วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.


ชื่อ – นามสกุล   นางสาวนงลักษณ์  นพกร
ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด     สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพนมสารคาม
ชื่อเรื่อง   การบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.  
         
จากการที่ได้ทำงานใกล้ชิดกับชาวบ้านในชุมชน   ทำให้มีประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชนและ  รู้เห็นสภาพความเป็นอยู่และสภาพปัญหาของชุมชนเป็นอย่างดี  จึงขอเสนอแนวทางการบริหารการจัดเก็บข้อมูล  จปฐ. ข้อมูล กชช.2 ค  ข้อมูลกลุ่มอาชีพ/องค์กร ข้อมูลกองทุนต่าง ๆ ที่กรมการพัฒนาชุมชนได้ให้การสนับสนุนแก่หมู่บ้าน/ชุมชน  ในมุมมองของพัฒนากรที่ได้ดำเนินการแล้วประสบผลสำเร็จเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันต่อไป

ขุมความรู้
เทคนิคการบริหารการจัดเก็บข้อมูล
  • ประชาสัมพันธ์การจัดเก็บข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูล จปฐ. ข้อมูล กชช.2 ค ข้อมูลกลุ่มอาชีพ/องค์กร  ข้อมูลกองทุนต่าง ๆ  ผ่านทางกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้นำท้องถิ่นในระดับตำบล  ได้รับรู้เรื่องประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดเก็บข้อมูลในครั้งนี้
  • ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดเก็บบันทึก และประมวลผล  หากต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการ เช่น ข้อมูล จปฐ. ข้อมูล กชช.2ค  (ซึ่งคาดว่าจะไม่ได้รับ)
  • จัดเตรียมรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล  เช่น  ข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย  ข้อมูลสถานะเงินกองทุน ณ ปัจจุบัน  ข้อมูลสมาชิกกลุ่ม  เป็นต้น
  • สร้างทีมงาน  ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในทุกระดับทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร  ภาคีการพัฒนา  มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ   จัดเตรียมข้อมูลและรายละเอียดให้ครบถ้วน
  • ค้นหาปัญหาและความต้องการ  โดยการจัดประชุมในระดับหมู่บ้าน ตำบล  เพื่อรับทราบปัญหาในปีที่ผ่านมาและหาความต้องการของชุมชนโดยมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบหรืออาสาสมัครควรเน้นไปที่ ผู้นำ อช. หรือ อช.  ดำเนินการจัดเก็บหรือสำรวจความต้องการ
  • ติดตามสนับสนุน เร่งรัดการจัดเก็บข้อมูล  เป็นระยะตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้ให้เสร็จทันตามกำหนดเวลา
  • การขับเคลื่อน  จัดเวทีสรุปผลข้อมูล  เพื่อรับรองข้อมูลและสรุปผลการดำเนินงานพร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อมูลที่ได้รับ
แก่นความรู้
การทำงานในพื้นที่ของพัฒนากร  สิ่งแรกที่ทุกคนต้องดำเนินการ คือ ต้องศึกษาบริบทชุมชน    เมื่อได้ข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ทำอย่างไรจึงจะได้ข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน  พัฒนากรทุกคนต้องยึดหลักการมีส่วนร่วม (ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ)  อย่างเคร่งครัด เป็นไปตามลำดับขั้นตอน  เพราะคุณภาพของข้อมูลคือต้นทุนการพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น