วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจน

กรมการพัฒนาชุมชนเป็นเจ้าภาพหลักในการแก้ไขปัญหาความยากจน ภายใต้โครงสร้างของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาชนบทตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงมหาดไทย (ศจพ.มท.) โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการบริหารจัดการพื้นที่เป็นแนวทางปฏิบัติ ให้บูรณาการการทำงานกับหน่วยงานภาคีทุกภาคส่วน ร่วมกับชุมชนในการตรวจสอบ ครัวเรือนยากจน กำหนดการแก้ไขปัญหาความยากจน

ครัวเรือนยากจน หมายถึง ครัวเรือนที่พิจารณาจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ไม่บรรลุตัวชี้วัดมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 23,000 บาทต่อคนต่อปี หรือครัวเรือนที่มติเวทีประชาคมของหมู่บ้านพิจารณาว่าเป็นครัวเรือนยากจน

การยกระดับรายได้ คือ การทำให้บุคคลในครัวเรือนยากจนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 23,000 บาทต่อคนต่อปี

บันทึกขุมความรู้
ขั้นตอนการทำงาน
เพื่อยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจน 4 ประการ
1. เตรียมความพร้อมครัวเรือนยากจน
2. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ สนับสนุนกิจกรรมทางเลือก
3. ติดตามสนับสนุน ประเมินผลการดำเนินงาน
4. ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงาน

การเตรียมความพร้อมครัวเรือนยากจน
1. ค้นหาครัวเรือนยากจน
โดยพิจารณาครัวเรือนไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด จปฐ. มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ 23,000 บาทต่อคนต่อปี หรือครัวเรือนที่มติเวทีประชาคมหมู่บ้านพิจารณาคัดเลือกว่ามีรายได้น้อยและยากจน

2. ศึกษาข้อมูลครัวเรือนยากจน
2.1 บุคคลที่อาศัยในครัวเรือน มีใครบ้าง กี่คน เป็นผู้หญิงกี่คน ผู้ชายกี่คน เด็กกี่คน เด็กเล็ก เด็กโต ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว เป็นพ่อ แม่ พี่ น้อย ผู้อาศัย สุขภาพร่างกาย จิตใจ

2.2 สภาพแวดล้อมของครัวเรือน การรักษาความสะอาดบริเวณบ้าน ครอบครัว การแต่งกาย เสื้อผ้า เครื่องใช้ในบ้าน รถยนต์ จักรยานยนต์ จักรยาน โทรศัพท์ โทรทัศน์ พัดลม ที่ตั้งบ้านในชุมชน นอกชุมชน เพื่อนบ้านข้างเคียง การเกี่ยวข้องอบายมุข ยาเสพติด ความสัมพันธ์ในชุมชน

2.3 ทรัพย์สินก่อเกิดรายได้และไม่เกิดรายได้ เช่น ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง ที่นา ไร่ สวน บ่อเลี้ยงปลา กุ้ง อื่นๆ ทำเลทางการค้าขาย ธุรกิจ รถยนต์ จักรยานยนต์

2.4 การประกอบอาชีพ การมีรายได้และผู้ว่างงาน อาชีพหลัก อาชีพรอง อาชีพสร้างรายได้ อาชีพสร้างภาระ บุคคลประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว เลี้ยงตนเอง ผู้ว่างงาน ผู้ประสงค์ทำงาน ผู้ประกอบอาชีพไม่ได้

2.5 การใช้จ่ายในครัวเรือน ตามความจำเป็นเช่น ค่าอาหารเท่าที่จำเป็นในครอบครัว ค่าใช้จ่ายประจำวันนักเรียน ค่าเล่าเรียน ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น การพนัน หวย ยาเสพติด ชอบเที่ยวและพฤติกรรมเลี่ยงของบุคคลในครัวเรือน

2.6 ความสามารถของบุคคลในครัวเรือน รวมทั้งความสามารถพิเศษ และชำนาญพิเศษ ที่สามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้

3. ความต้องการประกอบอาชีพ คือ คนในครัวเรือนนั้นมีความต้องการประกอบอาชีพ สร้างรายได้ และเป็นอาชีพที่มีความถนัดชำนาญหรือฝึกอาชีพใหม่

4.พิจารณาความเป็นไปได้ของการประกอบอาชีพ เช่น ความพร้อมของครัวเรือน บุคคลที่สามารถประกอบอาชีพได้ในครัวเรือน สถานที่ดำเนินการหรือโอกาสสร้างรายได้

