วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การขอรับเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กรณีเกษียณอายุราชการ

การขอรับเงินเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.)
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.
2539 มาตรา 44 กำหนดไว้ว่า "สมาชิกภาพของสมาชิกจะสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นออกจากราชการ..." ดังนั้น เมื่อสมาชิก กบข. ออกจากราชการเนื่องจากเกษียณอายุราชการ จึงถือว่าสิ้นสุดการเป็นสมาชิก กบข. ด้วย และสมาชิกมีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทน ซึ่งสมาชิกจะได้รับเงินตามเหตุและสิทธิการรับเงิน ดังนี้

*เงินประเดิมและผลประโยชน์เงินประเดิมจะจ่ายให้แก่สมาชิกที่บรรจุเข้ารับราชการ ก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 เท่านั้น

เอกสารหลักฐานการยื่นเรื่องขอรับเงินจาก กบข.
1. แบบฟอร์มขอรับเงินจากกองทุน แบบ กบข. รง 008/1/2551 (กรณีสมาชิกเป็นผู้ขอรับเงิน)
2. สำเนาคำสั่งหรือประกาศออกจากราชการที่มีเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง
3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (กรณีเลือกวิธีโอนเงินเข้าบัญชี) ที่สมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง
4. สำเนาใบแนบหนังสือการสั่งจ่ายบำนาญ (กรณีเลือกรับบำนาญ) ที่มีเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง
5. สำเนาหนังสือที่แจ้งเรื่องราวหรือรับรองการสอบวินัยถึงที่สุดของส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคล พร้อมกับคำสั่งถึงที่สุดนั้น (กรณีเลือกรับนำนาญและการสอบสวนทางวินัยถึงที่สุด) ที่มีเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง
6. แบบแจ้งความประสงค์ให้กองทุนบริหารต่อหรือขอทยอยรับเงิน (กรณีระบุความประสงค์ในแบบขอรับเงิน ข้อ 3 ขอฝากเงินให้กองทุนบริหารต่อ หรือขอทยอยรับเงิน หรือขอรับเงินบางส่วน ส่วนที่เหลือขอทยอยรับ)

หมายเหตุ
* ผู้ที่แจ้งความประสงค์ให้กองทุนบริหารต่อ หรือขอทยอยรับเงิน ตามแบบ กบข. บต. 001/2551 หากต้องการเปลี่ยนแปลงความประสงค์ ให้แจ้งเปลี่ยนโดยใช้แบบ กบข. บต. 002/2551 โดยเปลี่ยนแปลงได้ ปีละ 1 ครั้ง
* สมาชิกที่ถ่ายโอนไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ออกจากราชการจะต้องส่งเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้

1. สำเนาคำสั่งโอนไปส่วนท้องถิ่น พร้อมเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง สำเนาการสั่งจ่ายบำนาญสมาชิก กบข. และแบบคำนวณ บ.ท.4 พร้อมเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีเลือกรับบำนาญ)
2. สมุดประวัติ / ก.พ.7 ฉบับจริง (กรณีเลือกรับบำนาญ)

ขั้นตอนการปฏิบัติ
1. สมาชิกติดต่อส่วนราชการต้นสังกัดยื่นเรื่องขอรับเงินพร้อมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
2. ส่วนราชการต้นสังกัดตรวจสอบสิทธิและให้คำแนะนำสมาชิกในการจัดทำแบบขอรับเงินและรวบรวมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
3. ส่วนราชการต้นสังกัดตรวจสอบสิทธิและเอกสารพร้อมรับรองสำเนาเอกสารทุกฉบับ ส่งให้ กบข.
4. กบข.รับเอกสารและข้อมูลจากสมาชิก โดยรอรับแบบจากสมาชิกตั้งแต่ 1 ตุลาคม และรอรับข้อมูลสำหรับตรวจสอบเงินประเดิมจากกรมบัญชีกลาง ใช้ระยะเวลา 15 วันทำการ
5. กบข.ตรวจสอบเอกสารและข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง คำนวณเงินตามสิทธิและจ่ายเงินคืนให้สมาชิก ตามที่สมาชิกแจ้งความประสงค์ (โอนเข้าบัญชี/สั่งจ่ายเช็ค/จ่ายธนาณัติ) ภายใน 7 วันทำการ

ทางเลือกในการขอรับเงินคืนของสมาชิก
เมื่อสมาชิกยื่นขอรับเงินจากกองทุน สมาชิกมีสิทธิเลือกดำเนินการเกี่ยวกับเงินที่จะได้รับคืนจาก กบข.ได้
5 แนวทาง ตามวัตถุประสงค์ของแผนการใช้เงินหลังเกษียณที่เหมาะสมกับสมาชิก คือ
1. ขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับทั้งจำนวน
2. ขอโอนเงินที่มีสิทธิได้รับไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนอื่น ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกจากงานหรือการชราภาพ
3. ขอฝากเงินทั้งจำนวนที่มีสิทธิได้รับให้กองทุนบริหารต่อทั้งจำนวน
4. ขอทยอยรับเงินที่มีสิทธิได้รับ

เกร็ดแนะนำและข้อควรระวัง
1. โปรดอ่านและปฏิบัติตามคำอธิบายด้านหลังแบบขอรับเงินจากกองทุน
2. การกรอกข้อมูลในแบบขอรับเงิน แนะนำให้สมาชิกใช้ บริการกรอกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์บนเว็บไซต์ กบข. แล้วจึงสั่งพิมพ์เพื่อลงนาม ซึ่งสะดวกกว่าการเขียนด้วยลายมือ
3. แบบขอรับเงินจากกองทุน (แบบ กบข. รง 008/1/2551) ที่ส่งให้ กบข. ต้องเป็นเอกสารตัวจริงที่มีลายเซ็นจริงของสมาชิก
4. กรณีที่ต้องการแก้ไขข้อความในเอกสาร ให้ขีดฆ่าและลงนามกำกับทุกจุดที่แก้ไข
5. การลงนามในเอกสารควรใช้ หมึกสีน้ำเงิน
6. ควรระบุหมายเลขโทรศัพท์ที่ กบข. สามารถติดต่อได้สะดวก สำหรับผู้ที่แจ้งหมายเลขโทรศัพท์มือถือ กบข. จะส่ง SMS ไปแจ้งเมื่อได้ทำจ่ายคืนให้สมาชิกแล้ว
7. ข้อแนะนำสำหรับการเลือกรับเงินคืนแต่ละช่องทาง

กรณีเลือกให้โอนเข้าบัญชี
ชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีต้องถูกต้องชัดเจน
เป็นบัญชีที่ยังใช้งานได้จริง
กรณีเลือกรับเป็นเช็ค ให้นำเช็คไปเข้าบัญชีภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่สั่งจ่ายที่ระบุไว้บนหน้าเช็ค
กรณีเลือกรับเป็นธนาณัติ ให้นำธนาณัติไปขึ้นเงินภายในระยะเวลาไม่เกิน 4 เดือนนับจากวันที่ระบุไว้ในธนาณัติ

นางอังคณา จิตรวิไลย
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น