1. การบริหารจัดการชุมชนโดยให้คณะกรรมการหมู่บ้านที่มีการปกครองกันแบบเครือญาติทุกคนเคารพซึ่งกันและกัน อยู่ในระเบียบศีลธรรมอันดี
2. มีการกำหนดแนวทางการอยู่ร่วมกันของประชาชนในหมู่บ้านและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามอัตภาพ ทำให้สมาชิกในหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุขอย่างพอเพียง
3. มีการพบปะพูดคุย โดยใช้วิธีการประชาคมหมู่บ้าน หรือพูดคุยตามสถานที่ต่างๆ เช่น ร้านค้า ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ตามโอกาสที่จะอำนวย เป็นประจำทุกวันที่ 7 ของเอน จึงทำให้บ้านคลองสำโรงไม่ค่อยจะมีปัญหาร้ายแรง และทุกปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถแก้ไขได้โดยชุมชนเอง
4. มีการรวมกลุ่มกิจกรรมต่างๆในหมู่บ้าน เพื่อประโยชน์ของประชาชนในหมู่บ้านกันอยู่เสมอ
5. มีการเฝ้าระวังภายในหมู่บ้านและมอบหมายให้ทุกครัวเรือนดำเนินการ ดังนี้
5.1 ดูแลสมาชิกในครัวเรือน สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของสมาชิกในครัวเรือน
5.2 ดูแลบริเวณพื้นที่ของตนเองและเพื่อนบ้าน สังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น
5.3 ช่วยสอดส่องดูแลภายในหมู่บ้าน สังเกตความผิดปกติของคนเข้า – ออก ในหมู่บ้าน
6. มีการสำรวจปัญหาด้านยาเสพติด โดยให้คณะกรรมการหมู่บ้าน ประชาชนคอยดูแล และรายงานความเคลื่อนไหว
7. มีการจัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติด และให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆที่จัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติด
8. ให้กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน และกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ซึ่งเป็นกลุ่มทุนชุมชนที่เข้มแข็งเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมชน
จากการดำเนินกิจกรรมด้านการต่อต้านยาเสพติด เป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้บ้านคลองบางวัว สามารถเอาชนะและสร้างเกราะป้องกันปัญหาด้านยาเสพติดได้อย่างยั่งยืน โดยเห็นได้จากการได้รับการเข้าร่วมโครงการกองทุนแม่ของแผ่นดิน เมื่อปี 2552 ซึ่งปัจจุบันคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ก็ยังมีการประชุมหารือกันเป็นประจำทุกเดือน และปัจจุบันมีเงินในกองทุนแม่ของแผ่นดิน อยู่จำนวน 15,855 บาท ทำให้การเฝ้าระวัง สอดส่อง ดูแลทำได้ง่าย หากมีอะไรไม่ปกติก็สามารถรู้ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังแก้ปัญหาได้ทันท่วงทีอีกด้วย
เหมือนที่ผู้ใหญ่วิทยา พิทักษ์มงคล เล่าให้ฟังว่า เคยมีเด็กวัยรุ่นต่างถิ่นมาสูบกัญชา เสพยาบ้า ภายในหมู่บ้าน ซึ่งสมัยนั้น ผู้ใหญ่วิทยา พิทักษ์มงคล ก็ใช้มาตรการการพูดจา พูดคุยกันดีๆก่อน หลังจากนั้นเด็กวัยรุ่นเหล่านั้นก็ไม่เคยมาที่บ้านคลองสำโรงอีกเลย อาจเป็นเพราการทำงานอย่างจริงจังของคณะกรรมการหมู่บ้าน และชาวบ้านบ้านคลองสำโรงก็เป็นได้ จึงทำให้บ้านคลองบางวัวเป็นหมู่บ้านที่ปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืนได้
ขุมความรู้
๑. ลงพื้นที่เพื่อพูดคุย คอยกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรม
๒. ให้แนวคิดด้านการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิต
๓. ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนแสดงความสามารถร่วมกันทำงาน ช่วยกันคิดแก้ไขปัญหา
๔. ปลูกฝังค่านิยมเรื่องชุมชนปลอดยาเสพติด และขยายความรู้สู่ชุมชน
๕. การจัดการความรู้ชุมชนด้วยกระบวนการจัดทำแผนชุมชน
แก่นความรู้
๑. นำเอาแนวคิดด้านการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมต่างๆในชุมชน
๒. สร้างและทำความเข้าใจในการดำเนินชีวิตโดยไม่พึ่งพายาเสพติด
๓. ส่งเสริม สนับสนุน ประชาชนในชุมชนให้เห็นความสามารถของตนเอง
๔. รวมกลุ่มคนและสร้างแกนนำเพื่อสร้างพลังในการขับเคลื่อนชุมชนปลอดยาเสพติด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด
กลยุทธ์
ส่งเสริม สนับสนุน การมีส่วนร่วม และให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
นายกฤษวิสิฐ จิรทิพย์รัช
นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปะกง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น