บ้าน
จะเห็นได้ว่าโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงฯ... บางกิจกรรมหรือหลายกิจกรรมก็สามารถนำมาประยุกต์และบูรณาการเป็นกิจกรรมที่เกิดประโยชน์แก่ทุกคนในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี จากเพียงบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ ถ้าเรายืดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอคลองเขื่อน
ชื่อเรื่อง การบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านหัวลำพู หมู่ที่ 4 ตำบลคลองเขื่อน
ก่อนที่จะเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง... จะต้องมีการคัดเลือกหมู่บ้านที่มีความพร้อม ในทุกด้าน และต้องผ่านตัวชี้วัด 6x2 และตัวชี้วัดของกระทรวงมหาดไทย เพื่อจัดระดับของหมู่บ้านเพื่อการพัฒนา ตามกรอบแนวทางการพัฒนาของกระทรวงมหาดไทย
บ้านหัวลำพู... หมู่ที่ 4 ตำบลคลองเขื่อน เป็นหมู่บ้านหนึ่งในหลายๆ หมู่บ้านในอำเภอคลองเขื่อน ที่ได้รับงบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จากกรมการพัฒนาชุมชน จากเกณฑ์ประเมินหมู่บ้าน บ้านหัวลำพู อยู่ในระดับ”พออยู่พอกิน” ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุด จึงได้งบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้านเป็นเงิน 120,000 บาท(หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน) หลังจากมีการอบรมแกนนำแล้ว ก็ได้มีการอบรมครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 30 ครัวเรือน โดยมีการอบรมตามขั้นตอน จนครบตามหลักสูตร ในปี 2556 ได้รับงบประมาณโครงการรักษาและพัฒนาความเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเพื่อขยายผล เป็นเงิน 27,500 บาท (สองหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน) และกิจกรรมสาธิตการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
นายสุชาติ เสน่หา ผู้ใหญ่บ้าน (กำนันในขณะนั้น)... ได้จัดประชุมครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน เพื่อจัดทำโครงการ โดยให้แนวคิดกับที่ประชุมว่า “เราเป็นครัวเรือนเป้าหมายตามโรงการ เป็นครัวเรือนที่มีโอกาสได้รับสิ่งของจากเงินงบประมาณก้อนนี้ แล้วทำอย่างไรเล่าจะทำให้งบประมาณก้อนนี้ ไปถึงมือผู้ที่ไม่มีโอกาสได้รับงบประมาณได้บ้าง ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร แต่เขาก็เป็นสมาชิกในหมู่บ้าน ใช่อื่นไกล พี่น้องเราทั้งนั้น” หลังจากนั้นในที่ประชุมได้พิจารณาถึงสภาพทั่วไปของหมู่บ้าน อาชีพ ของครัวเรือนเป้าหมาย ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา และทุกครัวเรือนต้องใช้ปุ๋ยในการเพิ่มผลผลิต ถ้าทำน้ำหมักชีวภาพ ก็ไม่ทันการเพราะอยู่ในช่วงของฤดูกาลผลิตแล้ว จึงได้จัดทำโครงการซื้อปุ๋ยเคมีใช้ในนาข้าว แล้วจะทำอย่างไรเล่าถึงจะได้ใช้งบประมาณก้อนนี้ได้ทั้งหมู่บ้าน เป็นเรื่องที่น่าขบคิดของหมู่บ้าน และได้มีการถกเถียงกันกันยกใหญ่ จึงได้มีคณะกรรมการหมู่บ้านให้แนวความคิดว่า”ทำไมไม่เอาเงินเข้ากองทุนปุ๋ยของหมู่บ้านละ” ถึงบางอ้อเลยครับ กองทุนปุ๋ยของหมู่บ้านก็มีนี้ แล้วครัวเรือนเป้าหมายจะยอมหรือ จนได้ข้อสรุปว่า ในปีแรกให้นำปุ๋ยไปใช้ แล้วขายผลผลิตได้ให้เอาเงินคืนโดยไม่มีดอกเบี้ย(กองทุนปุ๋ยหมู่บ้านมีดอกเบี้ย) หลังจากนั้นก็เป็นกองทุนในปุ๋ยหมุนเวียนต่อไป
หลังจากนั้นบ้านหัวลำพู... ยังได้รับงบประมาณในปี 2557 จากกรมการพัฒนาชุมชน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เป็นเงิน 21,300 บาท(สองหมื่นหนึ่งพันสามร้อยบาทถ้วน) และได้นำเงินทุนก้อนนี้ไปซื้อปุ๋ยอีกเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้กับหมู่บ้าน
จะเห็นได้ว่าโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงฯ... บางกิจกรรมหรือหลายกิจกรรมก็สามารถนำมาประยุกต์และบูรณาการเป็นกิจกรรมที่เกิดประโยชน์แก่ทุกคนในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี จากเพียงบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ ถ้าเรายืดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น