ในฐานะผู้บริหารงานพัฒนาชุมชน จึงได้ศึกษาจากผลงานวิจัยของกลุ่มงานวิจัยฯ กรมการพัฒนาชุมชน ในวารสารพัฒนาชุมชน เกี่ยวกับบาทบาทของพัฒนากร ในฐานะผู้ส่งเสริม สนับสนุนและประสานงาน เพื่อใช้เป็นแนวทาง สอนแนะ นักวิชาการพัฒนาชุมชน(พัฒนากร) ในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการเสริมสร้างขีดสมรรถนะองค์กรในสำนักงานพัฒนาชุมชน ให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนี้
บทบาทเป็นผู้ส่งเสริม คือบทบาทของผู้ให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้แก่ประชาชน กลุ่ม/องค์กรชุมชน กลุ่มกิจกรรม องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานต่าง ๆ รู้จักเข้าใจ เห็นคุณค่าในหลักการและกิจกรรมพัฒนาชุมชนจนเกิดการเปลี่ยนทัศนคติและมาใช้หลักการ วิธีการและกิจกรรมพัฒนาชุมชนในการแก้ปัญหาและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาชุมชน นั้น
บทบาทเป็นผู้สนับสนุน คือบทบาทของผู้อุดหนุนทรัพยากร ได้แก่ วิชาการ และงบประมาณแก่ประชาชน กลุ่ม/องค์กรชุมชน องค์กรท้องถิ่น เพื่อให้สามารถดำเนินงานตามหลักการ วิธีการ และกิจกรรมพัฒนาชุมชนได้สำเร็จตามความคาดหวัง
บทบาทผู้ประสานงาน คือ บทบาทของผู้สื่อข่าวสารระหว่างประชาชน กลุ่ม/องค์กรชุมชน กลุ่มกิจกรรม องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ประสานความร่วมมือและทรัพยากรในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาในชุมชน
บันทึกขุมความรู้
จากเนื้อหาความรู้ดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงาน ของนักวิชาการพัฒนาชุมชน(พัฒนากร) ควรมีวิธีการดำเนินงานตามบทบาท ดังนี้
การทำงานตามบทบาทผู้ส่งเสริม คือ
1. การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ
2. การชี้แจงในการประชุม
3. การฝึกอบรมและทัศนศึกษาดูงาน
4. การผลิตและใช้สื่อประเภทต่าง ๆ
5. การจัดนิทรรศการ/ป้ายประชาสัมพันธ์
6. การกระตุ้น ชักจูงโน้มน้าว
การทำงานตามบทบาทผู้สนับสนุน คือ
1. ผลิตและให้บริการเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน
2. พัฒนาหลักสูตรและจัดการฝึกอบรม
3. เป็นวิทยากรในการฝึกอบรม
4. ให้คำแนะนำ คำปรึกษา
5. จัดหาวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ มาให้ความรู้
6. สนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อการฝึกอบรม ประชุมสัมมนา
7. เสนอและจัดทำแผนสนับสนุนงบประมาณ
การทำงานตามบทบาทผู้ประสานงาน คือ
1. จัดและพัฒนาระบบข้อมูล และให้บริการข้อมูลข่าวสารเพื่อการพัฒนาชุมชน
2. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของชุมชน
3. การจัดเวทีประชาคม
4. การจัดประชุม สัมมนา ฝึกอบรม การพบปะ
5. สร้างทีมงานเพื่อนร่วมงาน, ผู้บังคับบัญชา และระหว่างหน่วยงาน เพื่อบูรณาการทำงานร่วมกัน
แก่นความรู้
นักวิชาการพัฒนาชุมชน(พัฒนากร) เกิดการเรียนรู้ตามบทบาท หน้าที่ คือ
1. มีผลงานประสบผลสำเร็จตามบทบาทหน้าที่
2. เสริมสร้างขีดสมรรถนะของนักวิชาการพัฒนาชุมชนเพิ่มขึ้น
3. นักวิชาการพัฒนาชุมชน(พัฒนากร) มีสมรรถนะ เก่ง ดี มีความสุข
4. สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้จริง เกิดประโยชน์ต่อชุมชน
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับบุคลากรในองค์กร(นักวิชาการพัฒนาชุมชน) ทุกคน
2. พัฒนากรทำงานเป็นทีมงาน เกิดการเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน สามารถทำงานแทนกันได้
3. สร้างความสุขร่วมกันทั้งในและนอกสถานที่ทำงาน
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านจะมีความชัดเจนมากขึ้นในเรื่องของบทบาท นักวิชาการพัฒนาชุมชน(พัฒนากร) ตามแนววิธีการปฏิบัติของแต่ละบทบาท ที่นำเสนอเป็นเพียงส่วนหนึ่งขององค์ความรู้ที่นำมาเผยแพร่เท่านั้น หากมีความสงสัยประการใด โปรดติดต่อ สอบถาม...
นายชูชาติ เอี่ยมวิจิตร์
พัฒนาการอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น