วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการพัฒนาชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง

ชื่อ          นางชยาภา     วิเลปะนะ

ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ  

โทร         085-1038630

เรื่อง        เทคนิคการพัฒนาชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง

วิธีการดำเนินการ  กระบวนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ 
บ้านอ่างเตย  หมู่  9  ตำบลท่าตะเกียบ  อำเภอท่าตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา
          ปีงบประมาณ  2553  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะเกียบ  ได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบอำเภอละ  1  หมู่บ้าน โดยมีมติที่ประชุมพิจารณาคัดเลือกหมู่บ้าน จากจำนวน  22  หมู่บ้าน  ให้เหลือ  1 หมู่บ้าน  ข้าพเจ้าซึ่งเป็นพัฒนากรประจำตำบล  จึงเรียกประชุมผู้ใหญ่บ้านทั้ง 22  หมู่บ้าน เพื่อพิจารณาคัดเลือก  ผลปรากฏว่าที่ประชุมคัดเหลือกหมู่บ้านอ่างเตย  เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  คัดเลือกโดยมีเหตุผลคือ

  • เป็นหมู่บ้านที่ไม่เคยเข้ารับการประกวด หรือได้รับการคัดเลือกเป็นต้นแบบอื่น ๆ
  • ผู้นำมีความพร้อม  และเสียสละ
  • มีผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) อยู่ในหมู่บ้านนี้
          เมื่อคัดเลือกเรียบร้อยแล้ว  จึงได้ทำกระบวนการดำเนินการประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจ ทุกครัวเรือน ว่าการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบต้องทำอย่างไร  จึงกำหนดเนื้อหาของการประชุมเป็นลักษณะของการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต  และต่อมาก็ได้คัดเลือกครอบครัวพัฒนา  30  ครัวเรือน  ที่จะมาพัฒนาเป็นครัวเรือนต้นแบบ  ซึ่งหมู่บ้านนี้มีจำนวนครัวเรือน  344  ครัวเรือน  ซึ่งการดำเนินการในการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงก็จะมีพัฒนาการเป็นตัวร่วมขับเคลื่อน โดยการเข้าใจ เข้าถึง และสนับสนุนการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  โดยร่วมกันวิเคราะห์ตนเอง วิเคราะห์ชุมชน  เพื่อค้นหาศักยภาพของคนในชุมชน  และมีการประเมินหมู่บ้านตามแบบประเมินของกระทรวงมหาดไทย  4  ด้าน  23  ตัวชี้วัด  เมื่อทำการประเมินแล้วหมู่บ้านอ่างเตยอยู่ในระดับ  อยู่ดี กินดี  และการทำประเมินนี้จึงนำมาเพื่อการแก้ไขและพัฒนาหมู่บ้าน  ขณะนี้มีกลุ่มต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการจัดตั้งมา คือ 
       1) กลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิต  มีสัจจะ 20,000 บาท 50 ราย ปัจจุบันมีสมาชิก 65  ราย เงินสัจจะฯ  70,000  บาท   
       2) กลุ่มปลูกไผ่ตง  สมาชิก  60  ราย  มีเงินกองทุน  500,000  บาท  
       3) กลุ่มทอผ้าไหม  มีสมาชิก  80  ราย   
       4) กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ  มีสมาชิก  20  ราย  
       5) กลุ่มถักไม้กวาดดอกหญ้า มีสมาชิก  15  ราย

           จะเห็นได้ว่า หมู่บ้านนี้มีการรวมกลุ่มส่งเสริมอาชีพด้านต่าง ๆ  โดยการร่วมมือ ร่วมใจ ในการที่จะพัฒนาหมู่บ้าน และหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่มีบุคคลสนใจเข้ามาศึกษาดูงาน และศึกษาภูมิปัญญาการเลื้ยงไหมและการทอผ้าไหม  และหมู่บ้านอ่างเตย  ยังได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  อยู่เย็น  เป็นสุขในระดับจังหวัด  ซึ่งได้รับพระราชทานโล่จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา  ปี พ.ศ. 2553  ซึ่งเป็นรางวัลที่ข้าพเจ้าเป็นพัฒนากรผู้รับผิดชอบหมู่บ้านนี้ ภูมิใจมาก  และจะขาดเสียมิได้คือ  ความร่วมมือ ร่วมใจของผู้นำชุมชน ประชาชน  ในการที่จะพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น