วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การส่งเสริมศิลปหัตถกรรมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน

เหตุการณนี้เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 23 เมษายน 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริกับนายจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา องคมนตรี ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน สรุปประเด็นสำคัญดังนี้

1. พัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ให้มีการพัฒนาแหล่งน้ำ ปรับปรุงบำรุงดิน ฟื้นฟูสภาพป่าไม้ ปรับแผนการผลิตของเกษตรกรในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ รวมถึงการทำบัญชีพื้นฐานให้มากขึ้น และส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์
3. ให้ทำวิธีการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวที่ได้ผลแล้ว มาใช้กับพื้นที่ดินเปรี้ยวที่บางคล้า และสาธิตตามแนวทฤษฎีใหม่
4. ให้ศูนย์ศึกษาการเป็นที่ทำการศึกษาการผสมพันธุ์พืชอีกกิจกรรมหนึ่งเพื่อสร้างพันธุ์พืชชนิดใหม่ๆ ที่มีคุณภาพดีให้เป็นที่แพร่หลายสืบไป
5. ให้มีศูนย์ศิลปาชีพฝึกหัดอาชีพพื้นบ้าน การจักสาน ทอผ้า และศิลปหัตถกรรมต่างๆ

จากพระราชดำริดังกล่าว ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จึงได้มอบภารกิจให้หน่วยงานพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมศิลปหัตถกรรมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน เป็นแหล่งเรียนรู้พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เกษตรกร นิสิตนักศึกษา และคณะกลุ่มองค์กรต่างๆในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ และทั่วไปได้มาศึกษาเรียนรู้พร้อมทั้งฝึกอบรม แล้วนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้แก่ครัวเรือนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

สถานที่เกิดเหตุการณ์ งานพัฒนาชุมชน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เนื้อเรื่อง
หญ้าแฝก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Vetiveria zizaniodes เป็นพืชตระกูลหญ้า ขึ้นเป็นกอหนาแน่นอยู่ตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศ มีความทนทานต่อสภาวะต่างๆ เส้นผ่าศูนย์กลางกอประมาณ 30 ซม. ความสูงจากยอดประมาณ 50 150 ซม. ใบแคบและยาวประมาณ 75 ซม. กว้างประมาณ 8 มม. รากอาจลึกลงไปในดินถึง 3 เมตร

การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก การปลูกหญ้าแฝกมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำโดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ลาดชัน ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่การปลูกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำหรือการปลูกในพื้นที่เกษตรในลักษณะต่างๆนั้น เป็นการใช้ประโยชน์ในแง่ของอนุรักษ์ ซึ่งเป็นคุณค่าไม่สามารถประเมินเป็นตัวเงินให้เกษตรกรเห็นได้ จึงเป็นสาเหตุให้เกษตรกรบางส่วนยังไม่ยอมรับหญ้าแฝก แต่แท้จริงแล้วใบและรากหญ้าแฝกสามารถใช้ประโยชน์อื่นได้อีก โดยเฉพาะส่วนของใบซึ่งต้องตัดออกเป็นประจำในการดูแลแถวแฝก สามารถนำมาใช้มุงหลังคา ใช้ในงานศิลปหัตถกรรมต่างๆเพื่อเป็นอาชีพเสริมทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, 2536 )

การใช้ประโยชน์จากใบหญ้าแฝกสำหรับงานศิลปหัตถกรรม
ชนิดของหญ้าแฝกที่มีใบเหมาะสมจะนำมาทำงานหัตถกรรม 2 สายพันธุ์ คือ
หญ้าแฝกหอม (
Vetiveria zizaniodes Nash) ได้แก่สายพันธุ์ศรีลังกา กำแพงเพชร 2 สุราษฏร์ธานี และสงขลา 3 เป็นต้น ลักษณะใบของหญ้าแฝกหอมนี้จะมีใบมันและยาวเมื่อโดนน้ำใบจะนิ่ม จึงเหมาะสมจะนำมาทำงานหัตถกรรม

