วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การตรวจสุขภาพกองทุน กข.คจ.

ชื่อ-นามสกุล  นางกรรณิการ์  ระบือนาม
ตำแหน่ง           นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด               สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา


          ความยากจนของประชาชนชาวชนบทเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกรัฐบาลมุ่งแก้ไขให้หมดไป  โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ พ.ศ. 2536 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการ กข.คจ. หมู่บ้านและกรมการพัฒนาชุมชน  เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 งบประมาณหมวดเงินอุดหนุนที่จัดตั้งเป็นเงินทุนเพื่อใช้ในการดำเนินการ  กรมการพัฒนาชุมชนรับผิดชอบในการควบคุมดูแลและตรวจสอบการใช้เงินดังกล่าว ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการตั้งงบประมาณและระเบียบของทางราชการเนื่องจากบางพื้นที่ขาดการติดตาม ส่งเสริม และสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เกิดปัญหาในการบริหารจัดการเงินทุนของคณะกรรมการ กข.คจ.หมู่บ้าน  ขาดการตรวจสอบ และควบคุมการดำเนินงานให้เกิดความโปร่งใส  เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง  ตลอดจนการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกองทุนโครงการ กข.คจ. มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง กรมการพัฒนาชุมชน จึงมีวิธีการกำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพทางการเงินซึ่งจะได้หาทางแก้ไขปรับปรุงและป้องกันด้วยวิธีการวางเป้าหมายในการพัฒนาแก่องค์กรการเงินชุมชนได้อย่างเป็นระบบ  และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การสร้างกลไกธรรมาภิบาลทางการเงินจึงมีความสำคัญ เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกองทุนโครงการ กข.คจ.มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง กรมการพัฒนาชุมชน จึงมีวิธีการกำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพทางการเงิน 

ขั้นเตรียมการ
1.  แต่งตั้งทีมตรวจสุขภาพทางการเงิน/คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกกองทุนโครงการ กข.คจ.ที่มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลดีเด่น และการพิจารณาคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย
- ประชุมสร้างความเข้าใจการตรวจสุขภาพทางการเงินกองทุนโครงการ กข.คจ. แก่ทีมตรวจสุขภาพทางการเงิน
- จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสุขภาพทางการเงินกองทุนโครงการ กข.คจ. โดยให้กำหนดแผนการตรวจสุขภาพ ดังนี้
รอบที่ 1 กำหนดการตรวจสุขทางการเงิน ระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม ๒๕๕๗
รอบที่ 2 กำหนดการตรวจสุขภาพทางการเงิน ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๗
2.  การดำเนินการตรวจสุขภาพทางการเงิน
2.1 ทีมผู้ตรวจสุขภาพทางการเงิน ชี้แจง สร้างความเข้าใจแก่คณะกรรมการกองทุนโครงการ กข.คจ.ที่ได้รับการตรวจสุขภาพทางการเงิน
2.2 ทีมผู้ตรวจสุขภาพทางการเงินกองทุนโครงการ กข.คจ.ระดับอำเภอ  ดำเนินการตรวจสุขภาพทางการเงินกองทุนโครงการ กข.คจ. ตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้
3.  รายงานผลการตรวจสุขภาพทางการเงิน และแนวทางการพัฒนากองทุนโครงการ กข.คจ. ให้จังหวัด ทราบ 2 รอบ ดังนี้
รอบที่ 1 ภายในวันที่ 30 เมษายน   2557
รอบที่ 2 ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2557


บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets) 
1. การมีส่วนร่วม
2. การประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจของโครงการตรวจสุขภาพ
3. ความเข้มแข็งของคณะกรรมการกองทุน กข.คจ.
4. การประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนกับคณะกรรมการโครงการ กข.คจ.

แก่นความรู้ (Core Competency)

  •  การสร้างความเข้าใจเรื่อง กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ การดำเนินงาน
  •  การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการและสมาชิก
  •  เงินอยู่ครบ
  •  มีทะเบียน บัญชีถูกต้อง
  •  มีคณะกรรมการครบถ้วนตามวาระ
  •  สมาชิกพ้นจน
  •  สมาชิกมีอาชีพมั่นคงจากเงินกู้
  •  มีสวัสดิการ
  •  ท้องถิ่นช่วยดูแลสนับสนุน 
  •  มีการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ทุกปี
กลยุทธ์ในการทำงาน
  • การให้ผู้นำมีส่วนร่วมและตระหนักถึงความสำคัญของเงินโครงการ กข.คจ.โดยการประชุมชี้แจงและศึกษาระเบียบฯ 
  • ทีมตรวจสุขภาพฯทำความเข้าใจและร่วมกันวางแนวทางดำเนินงานตรวจสุขภาพ

เทคนิคการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของหน่วยงาน



เจ้าของความรู้ นายสุรเดช  วรรณศิริ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สพจ.ฉะเชิงเทรา
โทรศัพท์ 081-2993477
ปีที่เกิดเหตุการณ์ 2538ปัจจุบัน
สถานที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ความสุขของชีวิต...
คนเรา สุขหรือทุกข์ อยู่ที่เราคิด...
ต่างความคิด ชีวิตต่าง...เปลี่ยนความคิด ชีวิตเปลี่ยน...
จงคิดดี...พูดดี...ทำดี...คบคนดี...ไปสถานที่ที่ดี...
จงเป็นตัวของตัวเอง เราเป็นเรา ไม่ใช่คนอื่น...
คิดตรงกัน เป็นเรื่องดี...
คิดต่างกัน เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้...
ความสุข...ของชีวิต...อยู่ที่...คนดี...ครอบครัวดี...สังคมดี...
เพราะผมคิดอย่างนี้...จึงนำไปสู่ทุกๆ อย่างที่ผมทำ...
รวมทั้งเรื่องการประชาสัมพันธ์ที่จะพูดถึง...

ไม่รู้ว่าบินได้ จนกว่าจะกางปีกบิน...
ผมจบนิติศาสตร์ ไม่เคยทำงานประชาสัมพันธ์...
เมื่อปี 2538 มีอยู่วันหนึ่ง...
เจ้านายที่ ศพช.เขต 2 มอบหมายให้เป็นนักวิชาการเผยแพร่...
ต้องทำหน้าที่...เขียนข่าว...ถ่ายภาพ...ทำวีดิโอ...
เจ้านายถามว่า...ยากไหม...ทำได้ไหม...
ผมตอบว่า...โคตรยากเลย...ไม่เคยเรียนมานี่หว่า...
ข่าวไม่เคยเขียน...กล้องไม่เคยถ่าย...วีดิโอพึ่งเจอที่นี่...
ใครจะทำได้...ผมตอบในใจนะ...แต่ปากบอกว่า...ได้ครับ...

นึกแล้วว่าต้องเจอ...
รับปากแล้วว่าทำได้...ก็ต้องทำ...
ปัญหาแรกเจอเลย...เขียนข่าว...เขียนยังไง...ไม่รู้...
เขียนแล้วส่งใคร...ไม่รู้...
ส่งได้ เขาจะลงให้ไหม...ไม่รู้อีก...
หยิบกล้องถ่ายรูปมาดู...นี่มันสมัยไหนเนี่ย...โคตรโบราณเลย...
เป็นแบบใช้ฟิลม์...ปรับเลนส์ด้วยมือ...ไม่เคยใช้...ใช้ไม่เป็น...
เจ้านายสั่งทำวิดีโอ 1 เรื่อง...โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน...
กล้องวิดีโอไม่เห็นมี...ทำยังไง...เริ่มจากตรงไหน...มืดแปดด้าน...

เออ...ถามคนที่ทำมาก่อนซิ...ไม่เห็นยาก...
ขอโทษ...ไม่มี...เขาลาออกไปแล้ว...
ฝันให้ไกล...ไปให้ถึง...
เขียนข่าว ถ่ายรูป ทำวิดีโอ ยังทำไม่เป็น....
ผมดันทะลึ่ง...คิดต่อไปอีก...
เราจะทำแค่เขียนข่าว ถ่ายภาพ ทำวิดีโอ แค่นี้ไม่พอ...
ถ้าจะรับประกัน...ว่างานเราได้ถูกเผยแพร่...ต้องทำมากกว่านี้...
ต้องออกหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต...
ใบปลิว ป้ายประกาศ เสียงตามสาย หอกระจายข่าว...
การเป็นพิธีกร วิทยากร ก็เป็นสื่อ...
เขาเรียกว่าสื่อบุคคล...ต้องทำด้วย...
ทำมันหลายๆ สื่อ...ต้องได้ออกสักสื่อแหละน่า...

ปลุกยักษ์ใหญ่ ในตัวเอง...
ปัญหา...ความยุ่งยาก...ยังเหมือนเดิม...
ผมทำไม่เป็นสักอย่าง...ทำยังไง...ติดต่อใคร...ไม่รู้เรื่องทั้งนั้น...
วนๆ เวียนๆ คิดหลายตลบ...
ในใจก็คิดว่า...งานของกรมการพัฒนาชุมชน คือ...
การส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน...
งานประชาสัมพันธ์นี่แหละ คือ การทำงานพัฒนาชุมชน...
ต้องทำให้ได้...ทำให้ดี...
แต่จะทำยังไง...คิด...คิด...คิด...

โตแล้ว...เรียนลัด...
ระหว่างที่ผมทำงานไป คลำหาทางออกไป...
ปรึกษาเจ้านายบ้าง เพื่อนร่วมงานบ้าง...
ลองผิด ลองถูกบ้าง...ฝึกอบรมบ้าง...
ผมก็ได้ประสบการณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ...
ผมเริ่มให้ความสนใจและตั้งข้อสังเกตสื่อต่างๆ มากขึ้น...
นสพ.ไทยรัฐ...พาดหัวข่าวเจ๋งมาก...ดึงดูด...ได้อารมณ์...
ภาพข่าวในหน้า นสพ.ผมดูหมด...แอคชั่นแบบไหน....ที่สื่อชอบ...

