วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การคัดเลือกกิจกรรมเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น

การทำงานตามยุทธศาสตร์และภารกิจในบทบาทพัฒนากรผู้ประสานงานตำบลเขาหินซ้อน เป็นเวลาเกือบ 8 ปี ทำให้ทราบว่าในตำบลมีการดำเนินงานกิจกรรมใดที่มีผลงานดีเด่นสามารถส่งส่งเข้าปะกวดได้ รู้จักคน/กลุ่มองค์กรและผลการทำงานของกลุ่มต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ รู้จักสถานการณ์ รู้จักแกนนำคนสำคัญ ๆ ที่มีส่วนในการผลักดันให้เกิดกิจกรรมของชุมชนที่เด่นชัดประเด็นต่างๆ อย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการทำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินงานของกลุ่มองค์กรค่างๆในหมู่บ้าน ซึ่งมีกิจกรรมโดยชุมชนมาเป็นเวลายาวนาน คิดทำอย่างไรจึงจะเชื่อมโยงงานเหล่านั้นให้เป็นระบบ เพื่อสื่อให้เห็นถึงศักยภาพที่มีอยู่แล้วของคนในพื้นที่ แล้วเกิดเป็นผลงานการบริหารจัดการของ ศอช.ต.

วิธีการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ทักษะและความรู้ที่ใช้ในการทำงาน
๑. ศึกษาข้อมูล/ผลงาน/วิเคราะห์เลือกที่ชุมชน
๒. ศึกษาและหาการเชื่อมต่อของงานในประเด็นการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติเชื่อมต่อกับเกณฑ์ของการประกวดกิจกรรม
๓. ประสานเชื่อมต่องานของ ศอช. ต. กับเงื่อนไขของเกณฑ์การประกวดกิจกรรมโดยสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจร่วมกัน ยอมรับร่วมกันที่จะขับเคลื่อนงานบนฐานของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
เชื่อมสู่วิถีการดำรงชีวิต และเงื่อนไขของเกณฑ์การประกวดกิจกรรม (ใช้ประเด็นทรัพยากร เป็นเครื่องมือการเรียนรู้-นำเสนอ)
๔. เตรียม/ปรับปรุง/นำเสนอ รวบรวม ข้อมูลที่แต่ละคนมีอยู่ เพื่อสรุปเป็นผลงานภาพรวมของ ศอช.ต. โดย ศอช. ต.
นำเสนอผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในรูปแบบของเขาเอง
๕. สนับสนุนช่วยเหลือ ให้แนวคิด ให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นของงาน พช. งานที่เกี่ยวข้อง

บันทึกขุมความรู้
๑. พัฒนากรต้องรู้ เข้าใจในยุทธศาสตร์ตามภารกิจของงาน และทุนที่มีอยู่ในพื้นที่
(ศักยภาพของพื้นที่) การสนับสนุน ศอช. ต ในบทบาทพัฒนากรประจำตำบล ทำการศึกษา แนวทางการทำงาน วิธีการ/ขั้นตอน เป้าหมาย ผลลัพท์สุดท้าย
๒. พัฒนากรต้องทำหน้าที่เอื้ออำนวยการให้การนำเสนอของ ศอช.ต
. เป็นไปอย่างราบรื่น

แก่นความรู้ (นำขุมความรู้มาสกัดเป็นแก่นความรู้)
๑. การเชื่อมโยงภาพรวมของงานในพื้นที่ ประเด็นยุทธศาสตร์ต่างๆ วิเคราะห์หางานที่เด่น ๆ
๒. รู้คน/รู้งาน/รู้สถานการณ์/รู้ข้อจำกัดของตนเอง-คนในพื้นที่
๓. การเติมเต็มในเรื่องของความรู้-ความเชื่อมโยง-คนพื้นที่
สื่อที่ใช้ง่าย ๆ โดยเจ้าหน้าที่ศึกษาแนวทางการบูรณาการงาน วิเคราะห์ถึงกิจกรรมที่จะนำมาเชื่อมโยงตามภารกิจ และปฏิทินงานที่เกิดขึ้นในช่วงของการทำงาน ใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้เป็นประโยชน์ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการเตรียมตัวของเจ้าหน้าที่ (ความพร้อมในการนำเสนอ-เล่นประเด็น)

กลยุทธ์ในการทำงาน (นำแก่นความรู้มากำหนดเป็นกลยุทธ์ในการทำงาน)
๑)
คัดเลือกประเภท กิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ตามทรัพยากรที่มีอยู่ว่าควรจะเลือกประเภทไหน มีปัจจัยเอื้อต่อการขับเคลื่อนให้สำเร็จ เมื่อคัดเลือกแล้ว-สรุปงาน-ส่งผลต่อชุมชนอย่างไร สามารถนำผลที่ได้สร้างการเรียนรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องมองเห็นความสำคัญของ งานพัฒนาชุมชน. ประเภท ศอช.ต. อย่างไร เช่น การจัดระบบฐานข้อมูล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดทำแผน การคัดเลือกกิจกรรมที่เป็นเครื่องมือในการทำงานของ ศอช.ต.

