วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านร่มโพธิ์ทอง

ข้าพเจ้ารับผิดชอบการดำเนินงาน โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ อยู่ดี กินดีโครงการตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 โดยดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 7 บ้านร่มโพธิ์ทอง ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยดำเนินกิจกรรมตามกรอบแนวทางที่กรมฯ กำหนด 5 กิจกรรม ได้แก่ การส่งเสริมครอบครัวพัฒนาโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงาน , การเรียนรู้ตนเอง โดยการปรับแผนชุมชน และทำบัญชีครัวเรือน , การสาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียง , การเสริมสร้างระบบบริหารจัดการชุมชน และการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการจัดการความรู้วิธีการปฏิบัติการพัฒนาหมู่บ้าน

ในการดำเนินโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ข้าพเจ้า ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ การมี 3 ห่วง
2 เงื่อนไข คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และ มีภูมิคุ้มกันที่ดี ภายใต้เงื่อนไข การมีความรู้ และ มีคุณธรรม มาประกอบกับหลักการประเมิน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมี 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด ซึ่งใช้จัดระดับหมู่บ้าน โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย พออยู่ พอกิน”,“อยู่ดี กินดี และมั่งมี ศรีสุขผลจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทำให้คนในหมู่บ้านได้เรียนรู้ตนเอง ในด้านการดำรงชีวิตแบบพอเพียง ทั้งการลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สามารถขยายแนวคิด และวิธีปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่คนอื่นๆ ในหมู่บ้าน และหมู่บ้าน/ชุมชนอื่นๆ ได้ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต และ การพัฒนาหมู่บ้านอย่างยั่งยืน

ขุมความรู้

1. ครัวเรือนพัฒนานำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต

2. ครัวเรือนพัฒนานำความรู้ที่ได้จากการประชุมฯ ศึกษาดูงาน และจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
มาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
3. การประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด จัดเป็นหมู่บ้าน ระดับ อยู่ดี กินดี
4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของครัวเรือนพัฒนา และเผยแพร่ความรู้ไปสู่ครัวเรือนอื่นๆ
ในหมู่บ้าน

แก่นความรู้

1. การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

2. เกณฑ์การประเมินผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับ อยู่ดี กินดี

3. การขยายผลสู่ครัวเรือนอื่นๆ ในหมู่บ้าน และการเป็นต้นแบบให้หมู่บ้านอื่นๆ

4. การพัฒนาหมู่บ้านให้ครัวเรือนในหมู่บ้านสามารถพึงตนเองได้อย่างยั่งยืน


กลยุทธ์ในการทำงาน

1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหมู่บ้าน

2. นำความรู้วิทยาการใหม่ และเทคโนโลยี ใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน

3. บูรณาการการพัฒนาร่วมกับหมู่บ้าน/ชุมชน และหน่วยงานอื่นๆ

4.
ติดตามผลการดำเนินงาน ประเมินผล และรวบรวมปัญหา อุปสรรค เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

นางสาวอัจฉรา เขียวภักดี
นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะเกียบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น