วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เขียนข่าวง่ายนิดเดียว

ข่าวสารนับเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง ต่อการบริหารงานประชาสัมพันธ์ การที่จะสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน จำเป็นต้องมีข่าวสารที่ดี ที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม การเลือกข่าวสารสำหรับเผยแพร่ จึงจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังให้องค์กรได้รับประโยชน์จากการเผยแพร่ข่าวสารทุกครั้ง ขณะเดียวกัน สิ่งที่ควบคู่กับข่าวสารก็คือ เครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม ซึ่งต้องมีการเลือกให้ถูกต้องเช่นกัน ข่าวสารที่มีมีคุณค่าต่อสังคม และใช้เทคนิคในการเขียนให้สอดคล้องกับแบบฉบับของสื่อแต่ละประเภท ย่อมจะได้รับการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ข่าว คือการรายงานข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนความคิดเห็นของบุคคลสำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ

ดังนั้นการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์เป็นการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารให้เข้าใจตรงกัน...เพื่อให้ข่าวที่ออกไปสู่สาธารณชนได้ถูกต้องตรงตามจุดประสงค์ของผู้ให้ข่าวหรือแหล่งข่าวนั้นๆ จากที่ได้ทำงานตรงนี้มานานพอสมควร....การเขียนข่าวจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วนหลักๆ คือ

ส่วนที่ 1 กระดาษเขียนข่าว จะมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 ส่วนบนหัวกระดาษจะมีชื่อหน่วยงานควรมีความสูงประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร โดยประมาณ ถ้าเป็นคำย่อควรมีชื่อเต็มของหน่วยงานกำกับด้วย หมายเลขโทรศัพท์ โลโก้หน่วยงานควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 1.2 เซนติเมตรโดยประมาณ

1.2 ส่วนท้ายกระดาษด้านล่าง จะมีการขอบคุณผู้นำข่าวไปเผยแพร่ทางสื่อมวลชนต่างๆ บรรทัดต่อมาจะบอกจำนวนครั้งที่ให้ข่าวประจำเดือนเพื่อสืบค้นข้อมูลของข่าวและต้องลงเลขไว้ที่สมุดข่าวเสมอ และบรรทัดสุดท้ายจะเป็นผู้เขียนข่าว ผู้พิมพ์ ผู้ประสาน เพื่อสะดวกในการติดต่อประสานงาน

ส่วนที่ 2 รายละเอียดของการเขียนข่าว มีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน คือ
2.1 พาดหัวข่าว หรือโปรยหัวข่าวอยู่ที่ความคิดของผู้เขียนข่าวแต่ละคนในการใช้สำนวนการเขียนแบบไหนที่กระชับเข้าใจง่ายชวนให้ติดตามและขึ้นอยู่กับสถานะของผู้เขียนข่าวแจกด้วยเช่น ถ้าผู้เขียนข่าวรับราชการจะเขียนข่าวให้หน่วยงานควรให้ข้อความที่เหมาะสม เป็นต้น

2.2 วรรคนำ หรือการสรุปเรื่องราว ควรมีสาระสำคัญหรือองค์ประกอบ ที่เรียกว่า "5 W 1 H ” ดังต่อไปนี้
- ใคร (
Who) ใครคือบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข่าว
- ทำอะไร (
What) เกิดอะไรขึ้น การกระทำหรือเหตุการณ์ใดที่สำคัญ
- ที่ไหน (
Where) การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นที่ไหน
- เมื่อไร (
When) การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นวัน เวลาใด
- ทำไมและอย่างไร (
Why and How) ทำไมเหตุการณ์นั้นจึงเกิด และเกิดขึ้นได้อย่างไร
- ข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่น ความเป็นมาของ/โครงการ/กิจกรรม พช.

2.3 เนื้อข่าวเป็นรายละเอียดของเหตุการณ์และเรื่องราวซึ่งเป็นตัวขยายความชัดเจนของวรรคนำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์

แก่นความรู้
การเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องยากเพียงนำเรื่องเดิมของโครงการกับหมายกำหนดการของโครงการก็สามารถนำมาเขียนข่าวสำนักงานพัฒนาชุมชนได้แล้ว การเขียนข่าวเป็นเครื่องมือหนึ่งในการประชาสัมพันธ์หน่วยงานการแสดงถึงภาพลักษณ์องค์กรสู่สายตาประชาชนให้รู้จักบทบาทหน้าที่หน่วยงานพัฒนาชุมชนมากขึ้น ดังนั้นการเขียนข่าวเพื่อนงานพัฒนาชุมชนได้/ต้องยึดหลักการทำงานเป็นทีม /เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ/กิจกรรมที่วางแผนไว้/เป็นข่าวเชิงบวก และสร้างสรรค์บนพื้นฐานของความจริงที่เกิดจากกิจกรรมของหน่วยงาน

แนวคิด ทฤษฎีที่นำมาใช้ การทำงานเป็นทีม/การจัดการความรู้/การมีส่วนร่วม/การบริหารจัดการ

ว่าที่ ร.ต.จักพันธ์ คำแท้
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น