วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การรับสมาชิกของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านบางพุทรา

จังหวัดได้มีหนังสือแจ้งว่าได้คัดเลือกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านบางพุทรา เป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จากยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชน ปีงบประมาณ พ..๒๕๕๔ ทางอำเภอได้พูดคุยกันว่า กลุ่มออมทรัพย์ในพื้นที่เรายังไม่มีความพร้อม จึงได้แจ้งไปยังกลุ่มว่า พร้อมหรือไม่กับการที่กลุ่มออมทรัพย์จะเป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ข้าพเจ้าได้ไปอธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับสถาบันดังกล่าวเป็นอย่างไรให้ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำบางส่วนทราบ


ทางหมู่บ้านจึงตกลงทำกันและหมู่บ้านมีโครงการที่จะออมเงินรายเดือนอีกแบบหนึ่งเพื่อให้คนในชุมชนมีเงินเก็บ ซึ่งชาวบ้านมีรายได้ที่สามารถเก็บเพิ่มได้ และเพื่อไม่ให้พัฒนากรและทางจังหวัดเสียหน้า เพราะไม่มีเวทีประชาคมกันก่อนในพื้นที่ของจังหวัด ทางจังหวัดส่งข้าพเจ้าไปประชุมการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ที่กรุงเทพฯ และให้กับมาดำเนินงานตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน


ซึ่งกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนทุนชุมชนเพื่อจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จำนวน วัน ในวันแรกที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ สร้างความรู้ ความ เข้าใจและแสวงหาความร่วมมือจากภาคี ได้เชิญส่วนราชการ ได้แก่ ครู กศน. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อำเภอปลัดอำเภอ ธกส. ครูโรงเรียนวัดบางคา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่ และกลุ่มเป้าหมายโครงการจากคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และกรรมการกองทุนชุมชนต่างๆ จำนวน ๑๕ คน ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจแนวทางการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนเพิ่มมากขึ้น และในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ศึกษาดูงาน ณ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านสวนหงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก


และในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ สรุปผลการศึกษาดูงาน การร่างระเบียบเบื้องต้น จัดตั้งคณะกรรมการบริหาร ในวันนี้มีปัญหาเรื่องการรับสมาชิกเป็นกลุ่ม ไม่รับเป็นรายบุคคล ไม่เหมือนกับที่ศึกษาดูงานมา ข้าพเจ้าได้แก้ไขโดยได้พูดคุยแกนนำหมู่บ้านบางส่วนมาก่อนจะพูดในวันนี้เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้รับการประชุมเข้าใจทุกคน คือ ทางหมู่บ้านมีความต้องการเก็บเงินเพิ่มเติมจากเงินสัจจะรายเดือนของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตทุกวันที่ ๕ ของเดือน โดยตัวแทน ๒๕ คน ตกลงเก็บเงินเพิ่มอีกวันในวันที่ ๒๐ ของทุกเดือน ข้าพเจ้าได้อธิบายว่าเงินเก็บเพิ่มนี้เป็นเงินของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่มีกิจกรรมรับฝากเงินจากสมาชิก ซึ่งไม่เหมือนกับเงินฝากสัจจะออมทรัพย์ฯ เงินก้อนนี้ที่เก็บได้ก็ให้ทางกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมาฝากกับสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านบางพุทรา


ในส่วนกลุ่มอื่นๆ เช่น กองทุน กข.คจ. มีเงินสวัสดิการของ กข.คจ. ก็เปิดบัญชีว่า เงินสวัสดิการของ กข.คจ. หรือกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ ก็ให้นำเงินมาฝากกับสถาบัน หรือเงินดอกผลกองทุนหมู่บ้านที่จัดเป็นสวัสดิการของสมาชิกก็ให้เปิดบัญชีฝากเช่นกัน แล้วสถาบันก็นำเงินดังกล่าวทั้งหมดไปเปิดบัญชีธนาคาร ธกส. ในนามสถาบันฯ ส่วนสมาชิก (กลุ่ม) ของสถาบันฯ จะมีสมุดเงินคู่ฝากคล้ายกับธนาคาร

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างทักษะคณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เพื่อให้คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการบริหารจัดการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน และดำเนินการเปิดสถาบันการจัดการเงินทุน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จำนวน ๑๕ คน ดำเนินการอบรมและฝึกปฏิบัติ ณ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านหนองยาง ตำบลป่าขะ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จัดตั้งปี ๒๕๕๓ จัดพิธีเปิดดำเนินการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านบางพุทรา อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๔ โดย นายสุเทพ สัมพันธ์วัฒนชัย นายอำเภอราชสาส์น เป็นประธาน และพัฒนาการจังหวัดฉะเชิงเทรา (นางสาวกฤษณา สุพรรณพงษ์) ร่วมเป็นเกียรติ

ในส่วนของการคำนวณเงินดอกผลให้กับกลุ่มนั้น ได้รับการสนับสนุนโปรแกรมบัญชีจากธนาคาร ธกส. สาขาพนมสารคาม (หัวหน้าปุ๋ย) แต่ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงการศึกษาของคณะกรรมการสถาบันและข้าพเจ้าช่วยกันศึกษาและลงมือปฏิบัติ

เคล็ดลับในการดำเนินงาน

. ศึกษาแนวคิด หลักการ วัตถุประสงค์แนวทางขั้นตอนการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนและข้อมูลพื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย

๒. การแปลงความรู้เป็นความรู้ของตนเอง และหาเทคนิค วิธีการ เครื่องมือ ในการสื่อสารทำความเข้าใจการจัดตั้งสถาบันฯ ได้แก่ การเป็นวิทยากรกระบวนการ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เสวนากับผู้รู้

3. การคัดเลือกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ผู้นำต้องการพัฒนาชุมชนของตนเอง และชาวบ้านเป็นผู้ตามที่ดี มีความเป็นประชาธิปไตย

4. การจัดทำแผนปฏิบัติการสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

5. จัดกระบวนการสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่คณะกรรมการและให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความเข้าใจ ในเป้าหมายการจัดตั้งสถาบันฯ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยการประชุมชี้แจงตามโครงการ

6. สร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และวิธีการติดตามสนับสนุนสถาบันฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คณะกรรมการ ใช้การสอบถามที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ร่วมกิจกรรมสถาบันฯ ให้คำแนะนำปรึกษา ให้ความสนใจกับทุกประเด็นทุกปัญหาและดำเนินการแก้ไขทุกเรื่อง มีการติดตามอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอโดยเฉพาะในระยะเริ่มต้นของการจัดตั้งสถาบันจัดการเงินทุนชุมชน


กฎระเบียบ/แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

๑. คู่มือการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนกรมการพัฒนาชุมชน

๒. แผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน


นายสุริยน โอมวัฒนา

นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอราชสาส์น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น