วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการเตรียมตัวเป็นวิทยากรที่ดี



เจ้าของความรู้  นางกาญจนา  ประสพศิลป์
ตำแหน่ง
  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สังกัด  กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สพจ.ฉะเชิงเทรา
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ  ความพร้อมของการเป็นวิทยากรที่ดี
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
  ปี พ.ศ. 2557

ในการทำหน้าที่ของนักวิชาการพัฒนาชุมชน... หลีกไม่พ้นในการเป็นวิทยากร แต่การเป็นวิทยากรที่ดีคงไม่ง่ายอย่างที่คิดกัน เพราะการทำหน้าที่วิทยากรมีความจำเป็นต้องอาศัยการพูดหรือการสื่อสารเป็นอย่างมาก  และในการจะเป็นวิทยากรอย่างมั่นใจนั้น จำเป็นต้องเตรียมตัวมาอย่างดี หลายครั้งที่การทำหน้าที่เป็นวิทยากร จะมีความรู้สึกเครียดและวิตกกังวลกับการทำหน้าที่ เป็นเพราะการเตรียมตัวมายังไม่ดีพอนั่นเอง หากเรามีการ เตรียมตัวมาอย่างดี ดังคำที่ว่า “เตรียมให้พร้อม ซักซ้อมให้ดี ท่าที่ให้สง่า” ก็จะทำให้เรามั่นใจและมีความสุขกับการทำหน้าที่วิทยากร ในทุกๆครั้ง

ดังนั้น การเป็นวิทยากรที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น... จำเป็นจะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ เทคนิคต่างๆในหลายๆด้าน ซึ่งจะได้นำเสนอไว้ในที่นี้ค่ะ

  1. ศึกษาข้อมูลโครงการให้เข้าใจอย่างชัดเจนว่า โครงการมีวัตถุประสงค์อย่างไร กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร จำนวนเท่าไร วิชาที่เราเป็นวิทยากรคือวิชาอะไร ขอบเขตแค่ไหน 
  2. ศึกษาข้อมูลของโครงการและเนื้อหาวิชาที่ต้องเป็นวิทยากรจากเอกสารนั้น ประเด็นที่สงสัย ไม่ชัดเจน ต้องการรู้ข้อมูลเพิ่มเติมให้จดบันทึกไว้ เพื่อนำไปหาข้อมูลต่อไป 
  3. กำหนดวัตถุประสงค์ในหัวข้อวิชาที่เราเป็นวิทยากรให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อนำมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ เหมาะสมกับเวลาและกลุ่มเป้าหมาย เป็นลักษณะของแผนการเรียนรู้หรือแผนการสอน 
  4. ศึกษา ค้นคว้า ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาที่เป็นความรู้ทางวิชาการตามแผนการสอน จากเอกสาร ตำราต่างๆ หรือที่สะดวกมากๆคือ ใน google  you tube ฯลฯ เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว ก็นำมาจัดระบบเรียบเรียงให้มีความสมบูรณ์ จัดทำเป็นเอกสารประกอบการฝึกอบรม 
  5. จัดทำ POWER POINT เพื่อเป็นเครื่องมือในการบรรยาย และที่สำคัญ POWER  POINT จะต้องเหมาะสม สีสันสบายตา ตัวหนังสือมองเห็นได้ชัดเจน น่าสนใจ 
  6. จัดเตรียมสื่อ/วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการฝึกอบรม โดยดูจากแผนการสอนในแต่ละขั้นตอนว่าต้องใช้อะไรบ้าง เช่น คลิปวีดีโอ ภาพต่างๆ ปากกาเคมี กระดาษกาวย่น บางอย่างก็ต้องทำขึ้นมา เช่น ใบงาน สลากแบ่งกลุ่ม Note book จอ LCD บอร์ด 
  7. การเตรียมตัวของวิทยากรเอง เรื่องเสื้อผ้า หน้าผม รองเท้า เครื่องประดับ ให้ดูดี มีสง่า เหมาะสมกับสถานที่ๆจะเป็นวิทยากร

เพียงเท่านี้เราก็จะเป็นวิทยากรได้อย่างมั่นใจและมีความสุขในการทำหน้าที่ได้ภาคภูมิใจ และสร้างความประทับใจแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ขุมความรู้


  1. ศึกษารายละเอียดโครงการ กลุ่มเป้าหมาย ขอบเขตเนื้อหาและประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 
  2. ออกแบบกระบวนการเรียนรู้และจัดทำเป็นแผนการสอน
  3. ค้นคว้าเนื้อหาที่ทางวิชาการ จัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรม
  4. ทำPOWER  POINT ประกอบการบรรยายและเตรียมสื่อ/อุปกรณ์
  5. เตรียมตัวสำหรับเป็นวิทยากร

แก่นความรู้

  1. ศึกษารายละเอียดโครงการ กำหนดขอบเขตเนื้อหา ออกแบบกระบวนการถ่ายทอดความรู้
  2. ทำ POWER  POINT ประกอบการบรรยายตามแผนการสอน และเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ 
  3.  เตรียมตัวสำหรับเป็นวิทยากร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น