วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา



นางวรรณา   หินศรี
พัฒนาการอำเภอแปลงยาว
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแปลงยาว


เรื่อง
การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
OTOP ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้ได้รับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น
 

จำนวนผลิตภัณฑ์ OTOP ของอำเภอแปลงยาวที่อยู่ในกลุ่ม D มีจำนวน  5 กลุ่ม โดยแยกเป็นประเภทผลิตภัณฑ์ได้ 2 ประเภท คือ ประเภทของใช้ จำนวน  2   ผลิตภัณฑ์และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร จำนวน  6 ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งหมด 8 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในปีงบประมาณ 2557 และเป็นเป้าหมายในการดำเนินตามตามตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ ได้แก่ ตัวชี้วัดจำนวนผลิตภัณฑ์ OTOP ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ได้รับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น โดยแต่ละกลุ่มต้องได้รับการพัฒนาให้ผ่านอย่างน้อย 3 ใน 6 ข้อ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาในแต่ละผลิตภัณฑ์มีปัญหาที่ต่างๆกัน แต่โดยภาพรวมสามารถสรุปปัญหาได้ดังนี้ 
  1. การได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานต่างๆ เช่น อย. ,มผช, ฮาลาล, และ Q เป็นต้น 
  2.  Package ของผลิตภัณฑ์ และรูปลักษณ์ความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์ 
  3. เรื่องราวและความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ 
  4. การทำตลาด และแผนธุรกิจ 
  5. การต่อยอดผลิตภัณฑ์

เมื่อพบว่าปัญหาของแต่ละกลุ่มมีความคล้ายคลึงกัน จึงเกิดกระบวนการนำกลุ่มมาพัฒนาเพื่อให้สามารถปรับตัวให้สู้กับสภาวะเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันได้ โดยอำเภอแปลงยาวมุ่งเน้นการพัฒนาในส่วนที่ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการได้เอง และพัฒนาได้ด้วยตนเอง จึงนำผู้ประกอบการมาคุยกันอีกครั้งหลังจากที่ได้ไปร่วมประชุมกับจังหวัด และพบผู้เชี่ยวชาญว่าแต่ละกลุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง อย่างไร พบว่าผู้ประกอบการแต่ละรายจะมีเป้าหมายในใจแล้วว่าอยากจะปรับ แก้ เพิ่ม ลด ตรงไหนบ้าง เมื่อได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมการพัฒนาชุมชนก็เสมือนเป็นตัวช่วยให้การดำเนินงานราบรื่นขึ้น และการปรับเปลี่ยนค่อนข้องจะเป็นไปอย่างราบรื่น ได้รับความร่วมมือดีมากจากผู้ประกอบการ


เทคนิคและวิธีการที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ 
  1. การให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการ โดยอาศัยคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเป็นองค์ประกอบการตัดสินใจแต่ไม่ใช้วิธีการบังคับว่าต้องเป็นไปตามผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น 
  2. ให้อิสระแก่ผู้ประกอบในการเลือกแบบ เรื่องราวที่อยากจะถ่ายทอด และpackage ที่อยากจะปรับ โดยเจ้าหน้าที่เป็นเพียงผู้ประสานงาน 
  3. ให้อิสระผู้ประกอบการในการติดต่อกับร้าน ผู้รับจ้าง ทำเองเพื่อความโปร่งใสและความสบายใจในการติดต่อประสานงานเรื่องการปรับ ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์จนเป็นที่พึงพอใจของผู้ประกอบการ หรือ ใช้หลักการมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการทำงานนั่นเอง
ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการดำเนินงาน 
  1. ผู้ประกอบการไม่มีเวลาในการเข้าร่วมการประชุม เพราะมุ่งเน้นการขายสินค้ามากกว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน
  2. ชนิดของผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้ มีข้อจำกัดในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากมีขนาดใหญ่ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่เน้นการใส่บรรจุภัณฑ์
  3. องค์ความรู้ เทคนิค วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งของเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการยังไม่มากพอที่จะดึงผลิตภัณฑ์ให้เกิดความโดดเด่นได้
แนวทางแก้ปัญหา

  1. เข้าพบผู้ประกอบการรายบุคคล รายกลุ่ม ตามวัน เวลา ที่ผู้ประกอบการสะดวก โดยให้ผู้ประกอบการนำผลิตภัณฑ์มาด้วย คุยทบทวนคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และนำความต้องการของผู้ประกอบการมาบูรณาการร่วมกัน โดยจะเน้นไปที่ความต้องการที่แท้จริงของผู้ประกอบการมากกว่าจะใช้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก 
  2. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยการไปฝึกอบรม ไปดูงานจากผู้ประกอบการที่ทำกิจการคล้ายๆกันและประสบความสำเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น