จากวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตอย่างรุนแรง ธุรกิจจำนวนมากต้องปิดกิจการและเลิกจ้างแรงงาน การใช้จ่ายในประเทศลดลง เกิดปัญหาการว่างงานเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาความยากจน ซึ่งถือว่าเป็นบทเรียนอันแสนสาหัสของยุคเศรษฐกิจฟองสบู่ ที่เติบโตอย่างเปราะบาง ประชาชนทั้งในเมืองและชนบทต่างก็ไม่ได้เตรียมพร้อมรับกับปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ไว้กับพสกนิกรชาวไทยมานานกว่า 25 ปี แต่คนส่วนใหญ่มองข้ามไป เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าว ทุกภาคส่วนจึงได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารประเทศ ซึ่งความหมายของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์
ในส่วนของกรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนพออยู่พอกิน อยู่ดีกินดี และมั่งมีศรีสุข ตามศักยภาพของชุมชนโดยใช้ กลยุทธ์ ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อประกอบอาชีพและดำรงชีวิตใน 3 แผนงานหลัก คือ
1. ส่งเสริมการประกอบอาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ครัวเรือนยากจน
2. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมกลุ่ม องค์กร และเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมในชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในการทำงานเป็นพัฒนากรของข้าพเจ้า ตั้งแต่บรรจุครั้งแรก เมื่อปี 2547 ณ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากท่านพัฒนาการอำเภอให้รับผิดชอบงานเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งแรกที่เริ่มงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงคือ การดำเนินการจัดประชุมสร้างความเข้าใจในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันแก่ชาวบ้านในตำบลบ้านค่าย และตำบลหนองตะพานที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบ รวม 12 หมู่บ้าน ซึ่งข้าพเจ้าตระหนักเสมอว่า การสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน เรื่อง หลักเศรษฐกิจพอเพียง นั้น ตัวเราเองต้องเข้าใจและนำมาใช้กับการดำเนินชีวิตของตนเองด้วย คือ เริ่มจากตัวเอง ต้องรู้จักคำว่า พอเพียง เพียงพอ และพอประมาณ นั่นก็คือ ทางสายกลาง
คำว่า พอเพียง ในความหมายของข้าพเจ้า สั้น ๆ และง่าย ก็คือ พอใจในสิ่งที่เรามีอยู่ เป็นอยู่เพียงพอ ก็คือ เพียงพอกับความอยากได้ อยากมี (โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่ต้องซื้อทุกครั้งที่ถูกใจ ทุกครั้งที่เงินเดือนออก จนเต็มตู้ แต่ซื้อแล้วบางตัวก็ไม่ค่อยได้ใส่) พอประมาณ คือ การใช้จ่ายอย่างพอดี ไม่มากไป ไม่น้อยไปและมีเงินเหลือเก็บ
เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าอยู่บ้านพักที่ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง บริเวณบ้านพักไม่มีที่พอที่จะปลูกต้นไม้ ข้าพเจ้าก็ปลูกพริก โหระพา กระเพรา ในกระถาง ก็ทำให้ประหยัดเงินค่ากับข้าวไปได้บ้าง แถมยังได้กินผักปลอดสารพิษอีกด้วย และที่ข้าพเจ้าภูมิใจ ก็คือ เมื่อคนข้างบ้านเห็นข้าพเจ้าปลูกผักสวนครัวไว้กินเองก็ปลูกตามกันบ้าง และในส่วนของประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบส่วนใหญ่เข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น ประกอบอาชีพโดยสุจริต หนี้สินลดลง
และเมื่อข้าพเจ้าได้ย้ายมาทำงาน ณ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 2 ปี 7 เดือน ก็ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานเศรษฐกิจพอเพียง เช่นเดียวกัน และเมื่อปี 2552 และ ปี 2553 ได้จัดทำโครงการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับอำเภอ ขึ้น โดยให้ผู้นำชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคัดเลือกหมู่บ้านเข้าประกวด ตำบลละ 1 หมู่บ้าน วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความสามัคคี และความร่วมมือของคนในหมู่บ้าน/ตำบล และสนับสนุนให้ประชาชนได้เข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนำมาใช้ในการดำรงชีวิต ซึ่งข้าพเจ้าได้ร่วมเป็นคณะทำงานพิจารณากลั่นกรองผลงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ในตำแหน่งเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการคัดเลือกการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
โดยในการดำเนินงานโครงการดังกล่าวสร้างความประทับใจกับข้าพเจ้ามากที่สุด คือ ได้ไปร่วมคัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของทุกตำบล และได้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านที่เข้าร่วมประกวด ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนา และตามหัวไร่ ปลายนา ก็จะปลูกพืชผักสวนครัวกันทุกครัวเรือน นั้นก็แปลว่าประชาชนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตกันแบบพอเพียง “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” ทำให้ลดรายจ่าย เหลือก็ขาย ทำให้มีเงินเก็บออม สร้างภูมิคุ้มกันแก่ตัวเอง ลดหนี้สิน เมื่อครัวเรือนมีความพอเพียง เพียงพอ และพอประมาณแล้ว ก็ขยายไปยังครัวเรือนใกล้เคียง จนทั่วทั้งหมู่บ้าน และส่งผลให้เกิดความรัก ความสามัคคีกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้หมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
ขุมความรู้
1. เชื่อและศรัทธาในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ชีวิตดี มีความสุข ไม่มีหนี้สิน
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ไว้กับพสกนิกรชาวไทยมานานกว่า 25 ปี แต่คนส่วนใหญ่มองข้ามไป เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าว ทุกภาคส่วนจึงได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารประเทศ ซึ่งความหมายของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์
ในส่วนของกรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนพออยู่พอกิน อยู่ดีกินดี และมั่งมีศรีสุข ตามศักยภาพของชุมชนโดยใช้ กลยุทธ์ ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อประกอบอาชีพและดำรงชีวิตใน 3 แผนงานหลัก คือ
1. ส่งเสริมการประกอบอาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ครัวเรือนยากจน
2. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมกลุ่ม องค์กร และเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมในชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในการทำงานเป็นพัฒนากรของข้าพเจ้า ตั้งแต่บรรจุครั้งแรก เมื่อปี 2547 ณ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากท่านพัฒนาการอำเภอให้รับผิดชอบงานเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งแรกที่เริ่มงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงคือ การดำเนินการจัดประชุมสร้างความเข้าใจในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันแก่ชาวบ้านในตำบลบ้านค่าย และตำบลหนองตะพานที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบ รวม 12 หมู่บ้าน ซึ่งข้าพเจ้าตระหนักเสมอว่า การสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน เรื่อง หลักเศรษฐกิจพอเพียง นั้น ตัวเราเองต้องเข้าใจและนำมาใช้กับการดำเนินชีวิตของตนเองด้วย คือ เริ่มจากตัวเอง ต้องรู้จักคำว่า พอเพียง เพียงพอ และพอประมาณ นั่นก็คือ ทางสายกลาง
คำว่า พอเพียง ในความหมายของข้าพเจ้า สั้น ๆ และง่าย ก็คือ พอใจในสิ่งที่เรามีอยู่ เป็นอยู่เพียงพอ ก็คือ เพียงพอกับความอยากได้ อยากมี (โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่ต้องซื้อทุกครั้งที่ถูกใจ ทุกครั้งที่เงินเดือนออก จนเต็มตู้ แต่ซื้อแล้วบางตัวก็ไม่ค่อยได้ใส่) พอประมาณ คือ การใช้จ่ายอย่างพอดี ไม่มากไป ไม่น้อยไปและมีเงินเหลือเก็บ
เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าอยู่บ้านพักที่ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง บริเวณบ้านพักไม่มีที่พอที่จะปลูกต้นไม้ ข้าพเจ้าก็ปลูกพริก โหระพา กระเพรา ในกระถาง ก็ทำให้ประหยัดเงินค่ากับข้าวไปได้บ้าง แถมยังได้กินผักปลอดสารพิษอีกด้วย และที่ข้าพเจ้าภูมิใจ ก็คือ เมื่อคนข้างบ้านเห็นข้าพเจ้าปลูกผักสวนครัวไว้กินเองก็ปลูกตามกันบ้าง และในส่วนของประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบส่วนใหญ่เข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น ประกอบอาชีพโดยสุจริต หนี้สินลดลง
และเมื่อข้าพเจ้าได้ย้ายมาทำงาน ณ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 2 ปี 7 เดือน ก็ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานเศรษฐกิจพอเพียง เช่นเดียวกัน และเมื่อปี 2552 และ ปี 2553 ได้จัดทำโครงการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับอำเภอ ขึ้น โดยให้ผู้นำชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคัดเลือกหมู่บ้านเข้าประกวด ตำบลละ 1 หมู่บ้าน วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความสามัคคี และความร่วมมือของคนในหมู่บ้าน/ตำบล และสนับสนุนให้ประชาชนได้เข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนำมาใช้ในการดำรงชีวิต ซึ่งข้าพเจ้าได้ร่วมเป็นคณะทำงานพิจารณากลั่นกรองผลงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ในตำแหน่งเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการคัดเลือกการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
โดยในการดำเนินงานโครงการดังกล่าวสร้างความประทับใจกับข้าพเจ้ามากที่สุด คือ ได้ไปร่วมคัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของทุกตำบล และได้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านที่เข้าร่วมประกวด ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนา และตามหัวไร่ ปลายนา ก็จะปลูกพืชผักสวนครัวกันทุกครัวเรือน นั้นก็แปลว่าประชาชนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตกันแบบพอเพียง “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” ทำให้ลดรายจ่าย เหลือก็ขาย ทำให้มีเงินเก็บออม สร้างภูมิคุ้มกันแก่ตัวเอง ลดหนี้สิน เมื่อครัวเรือนมีความพอเพียง เพียงพอ และพอประมาณแล้ว ก็ขยายไปยังครัวเรือนใกล้เคียง จนทั่วทั้งหมู่บ้าน และส่งผลให้เกิดความรัก ความสามัคคีกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้หมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
ขุมความรู้
1. เชื่อและศรัทธาในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ชีวิตดี มีความสุข ไม่มีหนี้สิน
3. การทำงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และหลากหลายตำบลทำให้ทราบถึงวิถีชีวิตที่พอเพียงของประชาชนแต่ละชุมชน
แก่นความรู้
1. พอเพียง : เป็นทางสายกลาง ซึ่งประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
2. เพียงพอ : ลดกิเลสและความต้องการของตนเอง เสมอกับระดับความจำเป็นของตนเอง
3. พอประมาณ : ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
4. เข้าใจ เข้าถึงประชาชน
นางสาวอำพร ไม้แก้ว
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น