รายการกบนอกกะลา...คนค้นคน...มีเสน่ห์...มีเอกลักษณ์...คนชอบ...
รายการวิทยุ...วัยรุ่นจัด...ผมไม่ชอบ...คิดว่ามันไม่เหมาะกับผม...
ผมฟังรายการข่าว...วิเคราะห์ข่าว...สารคดี...
ผู้จัดมีเอกลักษณ์...มีเสน่ห์...พูดทั้งชั่วโมง...ไม่เปิดเพลง...ยังมีคนฟัง...

ผ่านป้ายข้างถนน...ผมดู...อันไหนสวย...น่าสนใจ...เพราะอะไร...
เข้าร้านหนังสือ...เล่มไหนน่าดู...น่าอ่าน...เพราะอะไร...
เปิดเว็บไซต์...ออกแบบสวย...เนื้อหาดี...ผมจำไว้...
พิธีกร...วิทยากร...เก่ง...ดัง...ดี...ผมก็จำ...
ผมลองทำตามทุกอย่าง...
ทั้งเขียนข่าว ถ่ายภาพ เขียนบท ทำวิดีโอ จัดรายการวิทยุที่ สวท.ชลบุรี...
ที่ดี ทำแล้วใช้ได้ ทำต่อ...
ที่ไม่ดี...ใช้ไม่ได้...แก้ไขปรับปรุง...ครั้งต่อไป...

จอมกระบี่...ต้องมีวิทยายุทธ์...
ผมศึกษาและฝึกหัดเพิ่มเติมเข้าไปอีก...
ฝึกเขียนข่าว เขียนบทความ ทำแผ่นปลิว แผ่นพับ...
ฝึกเขียนหนังสือ ทำหนังสือ ปีหนึ่งผมทำหนังสือหลายเล่ม...
ฝึกโปรแกรม PhotoShop เพื่อตกแต่งภาพ...
ฝึกอ่านออกเสียง จนสอบผ่าน ได้ใบผู้ประกาศ จากกรมประชาสัมพันธ์...

ฝึกจัดทำรายการ จนได้ใบรับรองผู้จัดรายการ จากกรมประชาสัมพันธ์...
ฝึกโปรแกรมตัดต่อวีดิทัศน์ จนสามารถใช้งานได้อย่างชำนาญ...
ฝึกโปรแกรมบันทึกเสียง เพื่อจัดรายการวิทยุและทำสปอต...
ฝึกโปรแกรมจัดทำเว็บไซต์...
ฝึกพูด ฝึกบรรยาย จนสามารถ เป็นพิธีกรและวิทยากรได้...

และอีกหลายอย่าง ซึ่งมันค่อยๆ สะสมเป็นความรู้ในตัวผม...

ทำดี ต้องมีหลัก...
องค์ความรู้ที่ผมใช้เป็นหลักในการทำประชาสัมพันธ์...
สรุปได้ดังนี้...

หลักการเขียนข่าว....
          1. ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทำไม
          2. เขียนแบบปิระมิดกลับหัว เอาที่สำคัญขึ้นก่อน แล้วค่อยลงรายละเอียด...
          3. ข่าวราชการนำเสนอได้ 2 แบบ ...บุคคลสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญ...

หลักการถ่ายภาพ...
          1. เห็นหน้านายชัดๆ ในอาการที่เรียบร้อย...
          2. ภาพเป็น มีแอ็คชั่น...
          3. เห็นชื่องาน...บรรยากาศของงาน...ถ้าจำเป็นตัดต่อด้วย PhotoShop...

หลักการเขียนบทความ...
          1. สั้น กระชับ เดินเรื่องเร็ว ได้อารมณ์ ขึ้นหัวข้อใหม่บ่อยๆ...
          2. เรียงลำดับ...สถานการณ์...ความยุ่งยาก...ทางออก...สอนใจ...
          3. ใส่ภาพประกอบ...ถ้ามี...

หลักการทำหนังสือ...
          1. ปกสวย สีสดใส ดึงดูด ปกหลังยกประโยคเด็ดในเล่มมาใส่...
          2. เนื้อหาสั้น กระชับ...คำนึงถึงประโยชน์ของคนอ่าน...
          3. สะอาดตา...

หลักการทำป้าย...
          1. สะอาด...สีสวย...สะดุดตา...มีภาพประกอบ...
          2. มีโลโก้กรมฯ จังหวัด...
          3. ถ้าเอาภาพมาจากอินเตอร์เน็ต ต้องไม่มีขนาดเล็กเกินไป...

หลักการจัดรายการวิทยุ/สปอต...
          1. เตรียมเรื่อง...เตรียมเพลง...
          2. พูดชัด ออกจากใจ จริงใจ เหมือนคุยกับคนฟัง...
          3. ถ้าเป็นสปอตต้องโอเวอร์ ดัดเสียงให้น่าฟัง จูงใจ...

