วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การพัฒนายกระดับคุณภาพมาตรฐาน OTOP Quadrant D

ชื่อ- นามสกุล นางศิริกาญจน์    แดงงาม
ตำแหน่ง        นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด            สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแปลงยาว
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้        0944784797
ชื่อเรื่อง        การพัฒนายกระดับคุณภาพมาตรฐาน  OTOP Quadrant  D    

อำเภอแปลงยาว มีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่อยู่ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา จำนวน  10 ราย โดยแยกเป็นประเภทผลิตภัณฑ์ได้ 3 ประเภท คือ ประเภทอาหาร 5 ราย ประเภทของใช้ 2 ราย  และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร  3 ราย  โดยทั้ง 10 ราย ได้เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ด้านการผลิต โดยได้มีการกำหนดให้มีการพัฒนายกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ จำนวน 6 หลักเกณฑ์ ซึ่งแต่ละรายต้องผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์ อย่างน้อย 3 ใน 6 หลักเกณฑ์

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP โดยยึดหลัก 4P ประกอบด้วย
1. Product คือ การพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย
2. Price คือ ราคา เป็นตัวบ่งบอกภาพลักษณ์ของสินค้าที่สำคัญที่สุด
3. Place คือ ช่องทางการจำหน่าย วิธีการนำสินค้าไปสู่มือของลูกค้า
4. Promotion คือ ส่งเสริมการจำหน่าย  การส่งเสริมการจำหน่ายหรือการส่งเสริมการขายมีบทบาทสำคัญที่ช่วยเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม OTOP ในกลุ่มประเภท D ของอำเภอแปลงยาว  ดำเนินกิจกรรมภายใต้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการใช้หลัก 4 P และเกณฑ์การพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ อย่างน้อย 3 ใน 6 ของหลักเกณฑ์ ซึ่งขอยกตัวอย่างการพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ของนางสมปอง นะราแก้ว       ผู้ผลิตสับปะรดกวน ดังนี้

กลุ่มประเภทอาหาร ของนางสมปอง  นะราแก้ว   มีผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียน OTOP   เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ (Product) ได้แก่ สับปะรดกวน   จัดอยู่กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภท D ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา

สถานการณ์ปัจจุบันของผู้ผลิต   ในด้านผลิตภัณฑ์ ยังไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ทั้งในด้านของ อย. และมผช. เนื่องจากขาดงบประมาณในการปรับปรุงโรงเรือน  แต่ในแผนการพัฒนาของผู้ผลิต ได้มีการกำหนดให้มีการดำเนินการด้านการขอมาตรฐาน อย. และผู้ผลิตได้มีการเข้าร่วมประชุม อบรม เพื่อรับความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเกือบทุกด้านของผลิตภัณฑ์   ในปัจจุบันได้มีการเชิญสาธารณสุขอำเภอเข้าตรวจสอบพื้นที่เพื่อวางแผนการปรับปรุงโรงเรือนเพื่อยื่นขอมาตรฐาน อย. จนได้รับใบรับรองมาตรฐาน อย. จากสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

จุดเด่นคือ   มีความตั้งใจในการดำเนินกิจกรรม ต้องการพัฒนากลุ่มให้เป็นกลุ่ม OTOP ที่มีศักยภาพเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่างๆ  และเป็นแหล่งพัฒนาอาชีพ สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

ส่วนอีก 9 ราย  ก็ได้รับงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่นกัน โดยส่วนใหญ่ จะเน้นในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ให้มีความโดดเด่น ชัดเจนในตัวผลิตภัณฑ์ (Product)  เพื่อเพิ่มยอดการจำหน่ายสินค้า (Price) ในราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ และสร้างคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในตลาด ตรงกับความต้องการของลูกค้า มีมาตรฐานสร้างความเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์


สรุป ในฐานะเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบงาน OTOP ของอำเภอแปลงยาว  เชื่อว่าในกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP  จำนวน 10 ราย ของอำเภอแปลงยาว  ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D)    ที่ได้รับประมาณสนับสนุนจากทั้งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และจากหน่วยงานในอำเภอแปลงยาว ต่างๆ ที่ร่วมกันสนับสนุนและพัฒนากลุ่ม จะสามารถพัฒนากลุ่มของตนเองให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ หรือผ่านหลักเกณฑ์การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อย่างน้อย จำนวน 3 ใน 6 ตามตัวชี้วัดกิจกรรมของกรมการพัฒนาชุมชน และพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้หลัก 4P ร่วมด้วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้           ประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต

การส่งเสริมบทบาทการบริหารจัดการชุมชนเพื่อให้มีความสุขมวลรวม

ชื่อ-สกุล    นางพัชรา  อุไร 
ตำแหน่ง   นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด    สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโพธิ์  จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์  ๐๘๙-4051653
องค์ความรู้       การส่งเสริมบทบาทการบริหารจัดการชุมชนเพื่อให้มีความสุขมวลรวม
ชื่อเรื่อง    ผู้นำในการบริหารให้ประชาชนในพื้นที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน

เนื้อเรื่อง
ผู้นำในการบริหารให้ประชาชนในพื้นที่ประสบความสำเร็จในการทำงานในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอพียงบ้านท่าถั่ว  หมู่ที่ 3 ตำบลบางกรูด อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นหมู่บ้านที่ได้รับงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชนในปีงบประมาณ 2554 มีผู้นำท้องถิ่นในที่นี้หมายถึงคณะกรรมการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทในการทำให้หมู่บ้านประสบความสำเร็จในการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

1.ลักษณะทางสังคมในพื้นที่ เช่น ศักยภาพและบทบาทของผู้นำ ได้รับการศึกษาของผู้นำอยู่ในระดับมีความรู้ มีคุณธรรม ทำงานอย่างซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ ให้คุณค่าความสำคัญกับระบบความอาวุโสและระบบเครือญาติสูง  ชุมชนให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางศาสนา การรักษาประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น และการรักษาศีลธรรมและธรรมะค่อนข้างมาก เพราะมีวัดมงคลโสภิต(วัดต้นสน)  ชุมชนมีความเข็มแข็งในการร่วมกิจกรรมในพื้นที่ มีจิตสำนึกรักท้องถิ่น

2.ลักษณะทางเศรษฐกิจ เช่น มีการประกอบอาชีพที่มั่นคง รายได้ครัวเรือนที่แน่นอนมั่นคง ภาวะหนี้สินน้อย มีการออมเงิน และมีกลุ่มอาชีพในพื้นที่ ชุมชนได้รับสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐในรูปกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนหมู่บ้าน กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี  กองทุนแม่ของแผ่นดิน สถาบันการเงินชุมชนด้านข่าวสารมักจะได้รับแจ้งข่าวสารในรูปแบบของการประชุมกลุ่มต่าง ๆ

3.ลักษณะทางการเมือง เช่น การบริหารงานในหมู่บ้านผู้นำชุมชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ในระบบบัญชี และการให้ความสำคัญต่อสิทธิของชุมชนมีความสำคัญมากโดยขอมติจากเวทีประชาคม

