วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แนวทางการบูรณาการกิจกรรมการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ



ชื่อ-สกุล นายชัยพร เพชรโชคชัย  
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด     สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๙-๗๕๔๗๒๔๑
เนื้อเรื่อง
แนวทางการบูรณาการกิจกรรมการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
เศรษฐกิจพอพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยในการดำรงอยู่และ ปฏิบัติตนตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับประเทศ เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นทางสายกลาง ได้แก่ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และความรู้คู่กับคุณธรรม 
ความพอประมาณ ถ้าตัวเราเองพอใจความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ทำอะไรไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก ตัวเราก็อยู่มีความสุข
ความมีเหตุผล ถ้าเราทำอะไรด้วยเหตุผล ประหยัดแต่ไม่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความอะลุ่มอล่วยกัน ทุกคนจะมีความสุขแต่พอเพียง
ความมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ ที่เกิดจากจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน เช่นการใช้จ่ายอย่างประหยัด จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเองและครอบครัว ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า
ความรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และตนเองต้องมีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี 

แนวทางที่ 1 การดำเนินงานกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
กิจกรรมที่ 1 การลดรายจ่ายของตนเองและครัวเรือน ซึ่งการลดรายจ่ายลงจะทำให้มีเงินเหลือจ่ายมากขึ้น ทำให้ตนเองและครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยต้องดำเนินการดังนี้
1.1 การจัดทำบัญชีครัวเรือน โดยจัดเป็นทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือนเป็นรายวันทุกวัน สรุปเป็นรายเดือนเพื่อทราบรายรับรายจ่ายของครัวเรือน รายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย รายจ่ายที่ไม่จำเป็น และรายจ่ายที่ควรตัดลง
1.2 การประหยัด ต้องใช้จ่ายอย่างประหยัดและอดออม เพื่อเป็นหลักประกันในวันข้างหน้า โดยการออมเงินกับธนาคาร/กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต/กองทุนหมู่บ้าน/สถาบัน การเงินต่างๆ/กลุ่มอาชีพ/กลุ่มฌาปนกิจฯ
1.3 การลด ละ เลิกอบายมุข โดยให้ตนเองและสมาขิกครัวเรือน ไม่เสพสิ่งเสพติด ไม่เล่นการพนัน
1.4 การทำของใช้เอง โดยตนเองและครัวเรือนผลิตของใช้ที่ใช้ในชีวิตประจำวันใช้เอง เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน เช่น การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม การทำปุ๋ยน้ำหมัก/ปุ๋ยชีวภาพ/การปลูกใบหม่อน/เลี้ยงไหม/การทอผ้า/ทอเสื่อ
1.5 การทำสวนครัว โดยใช้พื้นที่ว่างบริเวณบ้าน หรือใช้กระถาง/ภาชนะที่ทิ้งแล้ว หรือปลูกผักแบบแขวน ปลูกผักไว้กินเองในครอบครัว
1.6 การหาเก็บผักข้างทาง/รั้วข้างบ้าน/จากป่า/ท้องไร่ท้องนา/ห้วยหนองคลองบึง
1.7 การเลี้ยงสัตว์ (ไก่,เป็ด/กบ/นกกระทา)และหาสัตว์(หาปลา/ปู/ไข่มดแดง/แมลงที่กินได้ 
แนวทางที่ 2 การเพิ่มรายได้ เป็นการประกอบเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับตนเองครัวเรือน โดยดำเนินการ ดังนี้
2.1 การปลูกพืชสวนครัวและพืชสวน เช่น ปลูกข่า ตะไคร้ ใบมะกูด สะระแหน่ พริก ขิง โหระพา ผักบุ้ง ผักชี,แตงกวา,
ผักคะน้า,มะเขือต่างๆ ถั่วต่างๆ กล้วยต่างๆ (ขายได้ทั้งผลและใบตอง/หัวปลี) ต้นแค (เก็บดอกแค) ต้นชะอม (เก็บยอดชะอม)
2.2 การหาเก็บพืชผักจากธรรมชาติ เช่น เห็ดต่าง ๆ หน่อไม้ ผักหวาน ผักบุ้ง ผักกระเฉด ผักพื้นเมืองต่าง ๆ
2.3 การเลี้ยงสัตว์ เช่นเลี้ยงปลา(ปลาหมอพื้นบ้าน,ปลาดุก,ปลานิล,) กบ นกกระทา เป็ดไก่ สุกร จิ้งหรีด ไส้เดือน หนอนเลี้ยงนก ตุ๊กแก
2.4 การหาจับสัตว์ เช่น หาปลา กบ อึ่งอ่าง ไข่มดแดง แมลงต่าง ๆ
2.5 การเพิ่มมูลค่าผลผลิต เข่น การพับถุงกระดาษขาย การพัฒนารูปแบบบรรจุผลิตภัณฑ์ การแปรรูปอาหาร (ปลาเค็ม,ปลาแดดเดียว,กุ้งเสียบ/มะม่วงกวน,ทะเรียนทอด),ทำน้ำพริกต่างๆ
2.6 การขายเศษของเก่าของใช้แล้ว (ชวดแก้ว พลาสติก กระดาษ ฯลฯ)
2.7 การค้าขาย เช่นค้าขายอาหารโดยซื้อแบรนด์แฟรนไชส์ต่างๆ และขายกาแฟโบราณ