5. จัดทำรายละเอียดประกอบรายการวัสดุเพื่อส่งเสริมอาชีพ เป็นอุปกรณ์การประกอบอาชีพจริง เห็นว่าเป็นการสร้างรายได้ เพิ่มรายได้ จำนวนตามความจำเป็น คุณภาพสินค้าต้องดี ปริมาณตามสมควรแก่การสนับสนุน

6. ทบทวนรายการวัสดุกับความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพ

จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ สนับสนุนกิจกรรมทางเลือก
1. วัสดุมีความเหมาะสม ตรงกับอาชีพที่ต้องการทำ มีคุณภาพสำหรับการประกอบอาชีพ
2. เตรียมความพร้อมสถานที่ประกอบการ เช่น บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ หรือทำเล ทางการค้าหรือ การฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือพัฒนาอาชีพ
3. ส่งมอบวัสดุตรงตามเวลาที่เหมาะสมแก่การประกอบอาชีพ เช่น ส่งมอบลูกปลา กบ ต้องเร็ว อากาศไม่ร้อน การป้องกันแสงแดด หรืออาชีพต้องการแสงแดดมาก ๆ
4. ซักซ้อมการใช้งานวัสดุวัสดุก่อนการประกอบอาชีพ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องมือการทำงานประกอบอาชีพ

ติดตามสนับสนุน ประเมินผลการดำเนินงาน
1. ติดตามก่อการสนับสนุน ส่งเสริมอาชีพ เช่น ติดตามการดำรงชีพประจำวันของบุคคลในครัวเรือนยากจน โดยการติดตามตรงกับครัวเรือนหรือติดตามผ่านทางผู้นำชุมชน เพื่อนบ้านข้างเคียง และจัดทำบันทึกข้อมูลแบบสอบถามพร้อมภาพถ่าย

2. ติดตามหลังการส่งมอบวัสดุ แบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะที่
1 ติดตามภายหลังการส่งมอบวัสดุภายใน 15 วัน เพื่อให้คำปรึกษาต่อการประกอบอาชีพ และกระตุ้นการทำงานพร้อมทั้งเป็นกำลังใจแก่ครัวเรือนยากจน - ประเมินความพึงพอใจต่อวัสดุที่ได้รับมอบ

ระยะที่ 2 ติดตามภายหลักการส่งมอบวัสดุ ภายใน 60 วัน เพื่อติดตามความก้าวหน้าของอาชีพ การก่อเกิดรายได้หรือการเจริญเติบโตของสัตว์เลี้ยง พืชพันธุ์

ระยะที่ 3 ติดตามภายหลัง 90 – 120 วัน เพื่อติดตามความก้าวหน้าของอาชีพ การเพิ่มรายได้ - ประเมินภายหลังการประกอบอาชีพ ด้านรายได้ที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือน คุณภาพชีวิต การมีส่วนร่วม การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน

แก่นความรู้
การยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจนจำเป็นต้องพิจารณา ดังนี้
1. อาชีพเดิมหรือความสามารถที่แท้จริงของครัวเรือนยากจน
2. ความต้องการในการประกอบอาชีพจริงของครัวเรือน
3. วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของอาชีพ เช่น สถานที่ โอกาส วัตถุดิบ สิ่งอำนวยความสะดวก
4. วัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ โดยการจัดซื้อต้องตรงกับวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการจริง ๆ
5. การจัดทำบัญชีราย จ่ายของครัวเรือน
6. การติดตาม หลังการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์

กลยุทธ์ในการทำงาน
1. การคัดเลือกครัวเรือนยากจน เป็นความสำคัญลำดับแรก ต้องเป็นครัวเรือนที่มีความพร้อมต่อการประกอบอาชีพ ต้องการประกอบอาชีพจริง มีความสามารถความชำนาญในอาชีพนั้น ๆ
2. การคัดเลือกอาชีพ ต้องพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะสามารถเพิ่มรายได้ การจัดจำหน่าย สถานที่ดำเนินการและสิ่งอำนวยความสะดวก
3. การจัดรายการวัสดุ ถูกต้องตรงตามความต้องการจำเป็นและเหมาะสม
4. ประสานผู้นำท้องถิ่นทั้งผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานดำเนินการในพื้นที่
5. ติดตามให้กำลังใจและแนะนำการดำเนินงาน
6. ประชาสัมพันธ์กิจกรรม

นายชำนาญ รักราวี
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น