4.ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย ภูมิปัญญาด้านต่าง ๆ ในหมู่บ้าน สินค้า/ผลิตภัณฑ์ของชุมชน การบริหารจัดการโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้รู้ด้านต่าง ๆ แต่ละชุมชนต่างก็มีผู้รู้ที่ได้รับการยอมรับนับถือโดยทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นผู้รู้ทางวัฒนธรรมประเพณี และผู้รู้ทางด้านแพทย์แผนไทยและสมุนไพร ซึ่งสมาชิกชุมชนก็ตระหนักดีว่าผู้รู้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนเป็นที่ยอมรับ

5.ทุนด้านสังคม ประกอบด้วย จำนวนผู้นำทางธรรมชาติ ได้แก่ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อดีตกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน สมาชิกสภา อบต. อาสาสมัครสาธารณสุข ประธานกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสตรี กลุ่มด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสถานที่ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน เช่น สถาบันการเงินชุมชน  ศูนย์เรียนรู้ชุมชน กองทุนแม่ของแผ่นดิน กองทุนหมู่บ้าน อาคารเอนกประสงค์ที่ตั้งขึ้นในหมู่บ้าน ความร่วมมือในลักษณะของเครือข่าย


สรุป ผู้นำในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านท่าถั่ว หมู่ที่ 3 ตำบลบางกรูด อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรามีบทบาทในการการดำเนินกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบตามแนวปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อช่วยตนเองและครัวเรือนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเป็นหมู่บ้านต้นแบบให้หมู่บ้านอื่นได้นำไปศึกษาเรียนรู้เป็นแบบอย่าง ต้องปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง โดยต้องมีความตั้งใจจริง อดทน การใฝ่หาความรู้จากภายนอกเพื่อนำมาปรับใช้ในครัวเรือน การร่วมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์อย่างต่อเนื่องจะเกิดการพัฒนาตนเองครัวเรือน/หมู่บ้าน ให้มีความมั่นคงและยั่งยืนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป                

การส่งเสริมบทบาทการบริหารจัดการชุมชนเพื่อให้มีความสุขมวลรวม

ชื่อ นามสกุล   นางสาวปฏิญญา  ปงหาญ
ตำแหน่ง              นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ      
สังกัด    สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์    095-9517383
เรื่อง   การส่งเสริมบทบาทการบริหารจัดการชุมชนเพื่อให้มีความสุขมวลรวม
เป็นการจัดทำกิจกรรม เกี่ยวกับการบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาเพื่อให้มีความสุขมวลรวมเพิ่มขึ้นในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ  ปี พ.ศ.  2557 - ปัจจุบัน
สถานที่  บ้านตลาดหนองตีนนก หมู่ที่ 5 ตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์  จังหวัฉะเชิงเทรา

เนื้อเรื่อง
กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต และเป็นเป้าหมายของการพัฒนาหมู่บ้าน โดยจัดกระบวนการเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน ได้ใช้ความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ ตลอดจนนำแนวทางการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้หลักการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม  มีแนวทางการพัฒนาโดยใช้ตัวชี้วัด 6x2 (ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ประหยัด เรียนรู้ อนุรักษ์ เอื้ออารี) เป็นเป้าหมาย มีการประเมินระดับการพัฒนาหมู่บ้านตามเกณฑ์ชี้วัดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด แบ่งเป็น 3 ระดับ คือระดับ พออยู่ พอกิน” “ อยู่ดี กินดีและ มั่งมี ศรีสุขการประเมินความอยู่เย็น เป็นสุข หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน (Gross Village Happiness : GVH) และการทำปรอทวัดความสุข ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เป็นการสร้างหลักมีส่วนร่วม การใช้พลังชุมชนในการพัฒนาชุมชน  มีเทคนิควิธีการและการบูรณาการทำงานกับภาคีต่างๆ เพื่อให้เป็นต้นแบบของหมู่บ้านอื่น ๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชนและสร้างความพอเพียงให้กับคนในชุมชนที่จะน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติที่เห็นผลเป็นรูปธรรม

บ้านตลาดหนองตีนนก หมู่ที่ 5 ตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2557 ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา มีความภูมิใจ มีความสนใจในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต เช่นกิจกรรมลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เพื่อส่งเสริมการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาหมู่บ้านให้มีระบบบริหารจัดการชุมชนแบบบูรณาการ และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน จากกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านโดยใช้ดัชนีชี้วัดความอยู่เย็น เป็นสุข สำหรับใช้ประเมินผลการดำเนินงานการพัฒนาชุมชน ที่ได้ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในชุมชน สำหรับการอนุรักษ์ เพิ่มมูลค่าและแก้ไขปัญหาซึ่งทั้งหมดเป็นเป้าหมายการพัฒนาอีกรูปแบบหนึ่ง ความอยู่เย็น เป็นสุข หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน (Gross Village Happiness : GVH ) หมายถึง สภาวะที่คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ดำรงชีวิตอย่างมีสมดุลยภาพทั้งจิต กาย ปัญญา ที่เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นองค์รวมและสัมพันธ์กันได้ถูกต้องดีงาม นำไปสู่การอยู่รวมกันอย่างสันติระหว่างคนกับคน และระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งความอยู่เย็น เป็นสุข มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยพื้นฐานร่วม ในการสร้างความสุขของมนุษย์ได้    องค์ประกอบ  ๒๒ ตัวชี้วัด ได้แก่ ๑) การมีสุขภาวะ ๒) เศรษฐกิจชุมชนเข็มแข็งเป็นธรรม  ๓)ครอบครัวอบอุ่น ๔) การบริหารจัดการชุมชนดี ๕) การมีสภาพแวดล้อมดีมีระบบนิเวศที่สมดุล และ๖)     เป็นชุมชนประชาธิปไตยมีธรรมาภิบาล

