วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองอีโถน

อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ดำเนินการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้เกณฑ์ตัวชี้วัด 6 ด้าน ประกอบด้วย การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การออม การดำรงชีวิต การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเอื้ออาทร ในส่วนของอำเภอพนมสารคามได้ดำเนินการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา โดยดำเนินการคัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ระดับพออยู่ พอกิน จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 12 บ้านหนองอีโถน ตำบลเกาะขนุน และหมู่ที่ 8 บ้านหนองบัว ตำบลหนองแหน

แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ได้น้อมนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจตามทางสายกลาง
3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ในการพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี ภายใต้เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ (รอบรู้รอบคอบระมัดระวัง) เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน) เพื่อนำไปสู่ ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อมสมดุล/มั่นคงและยั่งยืน

ในปัจจุบันการดำเนินงานการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใช้แบบประเมินผลและการจัดระดับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย มี 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด เพื่อจัดระดับ 3 ระดับ ประกอบด้วย ระดับ พออยู่ พอกิน” “อยู่ดี กินดี และมั่งมี ศรีสุขตัวชี้วัดประกอบด้วย

1) ด้านจิตใจและสังคม (มี 7 ตัวชี้วัด) ได้แก่
(1) มีความสามัคคีและความร่วมมือของคนในหมู่บ้าน
(2) มีข้อปฏิบัติของหมู่บ้าน
(3) มีกองทุนในรูปแบบสวัสดิการแก่สมาชิก
(4) ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย
(5) มีคุณธรรม/จริยธรรม
(6) คนในหมู่บ้าน/ชุมชน ปลอดอบายมุข
(7) มีความเชื่อมั่นในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2) ด้านเศรษฐกิจ (มี 5 ตัวชี้วัด) ได้แก่
(8) มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน
(9) มีกิจกรรมลดรายจ่ายและสร้างรายได้
(10) มีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพหลักของหมู่บ้าน
(11) มีกิจกรรมการออมที่หลากหลาย
(12) มีการดำเนินงานในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มที่มีการดำเนินงาน

3) ด้านการเรียนรู้ (มี 7 ตัวชี้วัด) ได้แก่
(13) มีข้อมูลของชุมชน
(14) มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลชุมชน และแผนชุมชน
(15) มีการค้นหาและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างคุณค่า
(16) มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน
(17) มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน
(18) มีการสร้างเครือข่ายภาคีการพัฒนา
(19) มีการปฏิบัติตามหลักการพึ่งตนเอง

4) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มี 4 ตัวชี้วัด) ได้แก่
(20) มีจิตสำนึกของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(21) มีกลุ่มองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
(22) มีการใช้พลังงานทดแทนที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชน
(23) มีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรธรรมชาติแลสิ่งแวดล้อม

ในส่วนของอำเภอพนมสารคาม ระดับ พออยู่ พอกิน
ตัวชี้วัด ผ่าน
10-16 ตัว ตัวชี้วัดหลัก 10 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย ตัวชี้วัดที่1,2,4,8,10,13,16,17,20,21

ขุมความรู้
1. แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. การประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามตัวชี้วัด 6x2
3. การประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด กำหนดหมู่บ้านต้นแบบ 3 ระดับ พออยู่ พอกินอยู่ดี กินดี” “มั่งมี ศรีสุข
4. แผนการแก้ปัญหาของครัวเรือนด้านเศรษฐกิจพอเพียง ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล สร้างภูมิคุ้มกัน ความรู้และการเรียนรู้
5. แผนปฏิบัติการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ตามเกณฑ์การประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงมหาดไทย

แก่นความรู้
1.การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปี
2.หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับ พออยู่ พอกิน
3.การแก้ไขปัญหาของครัวเรือนด้านเศรษฐกิจพอเพียง
4.การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบตามเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัดกระทรวงมหาดไทย

กลยุทธ์ในการทำงาน
1.ประชุมผู้แทนครอบครัวพัฒนา ให้การเรียนรู้วิถึชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ชี้แจงแนวทางและหลักการปฏิบัติ การจัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูล จปฐ. ข้อมูล กชช. 2 ค และข้อมูลอื่นๆ
2. สาธิตกิจกรรมการดำรงชีวิตตามแนววิถึชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ระดับ พออยู่ พอกิน
3.ประสานการดำเนินงานการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

4.ติดตาม/ประเมินผล/สรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ

นางสาวนงลักษณ์ นพกร
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพนมสารคาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น