วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการเขียนโครงการเพื่อของบประมาณตามหลักของสำนักงบประมาณ

เป็นความรู้ที่ได้จากการประชุมที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนาจังหวัด ปี ๒๕๕๓ -๒๕๕๖ และแผนปฏิบัติราชการจังหวัด ประจำปี ๒๕๕๔ ซึ่งได้เชิญวิทยากรจากสำนักงบประมาณได้บรรยายเรื่อง “การบริหารและการจัดการระบบงบประมาณมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์” โดยได้นำเสนอเทคนิคการเขียนโครงการเพื่อของบประมาณ ตามหลักและแนวทางการพิจารณาโครงการของสำนักงบประมาณ จึงนำเสนอเป็นความรู้และแนวทางในการเขียนโครงการของบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัด/กลุ่มจังหวัด เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาชุมชน ดังนี้

รู้ ๓ เทคนิคการวางแผนและจัดทำโครงการ
๑.
รู้ประเภทโครงการ (แก้ปัญหา ป้องกันปัญหา พัฒนา)
-
รู้ลักษณะโครงการ (ทำกับคน / ทำกับสิ่งของ สถานที่ พืช สัตว์)


๒.
รู้เทคนิคการวางแผนและจัดทำโครงการ


อริยสัจสี่กับกระบวนการแก้ปัญหา
เทคนิคการเขียนโครงการ

๑.
ชื่อโครงการ

-
ระบุให้สอดคล้องกับกิจกรรม เป้าหมาย วัตถุประสงค์

-
ใช้คำกิริยา ส่วนมากมาจากงานที่ต้องปฏิบัติ (กิจกรรมหลัก)

-
เขียนให้ชัดเจนว่า จะทำอะไร แก่ใคร เรื่องอะไร


๒.
หลักการและเหตุผล

-
ระบุความเป็นมาของโครงการตามนโยบาย แผน มติ ครม.

-
ระบุสภาพปัจจุบัน

-
ระบุสภาพปัญหา/ความต้องการ สาเหตุต่าง ๆ และความจำเป็นที่ต้องจัดทำโครงการ (เกิดปัญหาอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อใด โดยมีสาเหตุมาจากอะไร)

-
ต้องบอกถึงความจำเป็นที่ต้องจัดทำโครงการว่าได้ไม่ทำจะมีผลเสียหายอย่างไร ถ้าทำจะช่วยแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาอย่างไร

-
ถ้าเป็นโครงการเกี่ยวกับการพัฒนา จะต้องบอกหรืออธิบายได้ว่าจะพัฒนาอะไร เกี่ยวกับอะไร สำคัญอย่างไร มีหลักการอย่างไร มีหลักฐานอะไร มีข้อมูลและข้อสนเทศอะไรบ้าง น่าจะทำอะไร เหตุที่ต้องทำและมีความจำเป็นเพียงใด หากทำจะได้อะไร เป็นต้น

-
ถ้าเป็นโครงการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา จะต้องบอกหรืออธิบายว่า อะไรคือปัญหา สำคัญขนาดไหน มีข้อมูล/ข้อเทศอะไรบ้าง มีหลักการ ทฤษฎี ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขอย่างไร คาดว่าน่าจะแก้ปัญหาด้วยวิธีการใด อย่างไร แต่ยังไม่ได้ทำจึงได้เสนอโครงการขึ้นมา เป็นต้น


หลักการในการเขียน

ส่วนแรก หรือย่อหน้าที่ ๑ โดยทั่วไปมักจะกล่าวอ้างถึงนโยบาย มติ คำหลักที่ควรใช้ในส่วนที่ ๑ ....เนื่องด้วย จาก ตามที่ ปัจจุบัน

ส่วนแรก หรือย่อหน้าที่ ๒ มักจะกล่าวถึงสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ ซึ่งหากไม่ดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงแล้วย่อมจะทำให้ “ส่วนแรก” เกิดความเสียหายได้
คำหลักที่ควรใช้ในส่วนที่ ๒ ....ดังนั้น จึง โดย

ส่วนแรก หรือย่อหน้าที่ ๓ มักจะกล่าวถึงกิจกรรมที่โครงการนี้ควรดำเนินการ หรือหากดำเนินการแล้วจะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร และเกิดประโยชน์กับใคร คำหลักที่ควรใช้ในส่วนที่ ๓ ....เพื่อให้เกิด เพื่อพัฒนา เพื่อสร้าง เพื่อเป็นประโยชน์


๓.
วัตถุประสงค์โครงการ มีหลัก ๕ ข้อ

-
ระบุถึงความสำเร็จหรือสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อทำกิจกรรมเสร็จและสิ้นสุดโครงการใครได้ประโยชน์อย่างไรจากโครงการ

-
กรณีเป็นโครงการแก้ไขปัญหา เขียนให้อยู่ในรูปการลดหรือขจัดปัญหา ป้องกันปัญหา หรือพัฒนาสิ่งที่ต้องการเพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องเขียนหลายข้อ (ควรมี ๑-๓ ข้อ)

-
เป็นการตอบคำถามทำไปทำไม เพื่อใคร (for whom)

-
สอดคล้องกับกิจกรรมและเป้าหมาย ทำอย่างไร สิ่งที่ได้ นำไปใช้ประโยชน์

-
ใช้หลักการ SMART

· ชี้ชัด เฉพาะเจาะจง ชัดเจน (S=Sensible and Specific)

