วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ตรวจสุขภาพการเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน


ชื่อ - สกุล  นางวินิจ    บัวเจริญ   
ตำแหน่ง  พัฒนาการอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
สังกัด  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เบอร์โทรศัพท์  08-9600-8712

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นกิจกรรมที่กรมการพัฒนาชุมชนได้สนับสนุนให้ชุมชนจัดตั้ง  เมื่อปี พ.ศ.2517 โดยเริ่มครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดสตูล จากวันนั้นจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 38 ปี ที่กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตดำเนินงานอยู่ในชุมชน ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่ดำเนินงานอย่างเข็มแข็ง มีเงินทุนของกลุ่มนับล้านบาท มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสมาขิกหลากหลายกิจกรรม การจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกและชุมชนอย่างทั่วถึง  การพัฒนาคณะกรรมการและสมาชิก ขณะที่บางกลุ่มมีกิจกรรมรับฝากเงินเพียงอย่างเดียว ไม่มีกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์ให้สมาชิก บางกลุ่มมีปัญหาด้านความไม่โปร่งใสของกรรมการ สมาชิกไม่ชำระคืนเงินกู้ กรรมการไม่ได้จัดทำบัญชีให้เป็นปัจจุบัน  จึงต้องปรับปรุงแก้ไข และได้รับการเรียนรู้เพื่อพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็งขึ้น

แนวทางของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นกิจกรรมที่มุ่งสร้างการช่วยเหลือซึ่งกันและ สร้างคุณธรรมให้แก่สมาชิก ในด้านความซื่อสัตย์  เสียสละเพื่อส่วนรวม   รับผิดชอบร่วมกัน  เห็นใจกัน และไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยใช้เงินทุนที่ได้จากสมาชิกรวมกลุ่มสะสมทีละเล็กทีละน้อย เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน สร้างการเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการ ให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เป็นการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย  สมาชิกและชุมชนได้รับประโยชน์ทั้งโดยทางตรงคือด้านการเงิน มีกองทุนของชุมชนเป็นการส่งเสริมการพึ่งตนเองของชุมชน  และทางอ้อมคือการสร้างความสามัคคีในชุมชน 

การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์บริหารงานใช้คณะกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิก  แบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ  ได้แก่ ฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายเงินกู้  ฝ่ายตรวจสอบ และฝ่ายส่งเสริม  โดยให้กำหนดวันที่ สถานที่ รับฝากสัจจะจากสมาชิกที่ให้สัจจะกับกลุ่มว่าจะฝากทุกเดือนๆ  ละเท่าๆ กัน เงินที่ได้จากการฝาก เมื่อมีจำนวนเพิ่มขึ้น จะให้สมาชิกที่ขาดเงินทุนได้นำไปลงทุนประกอบอาชีพ  ทำให้มีรายได้และมาส่งคืนเงินกู้กับกลุ่มโดยชำระดอกเบี้ยตามที่กลุ่มกำหนด ซึ่งจะคิดในอัตราที่ต่ำ เป็นการช่วยเหลือสมาชิกไม่ให้เดือดร้อนจากภาระหนี้สิน 

นอกจากนี้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมีกิจกรรมที่เป็นการช่วยเหลือสมาชิก เช่น ธนาคารข้าว  ฌาปนกิจสงเคราะห์  หรือกิจกรรมสร้างรายได้ เช่น ศูนย์สาธิตการตลาด  ปั๊มน้ำมัน  น้ำดื่ม ลานตากข้าว กเป็นการช่วยเหลือสมาชิกไม่ให้เดเมื่อสิ้นปีบัญชีจะมีการสรุปผลการดำเนินงาน และจัดสรรผลกำไรในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ เงินปันผล  ค่าตอบแทนกรรมการ  เงินสาธารณประโยชน์  เงินสวัสดิการในรูปแบบต่างๆ  สร้างการเรียนรู้ให้แก่คณะกรรมการและสมาชิกโดยจัดฝึกอบรมและศีกษาดูงาน 

การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 
แม้ในปัจจุบันจะมีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นจำนวนมาก  บางกลุ่มเข้มแข็ง  บางกลุ่มอ่อนแอและมีปัญหา จึงเป็นบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าผู้รับผิดชอบต้องให้คำปรึกษา ส่งเสริม สนับสนุน ติดตามการดำเนินงานกลุ่มให้คงดำเนินอยู่ได้  ยังมีหมู่บ้านอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต อีกทั้งการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นไปตามหลักการพัฒนาชุมชนที่แท้จริง คือมุ่งเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำร่วมตัดสินใจ สร้างโอกาสการเรียนรู้  จึงควรส่งเสริมให้จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในหมู่บ้านที่มีความพร้อม

กระบวนการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตต้องใช้ระยะเวลา  กำหนดได้เป็น 4  ขั้นตอน ดังนี้  ขั้นตอนแรกคือการเผยแพร่ความคิด   เจ้าหน้าที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจ แนวทางของการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และทำการเผยแพร่แนวทางกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้แก่คนในชุมชน  โดยการจัดประชุม  หรือพูดคุยรายกลุ่ม  รายบุคคล แผ่นพับประชาสัมพันธ์  ช่องทางการสื่อสารที่มีอยู่ในชุมชน  ชี้ให้เห็นประโยชน์ของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
ขั้นตอนที่สอง สำรวจความต้องการ หรือความพร้อมของชุมชนที่ต้องการจะดำเนินการจัดตั้ง 

กรณีชุมชนมีความพร้อมดำเนินการในขั้นตอนที่สาม คือจัดตั้งกลุ่มออทรัพย์เพื่อการผลิต โดยจัดประชุมเฉพาะบุคคลที่มีความสนใจและต้องการจัดตั้งกลุ่ม แม้จะมีจำนวนน้อย เพื่อทำการเลือกตั้งคณะกรรมการ เรียกว่า คณะกรรมการชุดก่อตั้ง  ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์รับสมัครสมาชิก  และร่างระเบียบข้อบังคับ กำหนดกิจกรรมกลุ่ม  บริหารงานกลุ่ม  ขั้นตอนที่สี่ติดตามการดำเนินงานจัดตั้งกลุ่ม เมื่อกลุ่มจัดตั้งระยะหนึ่งแล้ว ให้ติดตามผลการดำเนินงาน ให้คำปรึกษาด้านบริหารจัดการ การจัดทำบัญชีกลุ่ม การประชุมชนของกรรมการ พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำเพิ่มเติม  เพื่อให้กรรมการเกิดการเรียนรู้และแก้ปัญหาด้วยตนเอง

ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
เนื่องจากการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับเงินและคน บางกลุ่มดำเนินงานเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตหลายกลุ่มมีปัญหา เช่น คณะกรรมการไม่ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ ไม่จัดประชุมสมาชิกเพื่อแจ้งผลการดำเนินงาน ไม่จัดทำระเบียบข้อบังคับ ทะเบียนและบัญชีไม่เป็นปัจจุบัน  ไม่นำเงินฝากบัญชีธนาคาร  ไม่มีทีทำการที่ถาวร ไม่มีกิจกรรมให้บริการสมาชิก  คณะกรรมการไม่โปร่งใส  สมาชิกไม่ชำระคืนเงินกู้ เจ้าหน้าที่ขาดการติดตามอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

การตรวจสุขภาพทางการเงินของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น กรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดแนวทางเพื่อพัฒนากลุ่มออมทรัพย์ และแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยสร้างเกณฑ์การประเมินสุขภาพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  เพื่อกำกับดูแลกลุ่มออมทรัพย์
เพื่อการผลิตให้มีความมั่นคงและเข้มแข็ง  แบ่งเป็น 4 ด้าน 19 ตัวชี้วัด

แบบประเมินสุขภาพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นเครื่องมือที่สามารถวัดการดำเนินงานของกลุ่ม
ออมทรัพย์ฯ ได้ว่ายังด้อยในด้านใด ควรปรับปรุงอย่างไร ระยะเวลาที่ต้องปรับปรุงให้แล้วเสร็จ  ดังนั้นการตรวจสุขภาพการเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการให้ครบทุกกลุ่ม

ขั้นตอนการตรวจสุขภาพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
1. พัฒนาการอำเภอจัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการตรวจสุขภาพกลุ่ม
ออมทรัพย์เพื่อการผลิต
2. ทีมงานพัฒนาชุมชนอำเภอกำหนดแผนปฏิบัติงาน หลักสูตร และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
3. กำหนดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป้าหมาย (ควรดำเนินการครั้งละ 3 - 5 กลุ่มๆ ละ 3 คน เพื่อให้มีการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม กรณีกลุ่มที่มีความเข้มแข็งมากกว่าสามารถยกเป็นตัวอย่างให้กลุ่มอื่นๆ ได้ศึกษาเป็นแบบอย่างได้ 

4. จัดประชุม กรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  โดยเนื้อหาวิชาเป็นการทบทวนแนวทางการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กิจกรรมของกลุ่ม ประโยชน์ที่ได้รับจากผลการดำเนินงานกลุ่ม
5. ทบทวนการจัดทำทะเบียน เอกสาร และบัญชีต่างๆ
6. ชี้แจงวัตถุประสงค์และความสำคัญของการตรวจสุขภาพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