หญ้าแฝกดอน (Vetiveria nemoralis A. Camus) หญ้าแฝกดอน หรือที่เรียกว่าแฝกหรือแฝกพื้นบ้านนั้น มีการกระจายพันธุ์อยู่ในวงแคบๆ ตามธรรมชาติ เฉพาะบริเวณแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยอดกอตอนปลายจะแผ่โค้งลงคล้ายกอตะไคร้ ไม่ตั้งมากเหมือนหญ้าแฝกหอม ในบางพื้นที่พบว่า ขึ้นอยู่หนาแน่นในลักษณะเป็นพืชพื้นล่างคลุมดิน เป็นบริเวณกว้าง หญ้าแฝกดอนมีใบยาว 35 60 ซม. กว้าง 0.4 0.6 ซม. ใบมีสีเขียวซีด หลังใบพับเป็นสันสามเหลี่ยม เนื้อใบหยาบสากคาย มีไขเคลือบน้อยทำให้ดูกร้านไม่เหลือบมัน ท้องใบมีสีเดียวกับด้านหลังใบ แต่จะมีสีซีดกว่า แผ่นใบเมื่อส่องกับแดดไม่เห็นรอยเส้นในเนื้อใบ เส้นกลางใบสังเกตได้ชัดเจน มีลักษณะแข็งเป็นแกนนูนทางด้านหลัง เหมาะสำหรับนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ (Camus, n.d.)

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีการส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก จึงได้ทำการขยายพันธุ์กล้าหญ้าแฝกสำหรับแจกจ่ายให้เกษตรกร (รายงานประจำปีศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน, 2549) ซึ่งกล้าหญ้าแฝกที่แจกจ่ายเป็นหญ้าแฝกพันธุ์สุราษฏร์ธานี จึงได้มอบภารกิจให้หน่วยงานพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมงานหัตถกรรม ทางหน่วยงานพัฒนาชุมชน จึงนำใบหญ้าแฝกพันธุ์สุราษฏร์ธานี เพราะมีคุณสมบัติเหนียวแต่อ่อนนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง หักง่ายเหมือนพันธุ์อื่นๆ ที่มีอยู่ในชุมชน มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนอีกทางหนึ่ง โดยจะนำมาทำการจักสานให้เป็นเครื่องใช้ต่างๆมีความสวยงามเป็นธรรมชาติ ในการจักสานนั้นจะมีลายให้เลือกหลายลายด้วยกัน เช่น ลายน้ำไหล ลายขัด ลายชะลอม ลายทึบ โดยจะทำทั้ง กระเป๋า หมวก ตะกร้า กระบุง กล่องกระดาษทิชชู ประดิษฐ์เป็นดอกไม้จากใบหญ้าแฝก ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีจำหน่ายราคาตั้งแต่ 50 - 300 บาท และมีตลาดรองรับอยู่ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

การจักสานจากใบหญ้าแฝก
อุปกรณ์การจักสานจากใบหญ้าแฝก
1. ใบหญ้าแฝก
2. หุ่น (ทำจากโฟม ,กระดาษกาวใส ,กาว,กระดาษเทาขาว) หรือจากวัสดุที่เหลือใช้ เช่น ขวดน้ำโพลาลิส
3. กระบอกฉีดน้ำ
4. เข็มหมุด
,เข็มด้ายและกรรไก ร

วิธีการทำหุ่น
1. นำโฟมมาวาดเป็นแบบที่ต้องการจะทำแล้วตัดโฟมตามแบบที่วาด

2. นำแบบโฟมที่ตัดแล้วมาทาบกับกระดาษเทาขาวแล้ววาดแบบบนกระดาษเทาขาว
3. นำกระดาษเทาขาวที่ตัดแล้วทากาวมาติดบนแบบโฟม
4. ใช้กระดาษกาวติดขอบซ้ำอีกทีกันกระดาษเทาขาวหลุดจากแบบโฟม