สำหรับการประเมินความสุขมวลรวมของบ้านทุ่งช้าง และใช้ปรอทวัดความสุขเป็นเครื่องมือในการประเมิน โดยให้คนในชุมชนทั้งหมดคนพ้องต้องกัน ใช้ทุกตัวชี้วัดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา คะแนนที่ได้จะเห็นถึงระดับความสุข ว่าอยู่ในระดับ โดยมีขั้นตอนการประเมิน ความอยู่เย็น เป็นสุข”  ดังนี้
๑. วิทยากรในการประเมิน ทำความเข้าใจในกระบวนการ ขั้นตอนการจัดประชุมรวมทั้ง
ศึกษารายละเอียดความหมายของตัวชี้วัด เตรียมคำถามที่สามารถสร้างความเข้าใจหรือสื่อสารกับผู้เข้าร่วมประชุมและเหมาะสมสำหรับกลุ่มคนในชุมชน
๒. ทำความเข้าใจในขั้นตอนประเด็นคำถาม การใช้เครื่องมือกับคณะวิทยากร แบ่งงานในทีมเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ  การจัดสถานที่ให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมมากที่สุด
๓. พัฒนากรผู้ประสานงานตำบล ต้องเตรียมความพร้อมของชุมชนโดยการประชาสัมพันธ์
สร้างความเข้าใจต่อประชาชนในการเข้าร่วมประชุม เตรียมข้อมูลความเป็นจริงของหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันตัดสินใจการประเมิน
๔. ดำเนินการประเมิน โดยสร้างบรรยากาศ สร้างความรู้สึกผ่อนคลายเป็นกันเองในการ
ประเมิน ชี้แจงวัตถุประสงค์  และอธิบายความหมายของแต่ละองค์ประกอบตัวชี้วัด ให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ให้ที่ประชุมให้เหตุผลหรือบอกวิธีการที่ทำให้ตัวชี้วัดเป็นจริง แล้วให้ที่ประชุมให้คะแนนที่ละตัวชี้วัด โดยวิธีการยกมือให้คะแนนตามที่ต้องการ จนครบทุกตัวชี้วัดแล้ววิทยากรจึงเฉลยความหมายในแต่ละระดับ
๕.   ถามที่ประชุมต่อว่า ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำ จะต้องทำอะไรต่อกันดี เพื่อให้ค่าคะแนน
ความสุขเพิ่มขึ้น สำหรับหรับตัวชี้วัดที่ได้ค่าคะแนนสูงจะต้องทำอะไรต่อเพื่อให้คงอยู่และดีขึ้นอีก แล้วนำข้อเสนอที่ได้ไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแผนพัฒนาหมู่บ้านต่อไป


จากการประเมินความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน บ้านตลาดนหนองตีนนก พบว่า มีค่าคะแนนความสุขมวลรวมครั้งแรก คิดเป็นร้อยละ 90.89 ระดับ อยู่เย็น เป็นสุข และครั้งที่สองคิดเป็นร้อยละ 94.67 ระดับ อยู่เย็น เป็นสุข เกิดจากการที่ประชาชนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมส่วนรวม ให้ความสนใจและมีความเข้าใจนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต  พร้อมที่จะพัฒนาตนเอง เมื่อไปศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ   เมื่อกลับจากดูงานครอบครัวพัฒนาได้นำกิจกรรมมาทำที่บ้าน  ได้แก่ การปลูกมะนาว  การทำปุ๋ยชีวภาพ  การปลูกพืชผักสวนครัว  และยังได้เผยแพร่ไปยังครัวเรือนใกล้เคียงในหมู่บ้าน และยังมีการบูรณาการกิจกรรมร่วมกับภาคีการพัฒนาที่หลากหลาย เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล สาธารณสุขตำบล เกษตรตำบล ปราชญ์ชาวบ้าน และยังมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนในหมู่บ้าน สามารถสร้างจุดเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านการทำเกษตรกรรมได้ในชุมชน จึงเกิดเป็นความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน         

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การส่งเสริมสุขภาพทางการเงินกลุ่มออมทรัพย์ฯเป็นการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์ฯ

ชื่อ-นามสกุล นายธีรยุทธ  เปลี่ยนผัน
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชน อ.บ้านโพธิ์
เบอร์โทรศัพท์ 089-7737174
ชื่อเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพทางการเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มออมทรัพย์
สถานที่   อำเภอบ้านโพธิ์   จังหวัดฉะเชิงเทรา 

เนื้อเรื่อง                               
กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการบริการจัดการชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนด้วยวิสัยทัศน์ ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ๒๕๕๙ โดยมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาทุนชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง ด้วยภารกิจการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชน นอกจากนี้ กรมการพัฒนาชุมชน ยังมีแผนงานพัฒนาระบบธรรมาภิบาลโดยส่งเสริมการบริหารจัดการกองทุนชุมชนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

ข้าพเจ้าในฐานะทีมตรวจสุขภาพ ได้มีโอกาสได้ไปตรวจสุขภาพ ในปี 2558 จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ บ้านด่านเก่า หมู่ที่ 1 ตำบล แสนภูดาษ บ้านคลองลัดยายหรั่ง  หมู่ที่ 2 ตำบลคลองประเวศ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่จะเป็นด้านการจัดทำบัญชี เช่น บัญชีเงินสด บัญชีรับจ่าย บัญชีเงินฝากธนาคาร และการจัดทำงบการเงิน เช่น งบดุล งบกำไรขาดทุน เป็นต้น

ดังนั้น จึงได้ทำแผนการปฏิบัติงานในการตรวจสุขภาพที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้กลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิตที่ได้รับการตรวจ โดยให้คณะกรรมการอบรมทำความเข้าใจการจัดทำบัญชี และการจัดทำงบการเงิน ต่าง ๆ สรุปแนวทางขั้นตอนวิธีการดำเนินงานการตรวจสุขภาพทางการเงินกองทุนชุมชนกลุ่ม ออมทรัพย์เพื่อการผลิต  ดังนี้

ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑) จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสุขภาพทางการเงิน
๒) จัดประชุมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในการตรวจสุขภาพทางการเงิน
๓) ดำเนินการตรวจสุขภาพทางการเงิน ตามความเป็นจริง มีหลักฐานอ้างอิงและสามารถตรวจสอบได้
              ตามแผนปฏิบัติการตรวจสุขภาพทางการเงินที่กำหนดไว้
๔) จัดทำแนวทางการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต รายข้อที่ไม่ผ่าน ร่วมกับกลุ่มออมทรัพย์
    เพื่อการผลิต
๕) ตรวจสอบและรับรองผลการตรวจสุขภาพทางการเงิน
๖) สรุปและรายงานผลการตรวจสุขภาพทางการเงิน ให้จังหวัดทราบตามระยะเวลาที่กำหนด

ข้อแนะนำ/ข้อพึงระวัง
๑)  แสวงหาความรู้   มีการวางแผนการทำงาน   มุ่งมั่นในการพัฒนา
๒)  ปรึกษาหารือ  ติดตามตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ

องค์ความรู้การส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนด้านแก้ไขปัญหาความยากจน

ชื่อ นามสกุล   นายเกียรติศักดิ์ อรัณยะกานนท์
ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ     
สังกัด   สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโพธิ
เบอร์โทรศัพท์  08  7030 6080
เรื่อง   องค์ความรู้การส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนด้านแก้ไขปัญหาความยากจน
เป็นการจัดทำกิจกรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหมู่บ้านที่ได้รับมอบหมาย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.  2558 - ปัจจุบัน
สถานที่   อำเภอบ้านโพธิ์  จังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื้อเรื่อง        
แดนแห่งคูคลอง สองฝั่งบางปะกง ดงกุ้งปลาไก่ ไข่ ขนมไทยเผยแพร่ แห่งหลวงพ่อโสธรทางน้ำ
การตั้งชุมชนของคนในสมัยโบราณมักเลือกทำเลอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เมื่ออพยพมาตั้งบ้านเรือนหลายครัวเรือนมากขึ้น  ก็เกิดเป็นหมู่บ้าน แล้วจึงสร้างวัด หรือ ศาสนสถานเอาไว้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ถ้าหากจะคะเนว่าชุมชนใดมีอายุเท่าใด หลักฐานที่พอจะเป็นที่เชื่อถือได้ก็คือ วัด หมู่บ้านสนามจันทร์เกิดขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานบ่งบอกได้เลย แต่ถ้าดูจากการสร้างวัดสนามจันทร์ซึ่งตั้งเมื่อ พ.ศ. 2400 บ้านสนามจันทร์มีอายุถึง 150 ปี ในปี พ.ศ. 2446 ตำบลบ้านโพธิ์ในปัจจุบันมีชื่อว่า ตำบลสนามจันทร์ ดังรายงานการตรวจราชการมณฑลปราจีนของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ กราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เรื่องการยุบอำเภอหัวไทรไปรวมกับอำเภอบางคล้า และจัดตั้งอำเภอ  บ้านโพธิ์ ความว่า                                                                                                                         