หลักการถ่ายทำวิดีโอ/รายการโทรทัศน์...
          1. เตรียมเรื่อง หาข้อมูล ...นัดคน สถานที่ เวลา...
          2. เขียน Script ภาพที่ต้องการ บทที่ต้องพูด...
          3. เลือกเพลงประกอบเหมาะสม...
          4. ตัดต่อสั้น กระชับ เดินเรื่องเร็ว เข้าประเด็น...

หลักการทำเว็บไซต์...
          1. สวย สะอาดตา...
          2. เมนูหาง่าย...
          3. เนื้อหาตรงความต้องการของลูกค้า...ส่วนใหญ่ก็พวกเรากันเอง...

หลักการเป็นพิธีกร...
          1. เขียน Script ลำดับขั้นตอนให้ดี...
          2. คิดก่อนพูด อย่ากลัว อย่ากังวล...
          3. ควบคุมสถานการณ์ให้เป็นไปตามขั้นตอน...
          4. หาคนช่วยประสานงาน...
          5. ฉุกเฉินต้องใช้ไหวพริบ ปฏิภาณ เอาตัวรอด...
          6. หาข้อมูลไว้เผื่อพูด ช่วงรอตามกำหนดการ...

หลักการจัดนิทรรศการ...
          1. สะอาด สวย ดูดี เน้นภาพ...
          2. ตัวหนังสือไม่มาก ตัวใหญ่ อ่านง่าย...


หลักการแถลงข่าว...
          1. จัดสถานที่ โต๊ะแถลงข่าว สวยงาม เหมาะสม...
          2. ชื่องานแถลงข่าว...
          3. เตรียมสินค้าหรือของประกอบฉาก ถ่ายทำข่าว...
          4. เตรียมข้อมูล ข่าวแจก ของชำร่วยนักข่าว...
          5. เตรียมคนแถลงข่าว คนให้สัมภาษณ์...
          6. ทำวีดิทัศน์สรุปผลหรือที่เกี่ยวข้องได้จะดีมาก...

หลักการทำ PowerPoint
          1. พื้นสวย...ภาพสวย...สะอาด...อย่ารก...
          2. ตัวหนังสือใหญ่ อ่านง่าย... 1 หน้า ไม่เกิน 8 บรรทัด...
          3. อย่าทำให้อ่านยาก...สีพื้นกับสีตัวหนังสือต้องตัดกัน...

ตายเสีย...ดีกว่าอยู่อย่างไร้ค่า...
สิ่งหนึ่งที่ผมจะทำ...ทุกครั้งที่มีโอกาส...
ผมจะสอดแทรกชื่อหน่วยงานและชื่อเจ้านายเป็นระยะ...
มีอยู่เรื่องหนึ่ง ที่ผมเห็นว่าเป็นหลักการร่วม...
ไม่ว่าจะทำสื่อประเภทใดก็ตาม...
ต้องใส่ไว้ ทำไว้ พูดถึงไว้...
นั่นคือ...ชื่อหรือโลโก้ของหน่วยงาน...

สี่ตีนยังรู้พลาด...
โอกาสที่ผมจะได้ใช้วิชาความรู้ให้เกิดประโยชน์...จะมีไม่ได้เลย...
ถ้าขาดการสนับสนุนจากบุคคลต่อไปนี้...

          1. เจ้านาย ผู้ว่าราชการจังหวัด พัฒนาการจังหวัด...
             บางครั้งดูเหมือนดุ...แท้จริงแล้วสอน...อยากให้งานดี...
          2. เพื่อนร่วมงาน บางคนถ่ายภาพ บางคนจัดรายการวิทยุ...
             บางคนสนับสนุนด้วยวิธีอื่นๆ ที่พอช่วยได้...
          3. สื่อมวลชน ถ้าไม่มีเขา งานเรา ไม่ถูกเผยแพร่...

ถึงจะได้รับการสนับสนุน...แต่บางครั้งก็พลาด...
อย่างส่งข่าวไป...เขามีเรื่องอื่นสำคัญกว่า...ก็ไม่ลงให้...
เรื่องนี่ผมป้องกันโดย...เผยแพร่สื่อหลายประเภท...
ไม่ลงสื่อนี้...ไม่เป็นไร...ผมมีสื่ออย่างอื่นเผยแพร่แทน...
ไม่ลง นสพ. ผมยังมี วิทยุ โทรทัศน์ นิตยสาร เว็บไซต์...
เป็นพื้นที่ที่ผมใช้ได้ทั้งนั้น...เพราะผมทำเอง...


แตกต่าง แต่ดีกว่า...
ตกลงผมเจอทางออกไหม...เจอครับ...
เขียนข่าวไม่เป็น...ผมเลียนแบบ นสพ.ไทยรัฐ...เรียนรู้การเขียนข่าว...
ถ่ายภาพไม่เป็น...ผมไปฝึกถ่าย...เลียนแบบภาพข่าว นสพ....

ทำวิดีโอไม่เป็น...ผมเลียนแบบรายการโทรทัศน์...เรียนรู้การตัดต่อ...
รายการวิทยุ...ผมทำหนังสือขอจัดรายการ...เลียนแบบรายการที่ชอบ...
สอบผู้ประกาศ...ผมเลียนแบบผู้อ่านข่าวแห่งประเทศไทย...ตอนเช้า...
เขียนบทความ...เขียนหนังสือ...ผมเลียนแบบนักเขียนที่ผมชอบ...