· วัดได้ เป็นรูปธรรม จับต้องได้ (M=Measurable) ๒QTP

· ทำได้ สามารถปฏิบัติได้ (A=Attainable) กระทำได้จริง

· ไม่เพ้อฝัน ทำให้เป็นจริงได้ (R=Realistic)

· รู้วันเวลา มีกรอบเวลาชัดเจน (T=Time)


๔.
เป้าหมายของโครงการ มีหลัก ๕ ข้อ

-
เป็นผลที่มาจากการทำกิจกรรมหลัก รอง และสนับสนุน

-
ตอบคำถามว่าได้อะไร จากการทำกิจกรรม

-
เป็นผลงาน (Output) ที่เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงการ สามารถวัดได้ทันทีทันตา

-
สอดคล้องระหว่างกิจกรรมและผลลัพท์ ทำอย่างไร สิ่งที่ได้ นำไปใช้ (ใคร)

-
มีตัวชี้วัด ๔ มิติ เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เวลา และต้นทุน (QQCT)


๕.
วิธีดำเนินการ

-
ระบุกิจกรรมโครงการทั้งหมด

-
ระบุขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม

-
ระบุกิจกรรมหลัก กิจกรรมรอง และสนับสนุน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงกิจกรรมสุดท้าย ถ้าไม่เป็นโครงการที่ไม่ซับซ้อนมากนักจะนิยมใช้แผนภูมิเกณฑ์ (Gantt chart) หรือแผนภูมิแท่ง (Bar chart)


๖.
ระยะเวลาดำเนินการ ระบุระยะเวลาเริ่มต้นโครงการและระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ

๗.
สถานที่ดำเนินการ ระบุสถานที่ตั้งโครงการว่ากิจกรรมจะทำสถานที่ใด เพื่อสะดวกต่อการจัดเตรียมที่ก่อนดำเนินการ

๘.
ผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการระบุว่าใคร หรือหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ


๙.
งบประมาณ

-
เป็นการระบุค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการดำเนินกิจกรรมขั้นต่าง ๆ

-
แยกเป็นหมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ / หมวดครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง

-
ระบุแหล่งที่มาของงบประมาณแผ่นดิน งบเงินกู้ งบบริจาค งบเงินช่วยเหลือจากเอกชน หรือจากต่างประเทศ


๑๐.
การประเมินผลโครงการ เป็นการแสดงรายละเอียดว่าจะมีวิธีการควบคุมติดตามผลและประเมินผลโครงการอย่างไร

-
วิธีการประเมินผลโครงการ (๓ส ๑อ)

-
ระยะเวลาประเมินผล

-
ตัวชี้วัด ความสำเร็จของโครงการคือะไร


๑๑.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-
ระบุผลประโยชน์ที่กลุ่มบุคคลหรือพื้นที่หรือสังคมโดยรวมจะได้รับ

-
ระบุผลกระทบในด้านบวกที่จะตามมาจากการมีโครงการ (Impact)

กรอบ ๕ ความ (๕C) ในการเขียนโครงการ

๑. ความถูกต้อง (Correct)

๑.๑ ความถูกต้องในรูปแบบ (Format)

- โครงสร้างครบถ้วน

- การจัดลำดับ เบื้องต้น-เนื้อหา-สรุป

- ความเชื่อมโยง เป็นตรรกะ

- แยกประเด็นชัดเจน

๑.๒ ความถูกต้องในเนื้อหา

- เป็นเหตุผล เชื่อมโยง ไม่วกวน

- รายละเอียดสัมพันธ์กับหัวข้อ

- เป็นข้อมูล-ข้อเท็จจริง-ความเห็น

๑.๓ ความถูกต้องในหลักภาษา (ใช้ภาษาเขียน ไม่ใช่ภาษาพูด / ตัวสะกด ประโยค หลักภาษา)

๒. ความชัดเจน (Clear)

- กระจ่างใจ อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่สะดุด ไม่สงสัย

- กระจ่างตา เขียนหนังสือมีย่อหน้า แยกประเด็น (ไม่เขียนติดกัน)

๓. ความรัดกุม (Confirm)

- สามารถยันสิ่งที่เขียน ทั้งข้อมูล/ข้อเท็จจริง อ้างอิงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ

- อ่านไม่ต้อง “ตีความ”

- สรุป ไม่เขียนลอย ๆ กว้างไป

๔. ความกระชับ (Concise)

- ๓ ความ : สั้น กระชับ กะทัดรัด

- ๔ ไม่ : ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่วกวน ไม่ซ้ำซาก ไม่ซ้ำกันในที่ใกล้กัน

- หลักเพื่อตอบ ใคร ทำอะไร ทำไม ที่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร (๖W H)

๕. ความโน้มน้าว (Convince)

- เพื่อไปสู่จุดหมาย อย่างเพ้อฝันเกินจริง จริงใจ ภาษาจะงดงาม


นางศศิฉาย สุคนธฉายา
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา

2 ความคิดเห็น:

  1. เป็นแนวทางการเขียนงานที่ดีมากครับ ผมได้ความรู้มากครับ

    ตอบลบ
  2. ดีมากๆเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

    ตอบลบ