วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การตรวจสุขภาพโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน


ชื่อ นามสกุล   นางสาวขวัญชนก สิโลทศ
ตําแหนง   นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด   สํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอบางปะกง
เบอรโทรศัพท    083-530152
เปนการแกไขปญหาเกี่ยวกับ การตรวจสุขภาพโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กข.คจ.
เหตุการณที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2555
สถานที่เกิดเหตุการณ   บานปลายไม้ หมูที่ 5 ตําบลหนองจอก อําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื้อเรื่อง :
หลักการของโครงการ กข.คจ. 
โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) เป็นโครงการของรัฐบาล ที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน ได้มีแหล่งเงินทุนในระดับหมู่บ้าน สำหรับยืมไปประกอบอาชีพ หรือขยายกิจการอาชีพของตน เพื่อเพิ่มรายได้ให้พ้นเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๖ มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลและตรวจสอบการใช้เงินดังกล่าว ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการตั้งงบประมาณและระเบียบของทางราชการ การสร้างกลไกธรรมาภิบาลทางการเงิน จึงมีความสำคัญ เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกองทุนโครงการ กข.คจ. มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง

กรมการพัฒนาชุมชน จึงมีวิธีการกำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพทางการเงิน การจัดทำ  Mobile Clinic   เพื่อเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า ปรอทวัดสุขภาพทางการเงิน วิธีการตรวจสุขภาพทางการเงินนี้  เปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพร่างกายของมนุษย์  ซึ่งจะได้หาทางแก้ไขปรับปรุงและป้องกัน ด้วยวิธีการวางเป้าหมายในการพัฒนาแก่องค์กรการเงินชุมชนได้อย่าง เป็นระบบ  และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น กรมการพัฒนาชุมชน โดยสำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพทางการเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ขึ้น ในปี พ.ศ.๒๕๕๕  โดยมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพทางการเงินกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) และกิจกรรมสร้างทีมผู้ตรวจสุขภาพเงินทุนโครงการ กข.คจ. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการตรวจสุขภาพทางการเงินกองทุนโครงการ กข.คจ. แก่ทีมผู้ตรวจสุขภาพ ระดับอำเภอ ซึ่งจะทำให้กองทุนโครงการ กข.คจ. ได้รับการตรวจสุขภาพทางการเงิน และได้รับการแนะนำในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่เงินทุนโครงการ กข.คจ.

วัตถุประสงค์ของการตรวจสุขภาพโครงการ กข.คจ. 
เพื่อให้กองทุนโครงการ กข.คจ. ได้รับการตรวจสุขภาพทางการเงินและได้รับการแนะนำในการบริหารจัดการ ตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่เงินทุนโครงการ กข.คจ.

ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการตรวจสุขภาพโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กข.คจ. บานปลายไม้ หมูที่ 5 ตําบลหนองจอก อําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นชุมชนที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบ โดยหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก มีเพียง 35 ครัวเรือน 169 คน  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างในภาคอุตสาหกรรม โดย มีนางสีนวน กุลละวณิชย์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน และ เป็นประธานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กข.คจ. โดยจำนวนครัวเรือนเป้าหมาย ที่ได้รับเงินยืมจากโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กข.คจ. จำนวน 14 ครัวเรือน มีจำนวนเงินทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กข.คจ.จำนวน 280,311.89 บาท

โดยขั้นตอนการดำเนินงานตรวจสุขภาพ มีดังนี้
1. เข้าร่วมประชุมสร้างความเข้าใจในการตรวจสุขภาพโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กข.คจ. และสร้างทีมตรวจสุขภาพโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กข.คจ. ระดับอำเภอ
2. ทีมตรวจสุขภาพฯทำความเข้าใจและร่วมกันวางแนวทางดำเนินงานตรวจสุขภาพ
3. ทีมตรวจสุขภาพฯลงพื้นที่ทำความเข้าใจแก่กลุ่ม/กองทุนชุมชนที่รับผิดชอบ
4. ทีมตรวจสุขภาพฯให้กลุ่ม/กองทุนกำหนดการประเมินตนเองตามแบบประเมินการตรวจสุขภาพ
5. ทีมตรวจสุขภาพร่วมกับกลุ่ม/กองทุน วิเคราะห์จัดทำแนวทางและแผนเพื่อการพัฒนา
6. ทีมตรวจสุขภาพ ประเมินกลุ่ม/กองทุนรอบที่ 2
7. สรุปผลการประเมิน รายงานจังหวัดต่อไป

บันทึกขุมความรู (Knowledge Assets) : นําเหตุการณประเด็นสําคัญในเนื้อเรื่องมาถอดเปนขุมความรู
1. ทีมตรวจสุขภาพฯลงพื้นที่เพื่อพูดคุย ให้แนวทางการตรวจสุขภาพ กับประธานกลุ่ม/กองทุน คณะกรรมการ และสมาชิก
2. ทีมตรวจสุขภาพฯต้องทำความเข้าใจจุดประสงค์ของการดำเนินงาน โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กข.คจ. ให้ถ่องแท้
3. ทีมตรวจสุขภาพฯต้องดำเนินตามแผนปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
4. ทีมตรวจสุขภาพฯต้องจัดทำเอกสารการประเมิน และข้อมูลต่างๆไว้เป็นหลักฐานรายงานต่อผู้บังคับบัญชา
5. ควรตรวจสุขภาพกลุ่ม/กองทุนด้วยความเป็นจริง ยอมรับความจริงว่า กลุ่ม/กองทุนมีสุขภาวะที่ดีหรือไม่ดี อย่างไร เพื่อหาแนวทางพัฒนากลุ่ม/กองทุน ต่อไป

แก่นความรู้
1. วางแผนการทำงานให้ดี
2. ปรึกษา หารือผูบังคับบัญชา
3. ใชความอดทน และเปนมิตร
4. ดำเนินตามแผนปฏิบัติอย่างจริงจัง
5. ตรวจสุขภาพกลุ่ม/กองทุนด้วยความเป็นจริง

กลยุทธ์
ส่งเสริม สนับสนุน การมีส่วนร่วม และให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กข.คจ.
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น