วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พัฒนาคน พัฒนาชุมชน เพื่อชีวิตพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ มุ่งให้เกิดความสมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว พอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ ความระมัดระวัง ความซื่อสัตย์สุจริตและดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ มีปัญญาและความรอบคอบ

บ้านบางขวัญ หมู่ที่ 9 ตำบลบางขวัญ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ได้ดำเนินการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่ปี 2551 โดยดำเนินการในลักษณะของการส่งเสริมและสนับสนุนให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้เกณฑ์ชี้วัด 6 ด้าน ประกอบด้วย การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การออม การดำรงชีวิต การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเอื้ออาทร

ในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามโครงการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 81 พรรษา จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกโดยคณะทำงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอเมืองฉะเชิงเทราได้คัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับอำเภอ จำนวน 1 หมู่บ้าน คือหมู่บ้านบางขวัญ หมู่ที่ 9 ตำบลบางขวัญ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้น้อมนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจตามทางสายกลาง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ในการพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ ภายใต้ เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ (รอบรู้รอบคอบระมัดระวัง) เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน) เพื่อนำไปสู่ ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อมสมดุล/มั่นคงและยั่งยืน

ในปัจจุบันการดำเนินงานการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใช้แบบประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงมหาดไทย ปี 2552 นำมาใช้ในการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงโดย มี 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด เพื่อจัดระดับ 3 ระดับ ประกอบด้วย ระดับ พออยู่ พอกิน” “อยู่ดี กินดีและ มั่งมี ศรีสุขประกอบด้วย

1) ด้านจิตใจและสังคม (มี 7 ตัวชี้วัด) ได้แก่
(1) มีความสามัคคีและความร่วมมือของคนในหมู่บ้าน
(2) มีข้อปฏิบัติของหมู่บ้าน
(3) มีกองทุนในรูปแบบสวัสดิการแก่สมาชิก
(4) ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย
(5) มีคุณธรรม/จริยธรรม
(6) คนในหมู่บ้าน/ชุมชน ปลอดอบายมุข
(7) มีความเชื่อมั่นในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2) ด้านเศรษฐกิจ (มี 5 ตัวชี้วัด) ได้แก่
(8) มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน
(9) มีกิจกรรมลดรายจ่ายและสร้างรายได้
(10) มีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพหลักของหมู่บ้าน
(11) มีกิจกรรมการออมที่หลากหลาย
(12) มีการดำเนินงานในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มที่มีการดำเนินงาน

3) ด้านการเรียนรู้ (มี 7 ตัวชี้วัด) ได้แก่
(13) มีข้อมูลของชุมชน
(14) มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลชุมชน และแผนชุมชน
(15) มีการค้นหาและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างคุณค่า
(16) มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน
(17) มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน
(18) มีการสร้างเครือข่ายภาคีการพัฒนา
(19) มีการปฏิบัติตามหลักการพึ่งตนเอง

(4) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มี 4 ตัวชี้วัด) ได้แก่
(20) มีจิตสำนึกของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(21) มีกลุ่มองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
(22) มีการใช้พลังงานทดแทนที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชน
(23) มีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แก่นความรู้
1. แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. การประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามตัวชี้วัด 6x2
3. การประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด กำหนดหมู่บ้านต้นแบบ 3 ระดับ คือ พออยู่ พอกิน” “ อยู่ดี กินดีและ มั่งมี ศรีสุข
4. แผนการแก้ปัญหาของครัวเรือนด้านเศรษฐกิจพอเพียง ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล สร้างภูมิคุ้มกัน ความรู้และการเรียนรู้
5. แผนปฏิบัติการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ตามเกณฑ์การประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงมหาดไทย ปี 2552
6. สามารถพัฒนาหมู่บ้านให้นำไปสู่ชุมชนที่เข้มแข็งประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้
7. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ให้กับประชาชนตามแนวคิด 4 ฐานการเรียนรู้ คือ เรียนรู้ตนเองเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและประโยชน์ที่ได้รับ เรียนรู้สถาบันการเงินและแหล่งทุน และเรียนรู้กระบวนการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน
8. สนับสนุนชุมชนให้มีบทบาทรองรับความอ่อนแอของครอบครัวไทย
9. สนับสนุนและส่งเสริมให้เป็นหมู่บ้านพัฒนาด้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

กลยุทธ์ในการทำงาน
1. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
2. จัดเก็บข้อมูลเอกสารอย่างเป็นระบบและปัจจุบัน
3. ประสานการดำเนินงานการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
4. ติดตาม/ประเมินผล/สรุปผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ

นางวันวิสา ทองหาญ
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น