๒) นำเสนอการเชื่อมโยงภารกิจเพื่อให้สอดคล้องกับงานที่สำคัญของแต่ละหมู่บ้าน เป็นประเด็นหลักนำไปสู่งานที่สำคัญ ชัดเจนในภาพรวมของตำบล แนวทางการคัดเลือก/ให้ความสำคัญกับกิจกรรมโดยการคิดเชื่อมโยงเข้ากับกิจกรรมที่เด่น ๆ ในหมู่บ้าน ตำบล ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การทำความเข้าใจร่วมกันกับ ศอช.ต. ถึงปฏิทินการทำงานชุมชนที่เกิดขึ้นแล้วนำมาเชื่อมโยงการขับเคลื่อนได้อย่างไร

๓) การจัดทำแผนปฏิบัติการโดยให้กลุ่มที่มีการดำเนินงานเข้มแข็ง มีกิจกรรมต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมสามารถบอกถึงภารกิจของ ศอช. ต. ได้ชัดเจน แต่ละกลุ่มจัดทำแผนปฏิบัติการ แล้วรวบรวมเป็นแผนปฏิบัติการของ ศอช. ต. (การบริหารจัดการเครือข่าย ) การประชุมชี้แจงให้ ศอช.ต. เข้าใจ วัตถุประสงค์ แนวทางการทำงาน/วิธีการประสานกิจกรรม เชื่อมโยงการทำงานอย่างไรถึงจะมองเห็นภาพผลงานเป็นภารกิจของ ศอช.ต.ในขั้นตอนนี้จะเห็นว่าตัวแทนของกลุ่มกิจกรรมที่จะเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน มาร่วม กิจกรรม (การให้ความรู้ สร้างทางเลือก และให้ชุมชนเลือกอนาคตเอง)

กฎระเบียบระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินงานศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน (ศอช. ) พ.ส. ๒๕๕๑

แนวคิดการออกแบบเชื่อมโยงกิจกรรมให้ครอบคลุมผลการทำงานที่ผ่านมา และต่อยอดเชิด ชูให้กิจกรรมเด่น เป็นอีกรูปแบบ

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง - คนสามารถพัฒนาได้เลือกคนที่ใช่

ผลสำเร็จของ ศอช.ต.เขาหินซ้อน
๑. สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมในประเด็นอื่น ๆ เช่น การจัดนำเสนอกระบวนการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปสู่การนำเสนอประเด็นกระบวนการแผนชุมชน
๒. สามารถนำเสนอความภาคภูมิใจในการสร้างและพัฒนาเครือข่ายให้มีกิจกรรมที่ยั่งยืน เป็นกิจกรรมที่สร้างการเรียนรู้ร่วมกันได้ในภาพรวมของตำบล
๓. สามารถเป็นตัวแทนขององค์กรชุมชนในตำบลเขาหินซ้อน โดยมีกิจกรรมที่เป็นประเด็นหลัก สอดรับกับวิสัยทัศน์การพัฒนาของตำบล สู่วิถีชุมชน
๔. ได้รับการคัดเลือกให้เป็น ศอช. ต. ที่มีผลงานดีเด่นในระดับอำเภอ เพื่อนำเสนอสู่ระดับจังหวัดด้วยกิจกรรมที่สร้างการเรียนรู้ การพึ่งพาตนเอง การมองอนาคตของชุมชน โดยชุมชนและชุมชนได้รับประโยชน์ภายใต้ศักยภาพของชุมชน

ปัจจัยความสำเร็จของศูนย์ประสานงาน ฯ
๑.
การเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความตระหนักถึงความสำคัญและเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต มีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม ต่อเนื่อง ผู้นำ- คนมีศักยภาพ
๒. การประชาคมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและเกิดการยอมรับว่าเป็นประเด็นหลักในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาของคนส่วนใหญ่ พบปะกันอย่างสม่ำเสมอ
๓.
การมีส่วนร่วมของชุมชนโดยไม่ต้องหวังพึ่งงบประมาณ ริเริ่มก่อน จึงได้รับการสนับสนุนภายหลัง (พึ่งตนเองให้ได้ก่อน)
๔. กลุ่ม/เครือข่ายได้รับการอบรม ส่งเสริม และพัฒนา เป็นประจำ มีประสบการณ์
๕.
การส่งเสริมจากหน่วยงาน / ภาคีการพัฒนา และการรวบรวมเป็นภาพใหญ่ของตำบล สร้างการเรียนรู้แก่กลุ่ม/เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
๖.
การให้ขวัญและกำลังใจ ยกย่อง เชิดชูเกียรติ เป็นที่ยอมรับของชุมชน เครือข่ายอื่น ๆ ควรส่งเสริมให้มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของเครือข่าย

ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ศอช.ต. ต่อไป
๑.
การใช้ประเด็นสำคัญของชุมชนเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ สร้างการเชื่อมั่นในศักยภาพของฐานรากในการพัฒนาท้องถิ่น
๒.
ภาคีการพัฒนาควรให้ความสำคัญในประเด็นอื่น ๆ และเป็นการส่งเสริมการสร้างศักยภาพของชุมชนในเชิงระบบ ภาพรวมของการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
๓. ภาคีการพัฒนา ควรสนับสนุนเครื่องมือ/สื่อ/วัสดุ/งบประมาณ ในการสร้างสรรค์ การส่งเสริม การเปิดประเด็นใหม่ ๆ ให้เครือข่ายได้มีกิจกรรมในการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
มีกิจกรรมพัฒนาการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ต่อไป
๔.
การส่งเสริมให้มีการยอมรับ ก้าวไปสู่สถานภาพที่สูงขึ้นต่อไป เช่นการเป็นสภาองค์การชุมชน และใช้เวลาที่ตรงกัน หลีกเลี่ยงเวลาที่มากมายหลายครั้งแก่ชุมชน

นางวิจิตร เรียบร้อย
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอราชสาส์น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น