"ถ้าดูตามลำน้ำที่ว่าการอำเภอหัวไทรกับอำเภอบางคล้าห่างกันทางราว 1 ชั่วโมง เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าควรจะยกเลิกอำเภอ หัวไทร เสีย คงย้ายไปตั้งตำบลสนามจันทร์ ที่จะเรียกนามอำเภอสนามจันทร์ ใต้เมืองฉะเชิงเทรา"  และอีกข้อความหนึ่ง   ในความว่า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรามีหมู่บ้านมาก ควรแบ่งท้องที่ตั้งเป็นอำเภอขึ้นอีกหนึ่งอำเภอ ที่ว่าการอำเภอถ้าไปตั้งในคลองประเวศบุรีรมย์ก็ไม่อยู่กึ่งกลางท้องที่ จึงเลือกที่ใต้วัดสนามจันทร์เป็นที่ตั้งอำเภอ ความกราบบังคมทูลดังนี้
"ราษฎรที่อยู่ทางลำน้ำไปมาลำบากเห็นด้วยเกล้าฯ ว่าควรตั้งที่ลำน้ำเมืองฉะเชิงเทรา เหนือปากคลองสนามจันทร์ เพราะเป็นท้องที่มีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่โดยรอบ แลเป็นทำเลโจรผู้ร้ายปล้นสะดมชุกชุม ส่วนนามอำเภอเรียกว่าอำเภอสนามจันทร์ เกล้าฯ ได้เลือกที่ใต้วัดสนามจันทร์ เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ แลจะยกโรงตำรวจภูธรที่อำเภอหัวไทรมาตั้งอยู่ที่อำเภอสนามจันทร์ด้วย"  สรุปได้ว่าพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ สมุหเทศาภิบาล มณฑลปราจีน เป็นผู้จัดตั้งอำเภอบ้านโพธิ์ โดยแยกออกมาจากอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2447 ใช้ชื่อว่า อำเภอสนามจันทร์ ตามชื่อหมู่บ้านและตำบลที่ตั้งอำเภอ ที่ว่าการอำเภอสนามจันทร์หลังแรกเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว หลังคามุงด้วยจาก นายอำเภอคนแรกคือขุนประจำจันทเขตต์ เหตุที่ชื่อบ้านสนามจันทร์ มีประวัติเล่ากันว่า สมัยที่ท้องที่ยังเป็นป่าอยู่ มีเสือชุกชุม มีพระยา 3 ท่าน ออกมาตั้งจั่นดักเสือที่หนองน้ำ ราษฎรเรียกว่า "หนองสามพระยา" และเรียกหมู่บ้านว่า "สนามจั่น" เรียกขานกันนานเข้าจึงเพี้ยนเป็นบ้านสนามจันทร์ ส่วนหนองสามพระยาได้ตื้นเขินเป็นพื้นนา ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ ระหว่าง พ.ศ. 24472449 มีการปรับแก้ไขเขตของหมู่บ้านและตำบลตามพระราชบัญญัติลักษณะการ   ปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) มาตรา 22 มีแนวทางการกำหนดเขตตำบลดังนี้                                              

"หลายหมู่บ้านรวมกันราว 10 หมู่บ้าน ให้จัดเป็นตำบล 1 ให้ผู้ว่าราชการเมืองปักหมายเขตตำบลนั้นให้ทราบได้โดยชัดเจนว่าเพียงใด ถ้าที่หมายเขตไม่มีลำห้วย หนอง คลอง บึง บาง หรือ สิ่งใด เป็นสำคัญได้ ก็ให้ผู้ว่าราชการเมืองจัดให้มีหลักปักหมายเขตอันจะถาวรอยู่ไปได้ยืนนาน"
หมายความว่า การกำหนดเขตตำบลให้ใช้ลำห้วย หนอง คลอง บึง บาง เป็นแนวเขต ตำบลสนามจันทร์เมื่อก่อนนี้เข้าใจว่ามีพื้นที่อยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ จึงถูกแบ่งเขตออกจากกัน โดยมีแม่น้ำบางปะกงเป็นเส้นแบ่งเขต พื้นที่ทางฝั่งขวายังคงใช้ชื่อตำบลสนามจันทร์เหมือนเดิม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมีเนื้อที่มากกว่า ส่วนทางฝั่งซ้ายซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอตั้งชื่อใหม่ว่า "ตำบลบ้านโพธิ์" มีหลักฐานคือโฉนดที่ดินที่ออกให้ราษฎรเมื่อ ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449) เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลบ้านโพธิ์แล้ว เหตุที่ตั้งชื่อว่าบ้านโพธิ์ เนื่องจากถิ่นนี้มีต้นโพธิ์ขึ้นอยู่ทั่วไป เมื่อก่อนวัดสนามจันทร์ก็มีต้นโพธิ์ใหญ่หลายต้น ชาวบ้านมีความเคารพเพราะเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ จึงเอาผ้าเหลืองห่มต้นโพธิ์ ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2454 และทรงสถาปนาพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เป็นค่ายหลวงสำหรับประชุมและซ้อมรบแบบเสือป่าเพื่อเป็นกำลังร่วมป้องกันประเทศ และเสด็จพระราชดำเนินไปประทับแรมอยู่เนือง ๆ ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าชื่ออำเภอไปพ้องกับชื่อพระราชวังสนามจันทร์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเขาดิน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องเปลี่ยนชื่ออำเภอ ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 สมัยขุนเหี้ยมใจหาญ (พงษ์ บุรุษชาติ) เป็นนายอำเภอเขาดิน 

เขาดินอยู่ต่อแดนกับอำเภอบางปะกง เป็นเขาเนินหินแกรนิต สูงประมาณ 15 เมตร เป็นที่ตั้งของวัดเขาดิน ภายในวัดมีมณฑปร้างเก่าแก่มาก เข้าใจว่าเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท เหตุที่เอาเขาดินมาตั้งเป็นชื่ออำเภอแทนสนามจันทร์ คงเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จประพาสวัดเขาดิน เมื่อปี พ.ศ. 2402 ซึ่งถือเป็นความปีติและเป็นสิริมงคล จึงเอาชื่อเขาดินมาเป็นชื่ออำเภอ ต่อมาปรากฏว่าเขาดินไปอยู่ในเขตอำเภอบางปะกง จึงเปลี่ยนชื่ออำเภออีกครั้งหนึ่งจากเขาดินมาเป็น อำเภอบ้านโพธิ์ ตามชื่อของตำบลที่ตั้งอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2460 (ตามรายงานกิจการจังหวัดประจำปี 2401-2502) สมัยขุนเจนประจำกิจ (ชื้น) เป็นนายอำเภอ  อาคารที่ว่าการอำเภอหลังแรกหลังคามุงจาก หลังต่อมาปลูกสร้างเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง หันหน้าสู่แม่น้ำบางปะกง ปัจจุบันใช้เป็นสำนักงานเทศบาลตำบลบ้านโพธิ์ หลังที่ 3 ขยับเข้ามาสร้างริมถนนเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น แบบสมัยใหม่ ปัจจุบันได้รื้อหลังเก่า และก่อสร้างหลังใหม่ในที่เดิม ซึ่งได้เปิดทำการที่ว่าการหลังใหม่ ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2547 พร้อมทั้งเฉลิมฉลองในวาระที่อำเภอมีอายุครบ 100 ปีด้วย

