ชื่อ – สกุล
นางสาววรรณวิไล กวางประชัน
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะเกียบ
จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 087-0193497
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ 2557
การดำเนินงานการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชดำรัส
ชี้แนะแนวทางในการดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนของประชาชน ด้วยรูปแบบการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
โดยเน้นการดำเนินงานกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งระดับครอบครัว หน่วยงานภาคีการพัฒนา
และชุมชน ดังนี้
ครอบครัว
คือเน้นครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 30 คน
เป็นเป้าหมายแกนนำการดำรงวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบและขยายผลไปยังครัวเรือนอื่นในชุมชน
หน่วยงานภาคีการพัฒนา
สนับสนุนกิจกรรมของหมู่บ้าน ในด้านวิชาการ
งบประมาณโดยเชื่อมประสานกับประชาชนของทั้งหมู่บ้าน
ชุมชน
เป็นแหล่งเรียนรู้การดำเนินวิถีตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
โดยจัดให้มีการเรียนรู้ของคนในชุมชนในเรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน การทำน้ำส้มควันไม้ การทำน้ำยาล้างจาน การทำดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ
การเพาะเห็ด การสืบทอดประเพณีบุญข้าวจี่
การปลูกผักปลอดสารพิษ
การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงหมู
เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน
นอกจากนี้การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านยัง
มีองค์ประกอบหลายอย่างตามกระบวนการของกรมการพัฒนาชุมชน และจากการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ส่วนหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาประสบผลสำเร็จ
มาจากแกนนำหมู่บ้าน
ที่เป็นผู้นำทาง และเป็นผู้เชื่อมประสาน ทั้งกับครอบครัว กลุ่ม
องค์กร ในหมู่บ้าน และ
ภาคีภายนอกหมู่บ้าน เพื่อผนึกกำลังร่วมกันในการพัฒนาหมู่บ้าน โดยมีกระบวนการทำงาน ดังนี้
1.
ทำความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน
2. ทบทวนผลการพัฒนาหมู่บ้านในปีที่ผ่านมา
3.
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตนเองและกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ด้วยการทบทวนปรับแผนชุมชน
เพื่อช่วยกันคิดวิเคราะห์ค้นหาศักยภาพของตนเอง
ค้นหาปัญหาของชุมชนว่ามีสาเหตุมาจากอะไร และจัดทำแผนการแก้ไขปัญหา
กำหนดทิศทางแก้ปัญหาด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
4. สาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียง
อย่างน้อย 1 ประเภท โดยมีมติจากเวทีของผู้เข้าประชุมว่าต้องการอะไร
ซึ่งเวทีได้สรุปกิจกรรม สาธิต ได้แก่
การใช้พลังงานทดแทน
โดยการสาธิตการทำเตาก๊าชชีวะมวล
5. กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการชุมชน
และการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
และการสร้างความสมานฉันท์สามัคคีของหมู่บ้าน
ให้ความรู้เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และการสร้างความสมานฉันท์ในหมู่บ้าน
6. กิจกรรมการจัดการความรู้วิธีการปฏิบัติการพัฒนาหมู่บ้าน
โดยการจัดการความรู้จากแหล่งเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้าน
และเตรียมการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
7 . รับการประเมินและประกวดหมู่บ้านระดับจังหวัด
ขุมความรู้ ( Knowledge Assets )
- กำหนดหมู่บ้านเป้าหมาย
- วางแผนเตรียมพร้อมใจการทำงาน สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีอยู่ในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในระดับแกนนำชุมชนและประชาชนในหมู่บ้าน ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาหมู่บ้านตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
- ประสานหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เข้าร่วมให้ความรู้ในเวทีประชาคม
- สนับสนุนงบประมาณในการขับเคลื่อนกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน
- มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการประกอบอาชีพ
- ติดตามผลการดำเนินงานทุกระยะ
- เผยแพร่ประชาชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนในทุกพื้นที่ได้รับรู้
แก่นความรู้
- สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- สนับสนุนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม
- สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
- การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
แนวคิด/ความรู้ที่นำมาใช้
- การจัดการความรู้
- หลักการพัฒนาชุมชน
- กระบวนการมีส่วนร่วม
- ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลยุทธ์ในการทำงาน
- การประสานงาน สร้างความคุ้นเคยไว้ใจกับคนในชุมชน
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- สนับสนุนให้หมู่บ้านดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ทำบัญชีครัวเรือน ปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง ทำน้ำยาล้างจานใช้เอง เพื่อเป็นการลดรายจ่าย
- สร้างศูนย์เรียนรู้ให้บุคคลอื่นได้เข้ามาศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
- ประเมินผลการดำเนินงาน
- เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
บ้านทุ่งส่าย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข ระดับจังหวัด ปี 2557
เป็นหมู่บ้านต้นแบบของการพัฒนาชุมชนในอำเภอท่าตะเกียบ โดยได้ขยายผลการดำเนินงานไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง
ซึ่งการพัฒนาทึ้งหลายไม่ได้จบเพียงเท่านี้
ยังต้องขับเคลื่อนและขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
และการสนับสนุนของหน่วยงานภาคีการพัฒนาเพื่อให้ชุมชนเข็มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น