วิธีการเตรียมใบหญ้าแฝกไว้ใช้งานตามขั้นตอน ดังนี้
1. คัดเลือกใบหญ้าแฝกที่นำมาใช้งาน มีอายุประมาณ 3 เดือน โดยตัดให้สูงจากโคนต้นประมาณ 15
20 เซนติเมตร
2. นำใบแฝกที่ได้มาแยกเอาส่วนที่ใช้ไม่ได้ทิ้ง และนำใบที่เลือกไว้มามัด
เป็นมัด ๆ ไม่ต้องใหญ่มาก
3.
นำใบหญ้าแฝกที่มัดแล้วไปต้มในน้ำเดือด ประมาณ 15- 20 นาที
4. นำแฝกที่ต้มแล้ว นำมาล้างในน้ำ นำไปผึ่งให้น้ำสะเด็ด
5. นำแฝกที่สะเด็ดน้ำแล้วไปตากแดดประมาณ 3 แดด เพื่อไม่ให้เกิดเชื่อรา
6. เสร็จแล้วก็จะห่อกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อรักษาสภาพของใบแฝกเพื่อไม่ให้หักหรือขาดเก็บไว้ได้นาน

ขั้นตอนการย้อมสีเส้นใยพืช
1. นำใบหญ้าแฝกที่ต้องการจะย้อมแช่น้ำเอาไว้ประมาณ 10 นาที
2. ต้มน้ำที่ต้องการจะย้อมให้ร้อนจักหรือเดือดอ่อนๆ
3. นำสีที่ต้องการจะย้อมใส่ละลายลงไป คนให้ทั่ว
4. นำใบหญ้าแฝกที่จะย้อมใส่ลงไปกลับไปกลับมาประมาณ 30 นาที ยกใบแฝกขึ้นถ้าน้ำใสแล้วแสดงว่าใช้ได้
5. ล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปตากแดด

วิธีจักสานผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช
1. นำใบแฝกมาแช่น้ำประมาณ 3 -5 นาที เพื่อเป็นกานเพิ่มความนิ่มและง่ายต่อการจักสาน เพราะเส้นจะไม่หักหรือขาดในระหว่างการจักสาน
2. คัดเลือกใบหญ้าแฝกที่มีลักษณะใบกว้าง สมบูรณ์ ไม่ฉีกขาด โดยใช้เข็มกรีดริมใบ ซึ่งมีความคมออกตลอดความยาวของใบ
3. นำหุ่นที่ทำเตรียมไว้แล้วมาขึ้นก้นก่อน ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าหรืออะไรก็แล้วแต่ต้องเริ่มจากก้นก่อนทุกครั้ง
4.
ลักษณะการจักสาน หมวก และกระเป๋า ตะกร้า จะเป็นดังนี้

ลักษณะลวดลายต่างๆ ที่นิยมจักสานกัน ได้แก่ ลายชะลอม ลายน้ำไหล ลายสามเส้น

การประดิษฐ์ดอกไม้จากใบหญ้าแฝก
อุปกรณ์การประดิษฐ์ดอกไม้จากใบหญ้าแฝก ได้แก่ ใบแฝกที่ทำการย้อมสี ,เกสรเทียม , มอสเทียม ,กรรไกร,ด้าย,ลวด,ปืนกาว ,กระดาษกาวพันก้าน ,ตอไม้, รากไม้ ,สว่าน ,แลกเกอร์เคลือบไม้

ขั้นตอนการประดิษฐ์ดอกไม้จากใบหญ้าแฝก
1. นำเกสรมัดใส่ลวดแล้วนำใบหญ้าแฝกที่ตัดเป็นกลีบแล้วใช้กรรไกรรูดกลีบดอกเพื่อให้กลีบดอกงอ แล้วนำมาประกอบกันทีละกลีบโดยใช้ด้ายมัดรวมกันเป็นดอก
2. นำกระดาษกาวพันก้านมาพันลวดแล้วนำใบหญ้าแฝกที่ตัดทำเป็นใบประกอบกันตรงก้าน แล้วพันกระดาษกาวพันก้านทับใบไปจนสุดใบ
3. นำดอกที่เสร็จแล้วมารวมกันเป็นช่อๆ
4. นำตอไม้ที่ทาแลกเกอร์มาเจาะให้เป็นรูเพื่อใส่ช่อดอกไม้โดยใช้ปืนกาวยึดช่อดอกกับตอไม้
5.
นำมอสเทียมมาปิดรอบโคนช่อที่ติดกับตอไม้ให้ดูสวยงาม
6. ได้ดอกไม้จากใบหญ้าแฝก

นายจรูญ แย้มศรวล
เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพนมสารคาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น