ตั้งแต่ตั้งอำเภอมา มีนายอำเภอปกครองรวม 45 คน โจรผู้ร้ายที่ว่าชุมชุมก็หมดไป ชาวอำเภอบ้านโพธิ์มีความเป็นอยู่สงบสุข เรียบง่าย แม้ในปัจจุบันการทำมาหากินเปลี่ยนไปจากเดิม สภาพสังคมเปลี่ยนไป แต่มีสิ่งที่ไม่เปลี่ยน คือ ความสำนึกรักบ้านเกิดและความกตัญญูต่อแผ่นดิน ซึ่งจะทำให้บ้านโพธิ์ มีความยั่งยืนตลอดไป

ขั้นตอนการทำงานการถอดบทเรียนครัวเรือนยากจน
1) กระบวนการแก้ไขปัญหาความยากจน  ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนพื้นที่ มีบางส่วนเป็นคนนอกพื้นที่ๆ เข้ามาทำงานในด้านการเลี้ยงกุ้ง  อาชีพส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม เลี้ยงกุ้ง ปลา และรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม รับจ้างทั่วไป มีการลดรายจ่ายในครัวเรือนที่ไม่จำเป็น  มีระบบเฝ้าระวัง ดูแลคนในชุมชนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด  มีการรักษาความสะอาด  และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  ส่วนเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น คือ  ระหว่างปี 2550 – ปัจจุบัน  ที่ผ่านมา วิถีชีวิตของชาวบ้านเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ปัญหาต่างๆ เริ่มเข้ามามีผลกระทบต่อคนในหมู่บ้านมากขึ้น  การประกอบอาชีพทางด้านการเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากภาวะทางธรรมชาติเกิดโรคกุ้งระบาด ทำให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะปัญหาความยากจน เริ่มมีหนี้สินจากภาวะเศรษฐกิจ หรือ ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้นำชาวบ้านเริ่มมองเห็นปัญหาของหมู่บ้าน และคิดหาหนทางแก้ไขปัญหาความยากจน จึงเริ่มประชาสัมพันธ์ ส่งเสริม ให้ชาวบ้านนำแนวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้านดี ได้แก่ ความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้นทั้งด้านฐานะพร้อมอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม    พื้นที่บริเวณบ้านมีการปลูกผักสวนครัว  มีเงินกองทุนหมู่บ้านและกลุ่มสัจจะออมทรัพย์  และมีระเบียบของหมู่บ้านที่ใช้ปฏิบัติร่วมกัน  

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้านลบ  ได้แก่  การครองชีพของชาวบ้านมีความแตกต่างกัน ตามสภาพเศรษฐกิจ และการประกอบอาชีพ  การประชุมกลุ่ม หรือเวทีประชาคมหมู่บ้าน ต้องใช้เวลาช่วงวันหยุด หรือช่วงเย็นที่ชาวบ้านว่างจากการทำงาน ชาวบ้านมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมาจากการสร้างฐานะและการประกอบอาชีพและสภาพเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม         

2)  การดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจน  เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดเพื่อพึ่งพาตนเองนั้น เริ่มมาจากการลดรายจ่ายในครัวเรือน  โดยการออมเงิน สร้างภูมิคุ้มกันให้กับครอบครับเป้าหมาย ปัจจุบันครัวเรือนเป้าหมาย มีกิจกรรม ให้ครัวเรือนและสมาชิกในครัวเรือนไปประกอบอาชีพ  ส่งเสริมให้ชาวบ้านทำบัญชีครัวเรือน  ทำของใช้ในครัวเรือน  มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปลูกผักสวนครัวริมรั้วและพื้นที่บริเวณรอบๆ บ้าน  เป็นครอบครัวที่ปลอดยาเสพติด  และมีระเบียบกฎเกณฑ์ของครอบครัว มีกิจกรรมและการฝึกอบรมอาชีพที่สอดแทรกความพอเพียงมาโดยตลอด   

ดังนั้น  การแก้ไขปัญหาครัวเรือนยากจน ที่เกิดขึ้นได้ เพราะ
1)  ความร่วมมือของครัวเรือนยากจนและสมาชิกในครัวเรือน  2)  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่  การลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน  3)  การมีแผนการใช้จ่ายในครัวเรือน  4)  การพัฒนาอาชีพหลักและอาชีพเสริม  5)  ต้องหาจุดที่พอเพียงของครัวเรือนยากจน ให้เจอ  จึงสรุปเป็นการแก้ปัญหาครัวเรือนยากจน ดังนี้
(1)  การลดรายจ่าย
1.1  ครัวเรือนทำสวนครัว ได้แก่  ชาวบ้านมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย  พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่และ
ไม่ฟุ่มเฟือย   มีการลดรายจ่ายในครัวเรือน (ทำนาข้าวแผนใหม่ / ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ / ปลูกผัก / เลี้ยงปลา / เลี้ยงเป็ดไข่ / เลี้ยงกบในกระชัง / ทำน้ำยาล้างจาน  /ทำน้ำยาปรับผ้านุ่ม / อื่น ๆ)  ลดรายจ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็น
1.2 ครัวเรือนปลอดอบายมุข ได้แก่ เป็นครัวเรือนที่ปลอดยาเสพติด ไม่ดื่มสุรา มาสูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน
(2)  ด้านการเพิ่มรายได้
2.1 ได้แก่ มีการวางแผนชีวิต แผนการผลิต (ทำนาข้าวแผนใหม่ / ขายของ  / เลี้ยงเป็ดพันธ์ไข่  / เย็บจาก
มุงหลังคา/รับจ้างตัดหญ้า / ปลูกผักสวนครัว / อื่นๆ) ทำแบบพอประมาณ รอบคอบ คิดอย่างมีเหตุมีผล
2.2 มีการเข้าร่วมกับกลุ่มอาชีพ เช่น(ทำดอกไม้จันทน์ / พวงหรีด และกิจกรรม อื่นๆ ) ที่เกิดจากการ
รวมตัวของกลุ่ม ทำจำหน่ายในหมู่บ้าน และบริเวณใกล้เคียง
(3)  ด้านการประหยัด
3.1 ครัวเรือนมีการออมทรัพย์  ได้แก่  การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิตของ
หมู่บ้าน สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน เพื่อรับฝากเงินสัจจะของสมาชิก สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง และครอบครัว                             (4)  ด้านการเรียนรู้            
          4.1 ครัวเรือน มีการสืบทอด และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้แก่ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การปลูกพืชผักสวนครัว รั้วกินได้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สืบทอดจากคนรุ่นก่อนมีการทำประชาคมหมู่บ้านสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในหมู่บ้าน 
4.2 สมาชิกในครัวเรือนยากจน มีการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การศึกษาหาความรู้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา จากสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ทำให้คนในหมู่บ้านได้รับทราบแนวทางการดำเนินชีวิตที่มุ่งเน้นให้คนมีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล
(5)   ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 
ได้แก่  การเข้าร่วมกิจกรรมการรณรงค์ ดูแลรักษาสภาพแวดล้อม ที่ประชาชน และหน่วยงานราชการต่างๆ ร่วมกันดำเนินงานในเทศกาล หรือวันหยุดทางราชการ เช่น วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม หรือวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม มีการร่วมกันทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อดูแล รักษา สิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน
กระบวนการถอดบทเรียน
โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ

