วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การพัฒนาศักยภาพสมาชิกชุมชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับ พออยู่ พอกิน

ชื่อ - สกุล   รงรอง  พงษ์ชวลิต
เรื่อง    การพัฒนาศักยภาพสมาชิกชุมชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับ พออยู่ พอกิน
เพื่อเป็นแกนนำในการยกระดับหมู่บ้านสู่ระดับ อยู่ดี กินดี ในพื้นที่ หมู่ 14 บ้านหนองปรือ
ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม  จังหวัดฉะเชิงเทรา

หลักการและเหตุผล
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาค ของไทย  ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันเพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน

กรมการพัฒนาชุมชน
ได้ส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงโดยน้อมนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  มาเป็นแนวทางปฏิบัติ  และจัดทำแผนการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2555 โดยมีเป้าหมายการให้บริการคือชุมชนมีความสามารถในการวางแผนบริหารจัดการชุมชนพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก  ให้มั่นคงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยการเสริมสร้างขีดความสามารถของพลังชุมชนในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาของชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจขุมชนฐานรากให้มีความมั่นคง  เพื่อส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านที่มีวิธีชีวิต  ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยน้อมนำความคิดตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและผู้นำชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาตนเองและพัฒนาชุมชนไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบรรลุเป้าหมายทั้ง 3 ระดับ คือระดับ “พออยู่ พอกิน” “อยู่ดี กินดี” “มั่งมี ศรีสุข  ซึ่งหมู่บ้านแต่ละระดับที่ได้รับการพัฒนาเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบตามเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย ระดับ พออยู่ พอกิน ต้องผ่านเกณฑ์ จำนวน 10-16 ตัวชี้วัด ระดับ อยู่ดี กินดี ต้องผ่านเกณฑ์ จำนวน 17-22 ตัวชี้วัด ระดับ มั่งมี ศรีสุข ต้องผ่านเกณฑ์ จำนวน 23 ตัวชี้วัด

บทวิเคราะห์
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนเกิดการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงอย่างหยั่งลึกในจิตใจ วิถีชีวิต และขยายผลสู่สังคมไทยอย่างเข้มแข็ง คือ ผู้นำองค์กรและชุมชน ซึ่งทุกฝ่าย/ทุกคน จะต้องร่วมใจเป็นหนึ่ง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นอำเภอเป็นอำเภอที่ประชากรส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม และประชากรของอำเภอพนมสารคามประกอบด้วยหลายเชื้อชาติ เช่น อีสาน ลาวพวน เป็นต้น อาชีพเกษตรกรในปัจจุบันเป็นอาชีพที่มีรายได้น้อย ยากจน ประชาชนขาดความรู้ทางด้านการเกษตรที่ถูกต้องและปลอดภัยจากสารพิษต่าง ๆ ดังนั้น การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนจึงเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการดำเนินชีวิต

แนวคิดที่นำมาใช้ในการกำหนดกรอบในพัฒนางาน ได้แก่
  • แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ของกระทรวงมหาดไทย
  • ยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน
  • แนวคิดหลักธรรมาภิบาล
  • แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • เกณฑ์การประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ๒๕๕๒
  • การวัดความ “อยู่เย็น เป็นสุข”หรือวัดความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (GVH)
ข้อเสนอ
  • พัฒนาศักยภาพสมาชิกชุมชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับ พออยู่ พอกิน เพื่อเป็นแกนนำในการยกระดับหมู่บ้านสู่ระดับ อยู่ดี กินดี ในพื้นที่ หมู่ ๑๔ บ้านหนองปรือ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • จัดทำเอกสารคู่มือการดำเนินงานให้เจ้าหน้าที่ใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงาน
  • ถอดบทเรียนการยกระดับหมู่บ้านต้นแบบ พออยู่ พอกิน เป็นระดับ อยู่ดี กินดี
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
  • ผู้นำชุมชนและสมาชิกในชุมชนสามารถเป็นแกนนำในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับ มั่งมี ศรีสุข
  • มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับ อยู่ดี กินดี เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษา ดูงาน แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
  • ประชาชนในหมู่บ้านมีรายได้เสริมจากการขายผลิตภัณฑ์ในหมู่บ้าน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น