ทุกอย่างที่เขาทำดี...ผมเลียนแบบเขาหมด...
เพิ่มเติม...ผสมผสาน...ด้วยเอกลักษณ์...ความคิดเฉพาะตัว...
เท่านี้ก็เป็นผลงานชิ้นเอกของผมแล้ว...

สุดยอดวิชา...
จากประสบการณ์ บทเรียน ที่ผ่านมา...
ผมสรุปบทเรียนได้ 3 บทเรียน...
ผมยึดถือ...ทำมาโดยตลอด...
ไม่หวง...ถ้าใครจะทำตาม...

          1. เลียนแบบ อันไหนดี อันไหนดัง เลียนแบบเลย...
              ดัดแปลง...ใส่เอกลักษณ์เฉพาะตัวเราเข้าไป..ก็เป็นของเราแล้ว...
          2. เรียนรู้...ตลอดชีวิต อันไหนไม่รู้ ทำให้รู้...อ่านหนังสือ...ฝึกอบรม...
              ถามผู้รู้...อย่าอาย...แม้แต่เด็ก...ถ้าเขารู้...เราต้องถาม...
          3. หลายทางเลือก ทำประชาสัมพันธ์หลายสื่อ...
              อันหนึ่งพลาด... ไปออกอีกอันหนึ่งก็ได้...

สรุปแล้ว เรื่องทำไม่ได้ ทำไม่เป็น หมดไป...
เหลือแต่...ไม่ทำล่ะครับ...อันนี้ ตัวใคร ตัวมัน...

ของดี ที่อยากแนะนำ...
ผมไม่ได้เก่งมาตั้งแต่เกิด...
ต้องศึกษาหาความรู้ สะสมประสบการณ์เรื่อยมา...
จึงอยากแนะนำของดีให้ คนรุ่นหลัง หรือผู้สนใจ...
ได้ลองศึกษา หรือลองทำดู...

คนที่อยากเขียนหนังสือเก่ง...
ผมขอแนะนำหนังสือชื่อ...เขียนเก่ง รวยก่อน เล่ม 1-4...
ของสมคิด ลวางกูร...รับรองดีมาก...

อยากให้ทำ...ทำเนียบสื่อมวลชน/วิทยุชุมชน...
อยากให้สมัคร...ไปจัดรายการวิทยุชุมชน...
คิดว่าน่าจะได้ประโยชน์มาก และได้ประสบการณ์เพิ่มขึ้น...


พบกันที่...จุดสูงสุด...
ปัจจุบันผมเขียนและส่งภาพข่าวให้ นสพ.ท้องถิ่น...ทุกเดือน...
เขียนบทความลงนิตยสาร ที่นี่...8 ริ้วทุกเดือน...
จัดรายการวิทยุ FM 98.75 MHz. ทุกวันอังคาร เวลา 10.00-11.00 น....
จัดรายการวิทยุ FM 101.60 MHz. ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 14.00-15.00 น....
ออกอากาศรายการโทรทัศน์เคเบิ้ลทีวี ในวันและเวลาเดียวกัน...
จัดรายการสารคดีโทรทัศน์เคเบิ้ลทีวีในบางโอกาส...
ทำวิดีโอหรือ PowerPoint นำเสนองานในโอกาสต่างๆ...
จัดทำ ดูแล ปรับปรุงเว็บไซต์ของพัฒนาชุมชนจังหวัด...
ทำหนังสือ ทำป้าย ปีละหลายครั้ง...
เป็นพิธีกร วิทยากรทั้งงานของ พช. และงานอื่นๆ...

ผลลัพธ์แห่งชัยชนะ...
ผมไม่ได้รับงานประชาสัมพันธ์งานเดียว...
งานวิชาการ งานสำนักงาน ผมก็ทำเหมือนคนอื่น...
แต่ด้วยความรู้สึกที่ว่า...วิชาความรู้ของผม...
จะช่วยให้...เกิดคนดี ครอบครัวดี และสังคมดีได้...
ผมจึงมีความสุขกับงานทุกงาน...

และ...นี่คือความสุขของชีวิตผม...
คนทำสื่อ...

การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ



ชื่อเรื่อง       การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
ชื่อองค์ความรู้   แนวทางการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
ชื่อ   นายอดุลย์  ศรีอุดม  ผู้ถอดบทเรียน
ตำแหน่ง      นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
จัดเก็บเมื่อ   วันที่ ๑๕ มิถุนายน  ๒๕๕๗
สถานที่       บ้านเกาะลอย หมู่ที่ ๓ ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

