วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการบูรณาการแผนชุมชน

ตำบลบางน้ำเปรี้ยวมีการจัดทำแผนชุมชนขึ้นในแต่ละปีมีหลายเล่ม ซึ่งการจัดทำแผนชุมชนหลายเล่มในหนึ่งหมู่บ้าน เนื่องจากมีหลายๆหน่วยงานเข้าไปสนับสนุน และส่งเสริมการจัดทำแผนชุมชนไม่ว่าจะเป็นที่ทำการปกครองอำเภอ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ สำนักงานเกษตรอำเภอ ฯลฯ ซึ่งเมื่อมีหลายหน่วยงานเข้าไปสนับสนุน ชอบยึดหน่วยงานของตนเป็นที่ตั้ง ทำให้เกิดความสับสนให้กับคณะกรรมการหมู่บ้านและผู้นำชุมชน

จนเหตุการณ์ในปี ๒๕๕๔
กระบวนการแผนชุมชนเริ่มมีความชัดเจนขึ้น
เนื่องจากผู้นำท้องถิ่น/กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ได้เข้าไปประชุมรับฟังคำชี้แจงกระบวนการจัดทำแผนชุมชน โดยได้แนวคิดว่ากระบวนการจัดทำแผนชุมชนที่มีคุณภาพ จะต้องมีวิธีการ ขั้นตอน/กระบวนการแผนชุมชน จะต้องคำนึงถึงวิธีการได้มาของแผนชุมชน ไม่ได้คำนึงถึงรูปเล่ม การได้มาของแผนชุมชนต้องทราบข้อมูลของหมู่บ้าน/ชุมชน มีจุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรคของหมู่บ้าน ศักยภาพของชุมชนเป็นเช่นไร เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนชุมชนเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ซึ่งวิธีการดังกล่าวมุ่งหวังที่จะทำให้แผนชุมชน ในพื้นที่ตำบลบางน้ำเปรี้ยว ได้รับการรับรองมาตรฐานแผนชุมชน


องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำเปรี้ยว
ร่วมกับกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/คณะกรรมการหมู่บ้าน ดำเนินการประชุมปรึกษาหารือกับหน่วยงานราชการต่างๆ ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยการประชุมครั้งนี้ มีการระดมความคิดในการบูรณาการแผนชุมชน เพื่อที่จะทำให้แผนชุมชนเป็นหนึ่งเดียวในหมู่บ้าน และเป็นแผนชุมชนที่มีชีวิต มีการนำแผนชุมชนมาใช้ และมีการปรับปรุงแผนชุมชนอยู่อย่างสม่ำเสมอ การจัดทำแผนชุมชน จะต้องสนองตอบต่อความต้องการของชุมชน และมีโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการต่างๆ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและที่สำคัญแผนชุมชนในแต่ละหมู่บ้านของตำบลบางน้ำเปรี้ยว ต้องมีการจัดทำแผนชุมชน ในการพึ่งพาตนเอง (แผนทำเอง) ซึ่งมีโอกาสในการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้สูง ซึ่งหัวใจของแผนชุมชน จะต้องมีการบูรณาการแผนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เป็นแผนที่มีชิวิต


บันทึกขุมความรู้ (
knowledge Assets)
๑. แผนชุมชนที่มีคุณภาพ ต้องมีขั้นตอน/กรกะบวนการแผนชุมชน คำนึงถึงวิธีการได้มา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่คำนึงถึงการจัดทำรูปเล่ม

๒. หัวใจของการบูรณาการแผนชุมชน คือ แผนชุมชนต้องเป็นแผนที่มีชีวิต สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และเป็นไปในทิศทางเดียวกันระหว่างท้องถิ่น/ส่วนราชการ


๓. แผนชุมชนควรเริ่มที่กลุ่มผู้นำชุมชนเน้นจากล่างสู่บน แผนชุมชนต้องไม่มีการกำหนดกรอบ/รูปแบบ แต่ควรเน้นในเรื่องของการจัดทำแผนชุมชนให้มีครบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ฯลฯ

๔. นำข้อมูลมาจัดทำแผนชุมชนและใช้แผนชุมชนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชุมชน


แก่นความรู้ (
Core Competency)
๑. จัดเวทีประชาคม ยึดหลักการมีส่วนร่วม

๒. สร้างกติกา กฎระเบียบ ยึดเป็นหลักปฏิบัติภายในชุมชน (กฎหมู่บ้าน)

๓. การจัดทำแผนชุมชนต้องมีข้อมูลและเกิดจากความต้องการของชุมชนเอง

๔. ผู้นำรุ่นเก่า เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้นำรุ่นใหม่

๕. การรับรองมาตรฐานแผนชุมชน


กลยุทธ์ในการทำงาน

๑. การสร้างทีมแกนนำหมู่บ้าน

๒. การสร้างศรัทธาในการเชื่อมต่อแผนชุมชนกับ อบต./อำเภอ

๓. การวิเคราะห์หมู่บ้าน

๔. การประสานงานทุกระดับยึดกฎระเบียบเป็นแนวทางปฏิบัติ

๕. การรับฟังความคิดเห็นของส่วนรวม

๖. การเคารพซึ่งกันและกัน

๗. การสืบทอดเจตนารมณ์ การสานต่องานกัน

๘. การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสมาชิกในชุมชน

๙. ผู้นำชุมชนมีความสามัคคี ความร่วมมือ ผู้นำเสียสละ

๑๐. ประชาชนเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ มีความตระหนักว่าแผนชุมชนเป็นเรื่องของทุกคนในชุมชน

๑๑. มีข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง เชื่อถือได้

๑๒. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และหน่วยงานอื่นมีความรู้ความเข้าใจและให้การสนับสนุนการจัดทำแผนอย่างจริงจัง

๑๓. หน่วยงานราชการสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอ

๑๔. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญและนำไปใช้ประโยชน์

๑๕. เจ้าหน้าที่สนับสนุนให้มีการทบทวน แลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างต่อเนื่องและติดตามการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหมู่บ้าน

นางสาวปนัฐวรรณ เสงี่ยมจิตร์
นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น