ขั้นที่ชี้แจงและเล่าความเป็นมา 
ชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยวิธีการดำเนินกิจกรรมตามเกณฑ์ เพื่อการประเมินและจัดระดับของครัวเรือนยากจน โดยยึดหลักทางสายกลาง  เพื่อเป็นสิ่งนำทางไปสู่ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ที่ก้าวหน้าอย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน บนพื้นฐานความพอเพียงเป็นกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของครัวเรือนเป้าหมาย  คือความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ ความรู้ และคุณธรรม   

ขั้นที่ แนะนำทีมปฏิบัติการตำบล ที่เข้าร่วมกันการถอดบทเรียน
ทีมปฏิบัติการตำบลที่เข้าร่วมเวทีประชาคมถอดบทเรียนครัวเรือนยากจนเป้าหมายเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ
ให้กับครัวเรือนเป้าหมาย ได้แก่
1. พัฒนากรประสานงานตำบล   
2. กำนัน , ผู้ใหญ่บ้าน
3. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
4. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
5. ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน
6. ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีตำบล
7. ปลัดอำเภอผู้ประสานงานตำบล
8. หน่วยงานราชการ อื่นๆ

หน่วยงานเหล่านี้ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ในการดำเนินงานเพื่อที่จะได้รับทราบ รับรู้และสามารถปฏิบัติได้ ตามหน้าที่  ดังนี้
1.      สำรวจ และจัดทำข้อมูลครัวเรือนยากจนเป้าหมาย
2.      จัดทำสมุดบันทึกการแก้ไขปัญหาความยากจนรายครัวเรือน (family folder)
3.      สำรวจความต้องการอาชีพทางเลือกเพื่อ ยกระดับรายได้
4.      ส่งเสริมอาชีพให้เป็นไปตามความต้องการและศักยภาพของครัวเรือนเป้าหมาย
5.      ติดตามดูแลความก้าวหน้าการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือนยากจน
6.      อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ขั้นที่ซักถามข้อมูลและชวนคุยชวนเล่า
สนทนาพูด คุย สร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและสอบถามการดำเนินกิจกรรมตามแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงของครัวเรือน ได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง ทราบหรือไม่ว่าวิธีการดำเนินกิจกรรมตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน เพื่อการพิจารณาคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมาย โดยยึดหลักทางสายกลาง  เพื่อเป็นสิ่งนำทางไปสู่ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ที่ก้าวหน้าอย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน บนพื้นฐานความพอเพียงเป็นกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนในการพัฒนาตนเองนั้น มีเงื่อนไขคืออะไร ตั้งคำถามให้ครัวเรือนเป้าหมายตอบเพื่อจะได้ทราบว่าครัวเรือนเป้าหมายเข้าใจ หรือ มีความรู้ ที่ถูกต้องหรือไม่ ต้องส่งเสริม สร้างการเรียนรู้ด้านใดบ้าง

ขั้นที่จัดเก็บและบันทึกข้อมูลตามที่มีการสนทนาระหว่างผู้ร่วมเวทีถอดบทเรียน กับทีมเจ้าหน้าที่
สร้างความเข้าใจแนวความคิด โดยการจัดเวทีการเรียนรู้ โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนว
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ ทุกปี ที่มีครัวเรือนเป้าหมาย

การดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ครัวเรือนเป้าหมาย ได้ แสดงความคิดเห็น ตลอดจนความต้องการของชาวบ้านโดยการพูดในการนำเสนอ พร้อมจดบันทึกแนวความคิดของชาวบ้านแต่ละคนที่เสนอแนวความคิด

ขั้นที่สะท้อนข้อมูลที่จัดเก็บสู่ครัวเรือนเป้าหมายและสมาชิกในครัวเรือน
             (1)  ความพอประมาณ  ได้แก่  พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย   มีการลดรายจ่ายในครัวเรือน (ปลูกผัก / เลี้ยงปลา /เลี้ยงไก่ไข่ / เลี้ยงเป็ดไข่ / เลี้ยงกบ / อื่น ๆ)  และพึ่งพาเทคโนโลยีที่มีในบ้านเป็นหลัก 
             (2)  ความมีเหตุมีผล  ได้แก่  มีการวางแผนการผลิต (เลี้ยงปลา กุ้ง และอื่น ๆ)  ทำพอกินพอใช้   และคิดอย่างมีเหตุมีผล มีการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ
    (3)  มีภูมิคุ้มกัน  ได้แก่  ดำเนินชีวิตตามฐานะ  มีอาหารการกินทุกวัน  มีเงินทุนเก็บออมและหมุนเวียน  ไม่เลือกหรือเกี่ยงงาน  ใช้วิชาการหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับตนเองในการประกอบอาชีพ  และมีความใกล้ชิดกันในครอบครัวและชุมชน                                               
             (4)  มีความรู้  ได้แก่  พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เข้ารับการอบรม สัมมนา ประชุมเวทีประชาคม เพื่อแลกเปลี่ยนการเรียนรู้  และ   มีความสุขจากการทำงาน                                               
(5)    มีคุณธรรม  ได้แก่  มีความสุขจากงานที่ทำ ดำรงชีวิตตามฐานะ การเข้าร่วมกิจกรรมของหมู่บ้าน
ซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ที่หมู่บ้านกำหนดขึ้น และอยู่กันอย่างมีความสุข (ช่วยเหลือกัน/มีเพื่อน/
มีกิจกรรมทำร่วมกัน/อื่น ๆ)

ขั้นที่สรุปบทเรียน 
สรุปบทเรียนจากการจัดเวทีถอดบทเรียนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   และโครงการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ ทุกปี ที่มีครัวเรือนเป้าหมาย
เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายและสมาชิกในครัวเรือน ได้ทราบ และทำความเข้าใจแนวความคิดอย่างง่ายๆ
1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวรั้วกินได้ปลูกไม้ผลไว้ พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือนเหลือจึงขายไป
2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น รักษาสุขภาพ    เมื่อสุขภาพดี          (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) 3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่อยากได้ อยากมีเหมือนคนอื่น เพราะจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด


ขั้นที่งานที่จะดำเนินการต่อไป
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เพื่อจัดทำเป็นเอกสาร เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ การดำเนินกิจการ
ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ชี้แจงให้ชาวบ้านได้ทราบกิจกรรมที่ได้ดำเนินการครั้งนี้ เป็นการถอดบทเรียน
การดำเนินกิจกรรมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ ทุกปี ที่มีครัวเรือนเป้าหมาย จะได้ดำเนินการตรงเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร การดำเนินการขั้นตอนต่อไปจะเป็นการจัดทำเอกสาร เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้หมู่บ้านอื่นๆ ได้ศึกษา ทำความเข้าใจ เกิดการเรียนรู้ในการดำเนินกิจกรรม โดยผ่านเอกสารที่จะได้จัดทำต่อไป

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการคัดเลือกแกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

ชื่อ-นามสกุล    นางศุภรา   มโนอิ่ม
ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปะกง

เนื้อเรื่อง        
บ้านสกัด 40 หมู่ที่ 17  ตำบลบางปะกง เดิมที่การพัฒนาหมู่บ้านไม่ค่อยจะมีแกนนำหมู่บ้านที่จะให้ความร่วมมือพัฒนา  หมู่บ้านสักเท่าไหร่ ทำให้หมู่บ้านไม่ค่อยมีการพัฒนาและเป็นที่รู้จัก เมื่อจะมีโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงจึงจำเป็นการคัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้องคัดเลือกหมู่บ้านที่มีความพร้อมทั้งสภาพแวดล้อมวิถี บริบทหมู่บ้าน การดำรงชีวิตของหมู่บ้าน แกนนำหมู่บ้าน ที่จะพัฒนาด่อยอดจากเดิมซึ่งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงจะสมบรูณ์และมั่นคงยั่งยืนหลังจากที่หน่วยงานภาครัฐให้การนับสนุนได้หมดระยะเวลาให้การสนับสนุนงบประมาณ กล่าวคือเมื่อไม่มีงบประมาณจากที่ไหน สนับสนุนแล้ว หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงยังดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงต่อเนื่องไปได้อีกแบบถาวร ผลการดำเนินงาน หมู่บ้านสกัด 40 ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบและเป็นหมู่บ้านประกวด kpi ปี 2557

ขุมความรู้       
แกนนำหมู่บ้านที่มีคุณภาพต้องมีคุณสมบัติ
  1. มีความเสียสละ
  2. มีจิตสำนึกในการทำงานเพื่อส่วนร่วม
  3. มีภาะผู้นำ
แก่นความรู้     
  1. การเลือกแกนนำหมู่บ้านต้องใช้เวลาศึกษาทำความรู้จักสร้างความคุ้นเคย
  2. แกนนำต้องมึความเข้าใจกันกับเจ้าหน้าที่
  3. แกนนำต้องมีความรัก เจตนาให้หมู่บ้านเจริญก้าวหน้าต่อไป
  4. เจ้าหน้าที่ต้องมีเวลาเข้าไปกระตุ้นแกนนำบ่อยๆ
  5. ต้องใช้หลักเข้าใจ เข้าถึง แกนนำ

การประเมินความสุขมวลรวมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

เจ้าของความรู้  นางสาวนิธิวดี  วีระศิลป์
ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ  
สังกัด  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปะกง

เรื่องเล่า             
กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการส่งเสริมการดําเนินชีวิต ทั้งในระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับหมู่บ้าน ให้หมู่บ้านและชุมชนสามารถบริหารจัดการตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นพัฒนากรใหม่ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปะกง และได้รับผิดชอบงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ข้าพเจ้าต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อจะได้ลงพื้นที่และไปให้ความรู้กับครอบครัวพัฒนาในตำบลที่รับผิดชอบ 

หลังจากข้าพเจ้าได้ทำงานนี้ก็ได้เรียนรู้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง เข้าใจง่ายๆก็ เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตนเองได้ ปฏิบัติตนให้มีความพอเพียงกับตัวเอง อยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อนใคร สามารถพึ่งตนเองได้ ก่อนการพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนากรจะต้องทำการวิเคราะห์ หรือ ประเมินหมู่บ้านโดยใช้ด้วยเกณฑ์ประเมิน ๖ ด้าน ๑๒ ตัวชี้วัด ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของกระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน  23 ตัวชี้วัด ดัชนีชี้วัดความ อยู่เย็น เป็นสุข หรือ ความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (GrossVillage Happiness : GVH )     6 องค์ประกอบ 22 ตัวชี้วัด เป็นเครื่องมือในการพัฒนาขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
 โดยมีวิธีการคือ
  1. เตรียมการประชุม พัฒนากรผู้รับผิดชอบประจำตำบลต้องประสานกับผู้นำชุมชนเพื่อประสานกลุ่มเป้าหมายมาเป็นตัวแทนของหมู่บ้านในการประเมินความสุขมวลรวม
  2. ก่อนการประเมินความสุขมวลรวม พัฒนากรต้อสร้างความเข้าใจ และชี้แจงวัตถุประสงค์ประสงค์ของการประเมินให้กลุ่มเป้าหมายทราบก่อน และใช้การประเมินแบบมีส่วนร่วม
  3. เจ้าหน้าที่ประเมินแต่ละตัวชี้วัด ทั้งหมด ๒๒ ตัวชี้วัด อธิบายความหมายตัวชี้วัดรายข้อและสร้างความเข้าใจกับผู้ประเมิน หากผู้เข้าประเมินมีข้อสงสัยความหมายตัวชี้วัดให้สอบถามและทำความเข้าใจทันที  เมื่อทำความเข้าใจได้ข้อสรุปแล้ว จึงยกมือขึ้นเหนือศีรษะตามความพึงพอใจในตัวชี้วัด  หากไม่พึงพอใจก็ไม่ต้องยกมือ วิทยากรผู้ช่วยนับจำนวนมือที่ยกให้เป็นค่าคะแนนพร้อมเขียนจำนวนตามระดับความสุข  จนครบ
  4. นำผลการประเมินหาค่าเฉลี่ยระดับคะแนนแต่ละองค์ประกอบ
  5. นำค่าคะแนนเฉลี่ยแต่ละองค์ประกอบ จุดบนแผนผังใยแมงมุม และลากเส้นเชื่อม วิทยากรอธิบายความหมาย  ความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน ให้ผู้เข้าประเมินทราบ
 ขุมความรู้
  1. ก่อนการประเมินความสุขมวลรวมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนากรต้องศึกษา และทำความเข้าใจ วิธีการ ความหมายของแต่ละตัวชี้วัดให้เข้าใจก่อนการประเมิน เพือ่ให้มีความเข้าใจตรงกันระหว่างพัฒนากรและกลุ่มเป้าหมาย
  2. พัฒนากรเป็นผู้เอื้ออำนวยการประชุม และดำเนินการตามขั้นตอน
 แก่นความรู้
  1. ความสุขมวลรวมของชุมชนเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อมของชุมชนนั้นๆ
  2. การมีส่วนร่วมของชุมชน มีผลต่อคะแนนความสุขมวลรวมที่วัดได้  