๑. เนื้อเรื่อง
การดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เป็นการพัฒนาชุมชนด้วยการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมสำหรับปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง ระบบการคิดเพื่อเสริมสร้างวิถีชีวิตที่เหมาะสมเป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ในการคัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายและขั้นตอนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านเกาะลอย หมู่ที่ ๓ ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ระดับ พออยู่ พอกินปีงบประมาณ ๒๕๕๗ จากการค้นหาปัญหา อุปสรรค (SWOT) พบจุดเด่น จุดด้อยของชุมชน ยังขาดการเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืน โดยเฉพาะมิติทางสังคม วิธีการแก้ไขปัญหา โดยการน้อมนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประสานบูรณาการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากทุกภาคส่วน โดยใช้หลัก บวรคือ บ้าน วัด โรงเรียน ร่วมกันทำงานแบบบูรณาการ เป็นแนวคิดที่มุ่งพยายามที่จะนำเอา องค์กร และสถาบันหลักในชุมชนท้องถิ่นมาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนา และสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการพัฒนา ติดสินใจ แก้ปัญหาตนเอง และชุมชน กำหนดแผนชุมชนด้วยการร่วมกัน คิด สร้างและบริหารจัดการชุมชนของตนเอง


๒. ขุมความรู้ (Knorledge Assets)
ในการดำเนินงานการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านเกาะลอย มีขั้นตอน ดังนี้
๑. ขั้นตอนการเตรียมตัว
  •  ศึกษารายละเอียดแนวทาง ขั้นตอน กระบวนการ และเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบฯ ให้เข้าใจอย่างชัดเจน
  •  วางแผนกำหนดเส้นทางการขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านฯ ต้นแบบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกรมการพัฒนาชุมชน
  •  เตรียมความพร้อมพื้นที่ดำเนินการ กำหนดกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ คัดเลือกครัวเรือนต้นแบบเข้ารับการพัฒนา จำนวน ๓๐ คน/ครัวเรือน และผู้นำชุมชน ๕ คน การสร้างความเข้าใจ ชี้แจงโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
  •  จัดเตรียมเอกสาร/วัสดุอุปกรณ์ในการจัดการประชุมกลุ่มเป้าหมาย
๒. ขั้นตอนดำเนินการ
  •  จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สภาพปัญหามิติทางสังคมในปัจจุบัน และสรุปแนวทางแก้ไขปัญหามิติทางสังคม เรียนรู้การจัดทำแผนชีวิต ประกอบด้วย ผู้แทนครอบครัวพัฒนาตัวอย่าง ๓๐ คน/ครัวเรือน ผู้นำชุมชน ๕ คน ภาคีการพัฒนาส่วนราชการ (เกษตร กศน. สาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลคลองตะเกรา )
  •  กำหนดกิจกรรมแก้ไขปัญหามิติทางสังคม (ทางออก)
กิจกรรมที่ ๑ ส่งเสริมคุณธรรมทางศาสนา
* ครอบครัวคุณธรรม (พาลูกจูงหลานเข้าวัด) ทำบุญตักบาตร
กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมลด ละ เลิก อบายมุข
* ทำพิธีปฏิญาณตน ลด ละ เลิก อบายมุข
* ผู้ใหญ่บ้าน นำปฏิญาณตน ลด ละ เลิก อบายมุข ทั้งปวง
* ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ลงชื่อในแผ่นผ้า แสดงตนว่าจะลด ละ เลิก อบายมุข

๓. ขั้นติดตามประเมินผล
  •  ติดตามตัวแทนครอบครัวพัฒนา ๓๐ คน
  •  จัดเวทีประชาคมเพื่อติดตามและประเมินผลความสุขมวลรวมของชุมชน/การจัดการความรู้เพื่อติดตามและประเมินผลความสุขมวลรวมของชุมชนและการจัดการความรู้วิธีการปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จ ประเมินผลตัวชี้วัดกระทรวงมหาดไทย ๒๓ ตัวชี้วัด
แก่นความรู้ (Core Competency)
๑. การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่เตรียมความพร้อม วางแผน ดำเนินการ ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
๒. ใช้หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รัฐ องค์กรเครือข่าย และใช้หลัก บวรคือ บ้าน วัด โรงเรียน
๓. ปรับทัศนะ และให้ความรู้ เพื่อเป็นผู้นำในการทำงานพัฒนาหมู่บ้าน
๔. การประชาสัมพันธ์การทำงาน ทั้งก่อน ระหว่างและหลังการทำงาน
กลยุทธ์ในการทำงาน
๑. การชี้แจงทำความเข้าใจสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๒. การประสานงาน สร้างความคุ้นเคย ไว้ใจ ให้เกียรติ
๓. ต้องสร้างครัวเรือนตัวอย่างที่ประกอบอาชีพ และดำรงชีพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๔. ต้องสร้างเป็นศูนย์เรียนรู้ให้บุคคลอื่นเข้ามาศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
๕. ปรับทัศนคติ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยันขันแข็ง
๖. การรายงานผลให้ผู้บังคับบัญชารับทราบเป็นระยะ

