ผู้นำชาวบ้านเริ่มมองเห็นปัญหาของหมู่บ้าน และคิดหาหนทางแก้ไขปัญหาความยากจน จึงเริ่มประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมให้ชาวบ้านนำแนวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง6x2 เข้ามาใช้ในการแก้ไขปัญหาซึ่งประชาชนในหมู่บ้านได้เข้าร่วมกิจกรรม และดำเนินชีวิตตามแนวคิดนี้ทำให้เกิดผลดีต่อหมู่บ้านหลายประการ เช่น มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตที่ชัดเจนยิ่งขึ้น รากฐานของหมู่บ้านที่ปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดเพื่อพึ่งพาตนเอง
และเริ่มมาจากการลดรายจ่ายในครัวเรือน ส่งเสริมให้ชาวบ้านทำบัญชีครัวเรือน ทำของใช้ในครัวเรือน เช่น น้ำยาล้างจาน การสานกระบุง ตะกร้าใช้เอง และการปลูกผักสวนครัวริมรั้วและพื้นที่บริเวณรอบๆบ้าน ลดรายจ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็น เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด มีระบบเฝ้าระวัง ดูแลคนในชุมชนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด และมีระเบียบกฎเกณฑ์ของหมู่บ้าน มีกิจกรรมและการฝึกอบรมอาชีพและมีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์
การเพิ่มรายได้ มีการวางแผนชีวิต แผนการผลิต เช่น เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง ทำสวนหมาก มะพร้าวและอื่นๆ ชาวบ้านทำกินที่รอบคอบ และคิดอย่างมีเหตุมีผล มีการรวมตัวของคนในชุมชนจัดตั้งกลุ่มต่างๆในหมู่บ้าน และมีการส่งเสริมทำอาชีพเสริมในครัวเรือน
การประหยัด มีการก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์ฯขึ้นมา ครัวเรือนมีการออมเงิน สร้างภูมิคุ้มกันให้กับชาวบ้าน ปัจจุบันกลุ่มออมทรัพย์ฯ มีกิจกรรมรับฝากสัจจะออมทรัพย์ และบริการให้สมาชิกกู้เงินไปประกอบอาชีพ มีสวัสดิการให้กับชาวบ้าน เช่น ฌาปนกิจสงเคราะห์ การจัดสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิก เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้าน
การเรียนรู้ชุมชน มีการสืบทอดและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การทำสวนแบบชีวภาพ มีการทำประชาคมหมู่บ้านสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของคนในหมู่บ้าน และมีการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การได้ความรู้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา จากหน่วยงานราชการต่างๆ ในอำเภอและในจังหวัด และที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามวิทยุ โทรทัศน์ ทำให้คนในหมู่บ้านได้รับทราบ แนวทางการดำเนินชีวิตที่มุ่งเน้นให้คนมีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล .ใช้หลักประชาธิปไตยและปฏิบัติตนตามหลักศาสนาเป็นอย่างดี ครัวเรือนมีการทำบุญใส่บาตรเข้าวัดฟังธรรมเทศนาในวัดสำคัญทางศาสนา เช่น วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา และวันสำคัญทางศาสนาอื่นๆ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ได้แก่ การรณรงค์ ดูแลอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ที่ประชาชน และหน่วยงานราชการต่างๆ ร่วมกันดำเนินงานในเทศกาล หรือวันหยุดทางราชการ เช่น วันที่ 5 ธันวาคม หรือวันที่ 12 สิงหาคม มีการร่วมกันทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อดูแล รักษา สิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน มีการใช้สารอินทรีย์และสารชีวภาพในการทำการเกษตร มีการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัยและระมัดระวัง ส่งเสริมให้มีการกำจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือนให้ถูกวิธี
การเอื้ออาทรต่อกัน ชุมชนมีการดูแล ช่วยเหลือคนจน คนด้อยโอกาส และคนประสบปัญหา เช่น การจัดสวัสดิการช่วยเหลือด้านฌาปนกิจสงเคราะห์แก่สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน , การสนับสนุนกิจกรรมวันเด็ก โดยการนำเงินจากผลกำไรที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมกองทุนหมู่บ้าน และเป็นหมู่บ้านที่มีความสามัคคี มีครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในหมู่บ้านเป็นอย่างดี โดยดูจากจำนวนประชาชนที่เข้าร่วมประชุม การแสดงความคิดเห็น เช่น มีการประชุมเวทีประชาคมของหมู่บ้าน การประชุมเพื่อวางแผนการพัฒนาของหมู่บ้านจะได้รับความร่วมมือที่ดี ให้ความสนใจ และตั้งใจร่วมกิจกรรม
ต่อมาได้มีการกำหนดตัวชี้วัด 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด ในการจัดระดับหมู่บ้าน บ้านสามร่มจึงได้ถูกจัดให้เป็นหมู่บ้าน “อยู่ดี กินดี ”
ปัจจัยความสำเร็จ
ต้องยกความดีให้กับผู้นำชุมชนและประชาชนในหมู่บ้าน เพราะข้าพเจ้าคงดำเนินงานใดๆไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือที่ดีของพวกเขา และคงเป็นเพราะพื้นฐานจิตใจของคนในหมู่บ้านมีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียรและพยายามศึกษาหาความรู้จากหน่วยงานภายในอำเภอและภายนอก นำมาปรับใช้กับครัวเรือนและชุมชนด้วยสติปัญญา และการมีส่วนร่วมของชุมชน
นางจงธพรรณ ยงพฤกษา
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอคลองเขื่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น