วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ



ชื่อ-นามสกุล  นายวีรพล  โพธิ์ชัย
ตำแหน่ง  พัฒนาการอำเภอคลองเขื่อน
เรื่อง  การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
สถานที่  บ้านหัวลำพู หมู่ที่ 4 ตำบลคลองเขื่อน อำเภอคลองเขื่อน


สภาพเดิม...
บ้านหัวลำพู หมู่ที่ 4 ตำบลคลองเขื่อน อำเภอคลองเขื่อน  เป็นหมู่บ้านชนบท เหมือนกับหมู่บ้านโดยทั่วไป คือ อาชีพหลัก ได้แก่ การทำนา(ปีละ 2 ครั้ง) อาชีพเสริม ได้แก่ การเลี้ยงปลา ปลูกผักสวนครัว จำพวก ข่า ตะไคร้ เวลาที่เหลือ สังสรรค์ กินเหล้า เล่นการพนัน

ปีงบประมาณ 2555...  ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน  ให้ดำเนินงานโครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นเงิน 120,000 บาท
ปีงบประมาณ 2556... ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินโครงการรักษาและพัฒนาคุณภาพความเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเพื่อขยายผล เป็นเงิน 27,500 บาท
ปีงบประมาณ 2557... ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เป็นเงิน 21,300 บาท


ผลจากการดำเนินโครงการ
...ชาวบ้านมีความคิดว่ากิจกรรมสาธิตการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ควรดำเนินการในรูปของทุนของกลุ่ม ในปี 2556  จึงเสนอจัดซื้อปุ๋ยแล้วให้ชาวบ้านยืมไปประกอบอาชีพโดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี แล้วนำเงินที่ได้ไปสมทบกองทุนปุ๋ยของหมู่บ้าน ดำเนินการ 2 ปี มีเงินทุนเข้ากองทุนปุ๋ย จำนวน 18,720 บาท รวมกับเงินกองทุนเดิม ทำให้ปัจจุบันกองทุนปุ๋ยของหมู่บ้านมีเงินทั้งสิ้น 800,000 บาท

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น...

  1. ชาวบ้านให้ความสำคัญกับการประชุม ประชาคมของหมู่บ้านมากขึ้น 
  2. ชาวบ้านให้ความสำคัญกับอาชีพเสริม(ปลูกผัก,เลี้ยงปลา,กบ) โดยมีรถยนต์รับส่งผักไปจำหน่ายที่ตลาดไท และตลาดเนื่องจำนง จังหวัดชลบุรี ทุกวัน ชาวบ้านมีรายได้เสริมวันละ 200 – 300 บาท 
  3. อบายมุขลดลง ชาวบ้านพูดคุยเรื่องการทำมาหากินมากขึ้น 
  4. ชาวบ้านมีทัศนคติที่ดีกับข้าราชการ และมองข้าราชการเป็นที่พึ่ง รับฟังมากขึ้น
ปัญหา
  1. ชาวบ้าน ไม่มีความสามารถในเรื่องการตลาด ขาดความรู้เรื่องตลาด ขาดบุคลากรเดินตลาด 
  2. เงินทุนในการรับซื้อผลผลิตของสมาชิก 
  3. ไม่มีสถานที่รวมผลผลิต
วิธีการแก้ไข
  1. ใช้บ้านประธาน กพสม. เป็นสถานที่รวบรวมผลผลิต 
  2. ระดมเงินทุนรับซื้อผลผลิตของสมาชิก
ข้อเสนอ
  1. ด้านความรู้ในการส่งเสริมชาวบ้านในการจัดทำตลาด 
  2. ต้องการสถานที่รวมผลผลิต 
  3. เงินทุนในการรับซื้อผลผลิตจากสมาชิก
ความคาดหวัง
  1. ชาวบ้านประกอบอาชีพที่หลากหลาย และมีรายได้เพิ่มขึ้น 
  2. ชาวบ้านพึ่งพาตนเอง และมีกิจกรรมพึ่งพาตนเองในหมู่บ้าน เช่น โรงสีข้าว ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น