สรุปบทเรียน

- ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
๑. การสร้างทีมงานเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จเพราะการทำงานพัฒนาชุมชนเป็นงานที่ใช้หลัก "การมีส่วนร่วม" ในทุกระดับภาคส่วนทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเพื่อให้การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงประสบความสำเร็จและพึ่งตนเองได้
๒. การสร้างศรัทธาการยอมรับ เป็นการสร้างศรัทธาที่ประกอบด้วย การสร้างศรัทธาต่อผู้บังคับบัญชา และการสร้างศรัทธาต่อหัวหน้าส่วนราชการในอำเภอ/ตำบล ตลอดจนการสร้างศรัทธาต่อผู้นำกลุ่มองค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรและประชาชน เพื่อให้เกิดการยอมรับเชื่อมั่นในการทำงานที่มีหลักการปฏิบัติที่ชัดเจน เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือการมุ่งหวังให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้
๓. การประสานงาน เป็นการบูรณาการทำงานร่วมกับผู้นำชุมชน แกนนำกลุ่มองค์กรชุมชนแกนนำกลุ่มองค์กรเครือข่าย ทีมงานภาคีการพัฒนาระดับตำบล/อำเภอ เพื่อค้นหาข้อมูล รวบรวมผลงานของกลุ่มองค์กรต่างๆ จัดทำเอกสารความรู้ในการขยายผลสู่หมู่บ้านอื่น
๔. ใช้หลักการมีส่วนร่วม ของคนในชุมชนและการพึ่งตนเอง ผู้นำจะมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ถึงแม้ว่าบางคน จะเป็นคณะกรรมการหลายกลุ่มก็ตามแต่สามารถปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเองได้เป็นอย่างดีมุ่งเน้นการทำงานสู่เป้าหมาย คือความสำเร็จ และพึ่งตนเองเองได้ ทุกฝ่ายให้ความเอาใจใส่ และรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลังความสามารถ
5. การมีกองทุนชุมชนที่เข้มแข็งสามารถสนับสนุนกิจกรรมชุมชนได้ดี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ กองทุนหมู่บ้าน ก องทุน กข.คจ. กองทุนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  กองทุนแม่ของแผ่นดิน เป็นต้น
- บทเรียนที่ดี
๑. แสวงหางบประมาณจากภายนอกหมู่บ้าน และภายในหมู่บ้านเพื่อการต่อเนื่องของกิจกรรมโครงการในการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
๒. คนในชุมชนร่วมคิด ร่วมรู้ ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์กับหน่วยงานทุกภาคส่วนที่ทำงานในพื้นที่หมู่บ้าน ตำบลอย่างบูรณาการ
๓. ส่งเสริมและยกระดับแหล่งเรียนรู้ จุดเรียนรู้ให้เป็นศูนย์เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม
๔. ขยายผลครัวเรือนต้นแบบให้ครอบคลุมทั่วทุกครัวเรือนในระดับหมู่บ้าน
- ปัญหาอุปสรรค
๑. งบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานไม่เพียงพอโดยเฉพาะกิจกรรมด้านการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สนับสนุนศูนย์เรียนรู้ชุมชน
๒. การสร้างทัศนคติในการพึ่งพาตนเองและบริหารจัดการชีวิต ครอบครัว ชุมชน ภายในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังมีคนที่ยังไม่เข้าใจ มักจะให้หน่วยงานราชการต้องช่วยสนับสนับสนุนอยู่ตลอดเวลา
๓. การปรับเปลี่ยนค่านิยม โดยเฉพาะการจัดงานต้องเลี้ยงเหล้า ต้องค่อยเป็นค่อยไป หากผู้นำชุมชนไม่เริ่มทำเป็นแบบอย่าง ค่านิยมก็จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้
- ข้อสังเกต/ข้อควรคำนึงถึง
๑. การคัดเลือกหมู่บ้านต้องเป็นความสมัครใจของชาวบ้านและผู้นำในหมู่บ้าน
๒. ควรยึดผลประโยชน์ของประชาชนและส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
๓. การกำหนดกิจกรรมอย่าให้มากเกินไป และควรมีงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นความต้องการของชุมชน
๔. อย่าเอาหลักเกณฑ์หรือความคาดหวังจากการดำเนินโครงการให้มากนัก
๕. การดำเนินการต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
๖. ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน และให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง มีการติดตามผลการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
๗. ควรมีใบประกาศเกียรติคุณเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่หมู่บ้านต้นแบบ
- กลเม็ดเคล็ดลับ
๑. ให้ความสำคัญกับแผนชุมชน ในการนำมาพัฒนาชุมชนของตนเอง
๒. สร้างเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน
๓. กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง
๑. เทคนิคการมีส่วนร่วม และการพึ่งตนเอง
๒. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๓. ทำแผนชีวิต
๔. การสร้างภาคีการพัฒนาและเครือข่าย
๕. แนวทางการประเมินความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (Gross Village Happiness: GVH) กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
๖. การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ปี 2557



ชื่อ สกุล        นางสาววรรณวิไล  กวางประชัน

ตำแหน่ง          นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ

สังกัด              สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

เบอร์โทรศัพท์   087-0193497

เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ  พ.ศ 2557


                  การดำเนินงานการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทางในการดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนของประชาชน  ด้วยรูปแบบการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน โดยเน้นการดำเนินงานกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งระดับครอบครัว หน่วยงานภาคีการพัฒนา และชุมชน  ดังนี้