เทคนิคการประชาสัมพันธ์งานพัฒนาชุมชน

ความรู้เรื่อง  เทคนิคการประชาสัมพันธ์งานพัฒนาชุมชน
เจ้าของความรู้   นางนงลักษณ์  รักราวี
ตำแหน่ง    พัฒนาการอำเภอบางปะกง
สังกัด    สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปะกง
เรื่องเล่า
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอถือเป็นหน่วยงานในส่วนภูมิภาคระดับอำเภอและพัฒนาการอำเภอมีหน้าที่ในการกำกับ ดูแลงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดบทบาทประการหนึ่งของพัฒนาการอำเภอ คือ การเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้ได้รับการยอมรับจากผู้บังคับบัญชา หน่วยงานข้างเคียงและกลุ่ม ผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและชุมชน 

ปัญหาที่พบในการดำรงตำแหน่งพัฒนาการอำเภอ คือ สภาพพื้นที่ของชุมชนส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรม สำนักงานมีความคับแคบ มีการเปลี่ยนแปลงอัตรากำลังและเปลี่ยนพื้นที่ปฏิบัติงานบ่อย เจ้าหน้าที่ขาดการติดตามงานในพื้นที่ ทำให้ผู้บริหารท้องที่และท้องถิ่นส่วนหนึ่งไม่รู้จักเจ้าหน้าที่และเกิดปัญหาในงานที่รับผิดชอบเมื่อข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งพัฒนาการอำเภอจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ส่วนตัวว่า สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปะกงต้องมีศักดิ์ศรีและได้รับการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานข้างเคียงและประชาชน
บันทึกขุมความรู้
  1. ต้องวิเคราะห์สภาพพื้นที่และงานที่มีอยู่เดิมว่าเป็นอย่างไร
  2. จัดลำดับความสำคัญของงานและพื้นที่เป้าหมายงานพัฒนาชุมชนโดยยึดหลักพัฒนากรต้องออกพื้นที่ อาทิตย์ละ 3 วัน ยกเว้นวันจันทร์และวันศุกร์
  3. ใช้เทคนิคการสอนงาน การบริหารบุคคล ตั้งแต่ให้ศึกษาเอกสารขั้นตอนการทำงานของกรมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ทำให้ดู ให้ทำเอง และให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน
  4. การร่วมติดตามและแก้ปัญหาในระดับพื้นที่ๆเกินความสามารถของเจ้าหน้าที่รวมถึงการพบปะกับผู้นำท้องที่และท้องถิ่นด้วยตนเอง
  5. การนำกิจกรรมและเนื้องานเข้าที่ประชุมประจำเดือนของหัวหน้าส่วนราชการและกำนันผู้ใหญ่บ้านทุกเดือน
แก่นความรู้
  1. การอ่านเอกสารขั้นตอนการดำเนินงานเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่บรรลุเป้าหมาย
  2. การออกพื้นที่ เยี่ยมเยียนพบปะผู้บริหารท้องถิ่น ผู้บริหารท้องที่ กลุ่ม ผู้นำชุมชน องค์กรและชุมชนและชุมชนด้วยตนเองมีผลดีมากกว่าการโทรศัพท์ติดตามงาน
  3. กระบวนการพัฒนาชุมชนเป็นหลักการสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาชุมชนในระดับพื้นที่

การบริหารจัดเก็บข้อมูล จปฐ.

ความรู้เรื่อง  การบริหารจัดเก็บข้อมูล จปฐ.
เจ้าของความรู้   นางสาวขวัญดาว เล้าสุขสุวรรณ์
ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ  
สังกัด  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปะกง
บันทึกเมื่อ  วันที่  25  พฤษภาคม  2558
เรื่องเล่า
การจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)เป็นงานนโยบายกระทรวงมหาดไทยที่มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนรับผิดชอบดำเนินการจัดเก็บข้อมูลเป็นประจำทุกปี ซึ่งการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.จะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับจังหวัดระดับอำเภอและระดับตำบลเป็นทีมงานขับเคลื่อนการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลเป็นภาพรวมที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนในแต่ละปี

ในแต่ละปีเน้นการจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด ในส่วนของการบริหารจัดเก็บข้อมูล จปฐ โดยมีกระบวนการขั้นตอนตั้งแต่การชี้แจงการจัดเก็บแก่อาสาสมัครจัดเก็บ การบันทึกประมวลผล การตรวจสอบและรับรองข้อมูลจากเวทีประชาคม ในแต่ละปีจะประสบปัญหาที่แตกต่างกันไป เช่น จำนวนประชากรที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เนื่องจากอำเภอบางปะกง อยู่ในเขตอุตสาหกรรม ปีประชากรแฝงจำนวนมาก ข้าพเจ้าจึงได้มีการวางแผนเพื่อจะให้ได้จำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด และข้อมูลที่จัดเก็บนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

บันทึกขุมความรู้
การดำเนินงานระดับอำเภอ
  • ประสานผู้นำท้องที่สำรวจครัวเรือนที่อยู่จริงในพื้นที่ ที่เกิน 6 เดือน เพื่อแจ้งเป้าหมายการจัดเก็บ จปฐ. ให้จังหวัดทราบ
  • การวางแผนการปฏิบัติงานและการประชุม
  • ทำหนังสือแจ้งหน่วยงานภาคีพัฒนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้รับทราบกำหนดระยะเวลา และการสนับสนุนงบประมาณการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. 
  • แต่งตั้งคณะทำงานฯและจัดประชุมคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับอำเภอ ระดับตำบล เพื่อสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลฯ
  • ต้องติดตามอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับทราบถึงปัญหาอุปสรรค และช่วยกันแก้ไข
  • สนับสนุนการบันทึกและประมวลผล โดยการจัดประชุมเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลให้คำแนะนำวิธีลงโปรแกรม การบันทึกข้อมูลวิธีการแก้ไขปัญหาโปรแกรมติดขัดหรือมีปัญหาและติดตามบันทึกข้อมูลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องโดยทางโทรศัพท์

การดำเนินงานระดับพื้นที่

  • ประชุมชี้แจงและจัดเก็บ ต้องทำก่อนที่อื่น ซึ่งต้องประสานกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านให้คัดเลือกอาสาสมัคร ซึ่งเราจะเน้นอาสาพัฒนาชุมชน และผู้ที่มีจิตอาสาจริงๆ มีความเสียสละและอดทน


แก่นความรู้ (เทคนิคสำคัญของความสำเร็จ)
  • ต้องศึกษากระบวนการบริหารจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ให้เข้าใจลึกซึ้งถึงบทบาทหน้าที่ กระบวนการดำเนินงาน การบูรณาการแต่ละหน่วยงาน
  • ต้องลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ใกล้ชิด เพื่อจะได้ทราบว่าทางผู้จัดเก็บหรือผู้บันทึกข้อมูลพบปัญหาอะไรบ้าง เพื่อการดำเนินงานจะได้รวดเร็ว แก้ไขปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที