วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการจัดเวทีวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ. ตำบลหนองยาว

เนื่องจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกคน ต้องรับผิดชอบงานข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ในตำบลที่รับผิดชอบดำเนินการตามโครงการและกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งข้าพเจ้า รับผิดชอบตำบลหนองยาว ข้อมูล จปฐ. ปี 2554 มีจำนวนครัวเรือน 1,616 ครัวเรือน ในการประมวลผลข้อมูลปรากฏว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้น ยังคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้อง ผู้จัดเก็บและผู้ให้ข้อมูล ยังไม่เข้าใจเช่น ในเรื่องรายได้ของครัวเรือน ซึ่งผู้สำรวจไม่ได้ใส่ข้อมูลจากการสอบถามพบว่าผู้กรอกแบบสำรวจไม่กล้าบอกรายได้เนื่องจากการกลัวเรื่องภาษี จึงต้องให้ผู้สำรวจลงไปสำรวจเรื่องรายได้และอธิบายเหตุผลว่าเป็นการสำรวจถึงคุณภาพชีวิตในเรื่องรายได้ ซึ่งถ้าไม่ใส่จำนวนรายได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ออกมาให้ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ยังไม่ยอมรับในความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว

การจัดเวทีวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ. จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ.ในแต่ละตัวชี้วัด และชี้แจงข้อคำถามให้แก่ อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล จปฐ. , เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลของ อปท. , เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ของแต่ละตำบล ให้มีความเข้าใจ และร่วมแก้ไขปัญหาร่วมกัน

วิธีทำ
1. จัดทำโครงการจัดเวทีวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ.ขึ้นในตำบล โดยขอใช้สถานที่ห้องประชุมของ อบต.หนองยาว อำเภอพนมสารคาม
2. กำหนดบุคคลเป้าหมาย วัน เวลา สถานที่จัดเวที วิเคราะห์ข้อมูล จปฐ.ปี 2554
3. ส่งหนังสือเชิญประชุมตามกำหนด
4. ดำเนินการจัดเวทีวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ. ปี 2554
5. สรุปประเมินผลการจัดเวทีฯ

ขุมความรู้

1. จัดทำโครงการ จัดเวทีวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ.ปี 2554 ขึ้นในแต่ละตำบล
2. กำหนดบุคคลเป้าหมาย วัน เวลา สถานที่จัดเวที วิเคราะห์ข้อมูล จปฐ.ปี 2554
3. ดำเนินการจัดเวทีวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ. ปี 2554
4. สรุปประเมินผลการจัดเวทีฯ

แก่นความรู้เมื่อดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและบันทึกข้อมูล จปฐ. พร้อมมีการประมวลผลข้อมูล จปฐ. เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะได้สรุปข้อมูลที่ตกเกณฑ์ในแต่ละตัวชี้วัด ซึ่งจะต้องนำข้อมูลตกเกณฑ์ในแต่ละตัวชี้วัดนำไปเข้าที่ประชุมภาคีเครือข่ายการพัฒนา ทั้งในระดับอำเภอและระดับตำบล เพื่อจะได้กำหนดแผนดำเนินการพัฒนายกระดับครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ในแต่ละตัวชี้วัด โดยจะมีการมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละตัวชี้วัดที่ตกเกณฑ์ นำไปจัดทำแผนดำเนินการพัฒนายกระดับครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ พร้อมทั้งสนับสนุนด้านวิชาการ งบประมาณและแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ครัวเรือนเป้าหมายต่อไป

กลยุทธิ์ในการทำงาน ในการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ควรจะจัดประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ให้มีความเข้าใจในแต่ละข้อคำถาม วิธีนำเสนอโดยใช้ ข้อมูลจปฐ.ที่จัดเก็บแล้วนำมาวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน และเน้นให้อาสาสมัครจัดเก็บที่เข้ารับการอบรมชี้แจงให้ลงไปสำรวจและเก็บข้อมูล จปฐ.ด้วยตนเอง ห้ามไม่ให้ไปจ้างวานเด็กนักเรียนหรือคนในชุมชนที่ไม่ได้รับการอบรมชี้แจงการจัดเก็บฯไปทำการจัดเก็บ

ผลที่ได้รับ อาสาสมัครจัดเก็บได้รับการอบรมและมีความเข้าใจในแต่ละข้อคำถาม ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ สามารถนำไปกำหนดแผนพัฒนาชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้อย่างแท้จริง

นางพรรณมนต์พร เข็มประดับ
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพนมสารคาม
โทร 089-9310149

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น