วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การแก้ไขปัญหาความยากจน


ชื่อ สกุล  นางกาญจนา    ประสพศิลป์
ตำแหน่ง    นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด     สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโพธิ์   จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์    08-9831-5435
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น   ปีงบประมาณ 2554
สถานที่เกิดเหตุ     ตำบลสิบเอ็ดศอก  ตำบลแหลมประดู่  จังหวัดฉะเชิงเทรา

การแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นนโยบายที่ตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาล และอยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 1 ของกรมการพัฒนาชุมชน สร้างสรรค์ชุมชนอยู่เย็น  เป็นสุข โดยมีเป้าหมาย ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดี  มีความสุข ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ จะพบว่าปัญหาความยากจนนั้น เกิดจากพฤติกรรมในครอบครัวเป็นหลัก บางครอบครัวมีหลายสาเหตุ เช่น
-ความฉลาดในการใช้ชีวิต
-การเลือกงานทำ
-กินเหล้า สูบบุหรี่ เล่นการพนัน
-ไม่ทำงาน
-มีลูกมาก
-พิการ,เจ็บป่วย,มีผู้สูงอายุ
-หัวหน้าครอบครัวทำงานคนเดียว
-มีหนี้สินนอกระบบ ไม่สามารถหลุดพ้นจากวงจรได้
-ไม่คิดถึงอนาคต(มีชีวิตอยู่ไปวันๆ)
-ขาดแรงจูงใจ   ขาดกำลังใจ
-ไม่มีศักดิ์ศรีในสังคม
-ขาดศีลธรรมในการดำเนินชีวิต

การแก้ปัญหาจึงต้องแยกแยะครัวเรือนเหล่านี้ ประเภทไหนสามารถพัฒนาได้หรือไม่ได้  ครอบครัวยอมรับสาเหตุและพร้อมจะเปลี่ยนแปลง บริหารจัดการชีวิตตนเองให้เหมะสมตามสภาพสาเหตุที่เป็นอยู่ เพื่อให้ครอบครัวหลุดพ้นจากความยากจนนี้ไปให้ได้ โดยครอบครัวจะต้องมีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนด้วย การแก้ไขปัญหาจึงจะประสบความสำเร็จได้ ดังสุภาษิตโบราณที่ว่า “ไม่มีคนจน ในหมู่คนขยัน”

การทำงานในพื้นที่ได้นำกระบวนการแก้ไขปัญหาความยากจนทั้ง 4 กระบวนการไปดำเนินการ โดยเลือกครัวเรือนที่มีความพร้อม ตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงตนเอง เชื่อมั่นในการทำความดี มีศีลธรรมจนประสบความสำเร็จ ครัวเรือนมีรายได้เพิ่ม มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ครอบครัวมีความสุข ด้วยกระบวนการนี้

กระบวนการที่ 1 ชี้เป้าชีวิต ตรวจสอบ ครัวเรือนยอมรับสาเหตุ ปัญหา
กระบวนการที่ 2 จัดทำเข็มทิศชีวิต สร้างความรู้ ความหวัง มองเห็นหนทาง
กระบวนการที่ 3 บริหารจัดการชีวิต  ปรับเปลี่ยนความคิด มองโลกให้สดใส ส่งเสริม ให้โอกาส
กระบวนการที่ 4 ดูแลชีวิต  ให้ความช่วยเหลือ  สร้างกำลังใจ พัฒนาตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น