2.8 การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การทอผ้าไหม/การทอเสื่อกก/ผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก (กระเป๋า,รองเท้าฯลฯ)
2.9 การสมัครเข้ารับการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น จากหน่วยงานรัฐ ได้แก่ โรงเรียนสารพัดช่าง หน่วยงานเอกขนได้แก่ มูลนิธิลุงขาวไขอาชีพ,หรือจากเอกชนเปิดสอนตามศูนย์การค้าต่างๆทั้งต่าง จังหวัดและ กทม.
2.10. การรับงานฝีมือจากโรงงานมาทำที่บ้าน (ติดต่อโรงงานโดยตรง)
2.11 การรับจ้างซักผ้ารีดผ้า/เลี้ยงเด็ก/สอนหนังสือ/สอนภาษา
2.12 การสมัครทำงานในโรงงานและหน่วยงานรัฐ ช่วงปิดเทอม (สมัครที่โรงงานโดยตรง) และหน่วยงานรัฐ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (กรมประชาสงเคราะห์เดิม ที่ กทม.) 
แนวทางที่ 3 กิจกรรมการเรียนรู้
3.1 การค้นหาและบันทึกภูมิปัญญาท้องถิ่นของหมู่บ้านเช่นการทอเสื่อ,จักสาน.อื่น ๆเพื่อให้ประชานที่สนใจศึกษาเรียนรู้และรักษาต่อไป
3.2 จัดอบรมให้ความรู้การดำเนินงานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแก่เยาวชน/กลุ่ม ต่าง ๆ ในหมู่บ้าน
แนวทางที่ 4 กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
4.1 จัดกิจกรรมการปลูกต้นไม้ริมถนน/สวนหย่อม/ป่าชุมชนในหมู่บ้าน
4.2 จัดกิจกรรมกลุ่มอนุรักษ์ฯของหมู่บ้าน
4.3 รณรงค์การกจัดขยะทิ้งเป็นที่,จัดที่ทิ้งขยะ/ไม่ทิ้งขยะลงในลำคลอง 
แนวทางที่ 5 กิจกรรมการเอื้ออารีต่อกัน
5.1 จัดตั้งกลุ่มฌาปนกิจเพื่อช่วยเหลือค่าทำศพแก่ครัวเรือน
5.2 จัดตั้งกลุ่มสวัสดิการต่างๆ เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต,กองทุนต่างๆ
5.3 จัดตั้งชมรมต่าง ๆ เช่น ผู้สูงอายุ,เต้นออกกำลังกาย ฯลฯ 
แนวทางที่ 6 แสวงหางบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
6.1 การจัดเวทีประชาคมจัดทำแผนชุมชน เพื่อบรรจุโครงการขอรับการสนับสุนนการ
ดำเนินงานจากหน่วยงานราชการและเอกชน
6.2 ประสานงานโดยตรงกับหน่วยราชการและเอกชน เพื่อขอรับโครงการสนับสนุนการ
ดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
6.3 จัดกิจกรรมหารายได้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานฯ เช่นจัดงานโต๊ะจีน,จัดทำสลาก
รางวัล,ออกงานวัดจัดสอยดาวรางวัล
6.4 ขอรับบริจาคงบประมาณดำเนินงานจากองทุนต่าง ๆ เช่นกองทุนหมู่บ้าน,กองทุน
พัฒนาบทบาทสตรี และจากประชาชนทั่วไป 
แนวทางที่ 7 การรักษามาตรฐานความเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
7.1 การจัดหมู่บ้านให้เป็นศูนย์เรียนรู้ความเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดย
รักษา กิจกรรมหลักไว้/การจัดทำข้อมูลหมู่บ้าน/ข้อมูลกิจกรรมต่าง ๆ และจัดครัวเรือนตัวอย่างตามกิจกรรมของ
เศรษฐกิจพอเพียง
7.2 การประชุมทบทวนความรู้การดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบแก่ครัวเรือ
เป้าหมายและประชาชนในหมู่บ้านเป็นประจำ (2-3 เดือนครั้ง)
7.3 การส่งเสริมให้กรรมการและครัวเรือนเป้าหมายได้เข้ารับการอบรมความรู้จ่าง ๆของ
หน่วยงานราชการ/เอกชน
7.4 การประเมินตามเกณฑ์ตัวชี้วัดกรมการพัฒนาชุมชน(6 × 2)และประเมินความสุข
มวลรวม (Gross Village Happines : GVH) อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง
7.5 จัดทัศนศึกษาดูงานการดำเนินงานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจากที่อื่น เพื่อ
นำมาปรับปรุงใช้ในหมู่บ้านให้ดียิ่งขึ้นเพื่อเป็นแบบอย่างให้หมู่บ้านอื่นและผู้ที่สนใจ
7.6 จัดกิจกรรมประกวดครัวเรือนดีเด่น เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างกำลังใจแก่ครัวเรือน
และประชาชนในหมู่บ้าน
7.7 สมัครเข้าร่วมการประกวดหมู่บ้านดีดเด่นต่าง ๆ ของทุกหน่วยงาน/เอกชน
7.8 การประชาสัมพันธ์การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดยประสานนำเสนอผลการดำเนินงานทางสถานีวิทยุชุมชน,หอกระจายข่าวหมู่บ้าน/ตำบล และเสียงตามสาย อื่น ๆ

          สรุป การดำเนินกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เพื่อช่วยตนเองและครัวเรือนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเป็นหมู่บ้านต้นแบบให้หมู่บ้านอื่นได้นำไปศึกษาเรียนรู้เป็นแบบอย่าง ต้องปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง โดยต้องมีความตั้งใจจริง อดทน การใฝ่หาความรู้จากภายนอกเพื่อนำมาปรับใช้ในครัวเรือน การร่วมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์อย่างต่อเนื่องจะเกิดการพัฒนาตนเอง ครัวเรือน/หมู่บ้าน ให้มีความมั่งคงและยั่งยืนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น