7. แบ่งกลุ่มเพื่อดำเนินการตรวจสุขภาพกองทุนโดยให้พัฒนากรผู้รับผิดชอบประจำตำบลเป็นวิทยากรประเมินสุขภาพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
8. จัดทำแผนพัฒนาในข้อทีไม่ผ่านการประเมิน ควรมีการจัดทำแผนศึกษาดูงานกลุ่มออมทรัพย์ที่มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างการเรียนรู้
9. พัฒนากรติดตาม ส่งเสริม สนับสนุน ให้คำปรึกษา การพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตอย่างต่อเนื่อง
10.ทำการประเมินสุขภาพอีกครั้งเมื่อครบกำหนดระยะเวลา  กรณีไม่ผ่านให้พูดคุยหรือวิเคราะห์สาเหตุที่ไม่ผ่าน และให้จัดทำแผนพัฒนาเพิ่มเติม

การตรวจสุขภาพทางการเงินแก่กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จึงเป็นกระบวนการแก้ไขปัญหาและพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตทุกกลุ่ม ทุกระดับ ทำให้ผู้เกี่ยวข้องทราบสภาวะของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  สามารถวางแผนพัฒนาให้กลุ่มมีความก้าวหน้าและเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน

ขุมความรู้
1. การจัดตั้งและพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตต้องใช้ระยะเวลา และความร่วมมือของคนในชุมชน
2. ความเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบด้านต่างๆ เช่น คณะกรรมการ สมาชิก  ระเบียบข้อบังคับ  กิจกรรมของกลุ่ม ทะเบียน บัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3. การตรวจสุขภาพทางการเงิน เป็นเครื่องมือที่สามารถสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

แก่นความรู้
1. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นกิจกรรมที่สร้างการเรียนรู้ โดยใช้เงินทุนของสมาชิกเป็นเครื่องมือในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ชุมชน
2. ผลจากการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่เข้มแข็ง สามารถสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
3. การตรวจสุขภาพทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ เกิดจากความร่วมมือ เข้าใจ และเห็นความสำคัญของการพัฒนาและแก้ไขปัญหา  โดยดำเนินการเป็นขั้นตอน

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ20 มีนาคม 2565 เวลา 03:16

    สวัสดีทุกคน,
    ฉันชื่อคุณรูกาเร ซิม ฉันอาศัยอยู่ในฮอลแลนด์และวันนี้ฉันเป็นคนที่มีความสุข? และฉันบอกตัวเองว่าผู้ให้กู้คนใดก็ตามที่ช่วยฉันและครอบครัวของฉันจากสถานการณ์ที่ย่ำแย่ของเรา ฉันจะแนะนำใครก็ตามที่กำลังมองหาเงินกู้ให้เขา เขาให้ความสุขกับฉันและครอบครัวของฉัน ฉันต้องการเงินกู้ 300,000.00 ดอลลาร์ เพื่อเริ่มต้นชีวิตของฉันใหม่ทั้งหมดเพราะฉันเป็นพ่อคนเดียวที่มีลูก 2 คน ฉันได้พบกับคนที่ซื่อสัตย์และอัลลอฮ์กลัวผู้ให้กู้เงินกู้ซึ่งช่วยฉันด้วยเงินกู้ 300,000.00 ดอลลาร์ เขาเป็นคนที่เกรงกลัวอัลลอฮ์ หากคุณต้องการเงินกู้และคุณ จะจ่ายคืนเงินกู้โปรดติดต่อเขาบอกเขาว่า (คุณ Rugare Sim) แนะนำคุณให้เขา ติดต่อคุณ Mohamed Careen ทางอีเมล: (arabloanfirmserves@gmail.com)


    แบบฟอร์มข้อมูลการขอสินเชื่อ
    ชื่อจริง......
    ชื่อกลาง.....
    2) เพศ:.........
    3) จำนวนเงินกู้ที่ต้องการ:.........
    4) ระยะเวลาเงินกู้:.........
    5) ประเทศ:.........
    6) ที่อยู่บ้าน:.........
    7) เบอร์มือถือ:.........
    8) ที่อยู่อีเมล..........
    9) รายได้ต่อเดือน:.................
    10) อาชีพ :.................................
    11) เว็บไซต์ใดที่คุณอยู่ที่นี่เกี่ยวกับเรา .....................
    ขอขอบคุณและขอแสดงความนับถือ.
    อีเมล arabloanfirmserves@gmail.com

    ตอบลบ