                  ครอบครัว คือเน้นครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 30 คน เป็นเป้าหมายแกนนำการดำรงวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบและขยายผลไปยังครัวเรือนอื่นในชุมชน

                  หน่วยงานภาคีการพัฒนา สนับสนุนกิจกรรมของหมู่บ้าน ในด้านวิชาการ งบประมาณโดยเชื่อมประสานกับประชาชนของทั้งหมู่บ้าน

                  ชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้การดำเนินวิถีตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดให้มีการเรียนรู้ของคนในชุมชนในเรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน  การทำน้ำส้มควันไม้  การทำน้ำยาล้างจาน   การทำดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ การเพาะเห็ด การสืบทอดประเพณีบุญข้าวจี่   การปลูกผักปลอดสารพิษ  การเลี้ยงไก่  การเลี้ยงหมู  เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน 

                  นอกจากนี้การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านยัง  มีองค์ประกอบหลายอย่างตามกระบวนการของกรมการพัฒนาชุมชน  และจากการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาประสบผลสำเร็จ  มาจากแกนนำหมู่บ้าน  ที่เป็นผู้นำทาง และเป็นผู้เชื่อมประสาน ทั้งกับครอบครัว  กลุ่ม  องค์กร ในหมู่บ้าน  และ ภาคีภายนอกหมู่บ้าน เพื่อผนึกกำลังร่วมกันในการพัฒนาหมู่บ้าน   โดยมีกระบวนการทำงาน ดังนี้

       1. ทำความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน

       2. ทบทวนผลการพัฒนาหมู่บ้านในปีที่ผ่านมา

       3.  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตนเองและกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการทบทวนปรับแผนชุมชน  เพื่อช่วยกันคิดวิเคราะห์ค้นหาศักยภาพของตนเอง ค้นหาปัญหาของชุมชนว่ามีสาเหตุมาจากอะไร และจัดทำแผนการแก้ไขปัญหา กำหนดทิศทางแก้ปัญหาด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

       4.  สาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียง อย่างน้อย 1 ประเภท โดยมีมติจากเวทีของผู้เข้าประชุมว่าต้องการอะไร ซึ่งเวทีได้สรุปกิจกรรม สาธิต ได้แก่  การใช้พลังงานทดแทน  โดยการสาธิตการทำเตาก๊าชชีวะมวล

       5. กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการชุมชน และการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และการสร้างความสมานฉันท์สามัคคีของหมู่บ้าน ให้ความรู้เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการสร้างความสมานฉันท์ในหมู่บ้าน

       6. กิจกรรมการจัดการความรู้วิธีการปฏิบัติการพัฒนาหมู่บ้าน  โดยการจัดการความรู้จากแหล่งเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้าน และเตรียมการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

       7 . รับการประเมินและประกวดหมู่บ้านระดับจังหวัด     
    
ขุมความรู้ ( Knowledge Assets )
  •   กำหนดหมู่บ้านเป้าหมาย
  •   วางแผนเตรียมพร้อมใจการทำงาน  สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  •   จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีอยู่ในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในระดับแกนนำชุมชนและประชาชนในหมู่บ้าน ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาหมู่บ้านตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
  •   ประสานหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เข้าร่วมให้ความรู้ในเวทีประชาคม
  •   สนับสนุนงบประมาณในการขับเคลื่อนกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน
  •   มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการประกอบอาชีพ 
  •   ติดตามผลการดำเนินงานทุกระยะ
  •   เผยแพร่ประชาชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนในทุกพื้นที่ได้รับรู้

แก่นความรู้

  •    สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  •    สนับสนุนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม
  •    สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
  •    การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

แนวคิด/ความรู้ที่นำมาใช้

  •  การจัดการความรู้
  •  หลักการพัฒนาชุมชน   
  •  กระบวนการมีส่วนร่วม
  •  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  •  การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้


กลยุทธ์ในการทำงาน

  •   การประสานงาน สร้างความคุ้นเคยไว้ใจกับคนในชุมชน
  •   จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  •   สนับสนุนให้หมู่บ้านดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ทำบัญชีครัวเรือน ปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง ทำน้ำยาล้างจานใช้เอง เพื่อเป็นการลดรายจ่าย
  •  สร้างศูนย์เรียนรู้ให้บุคคลอื่นได้เข้ามาศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน   
  •  ประเมินผลการดำเนินงาน
  •  เผยแพร่ประชาสัมพันธ์

          บ้านทุ่งส่าย  ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข  ระดับจังหวัด ปี 2557  เป็นหมู่บ้านต้นแบบของการพัฒนาชุมชนในอำเภอท่าตะเกียบ โดยได้ขยายผลการดำเนินงานไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งการพัฒนาทึ้งหลายไม่ได้จบเพียงเท่านี้ ยังต้องขับเคลื่อนและขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และการสนับสนุนของหน่วยงานภาคีการพัฒนาเพื่อให้ชุมชนเข็มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน