ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางคล้า
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก
08-9773-7174
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ อาชีพรายได้ของผู้นำชุมชน
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ
มีนาคม 2551
สถานที่เกิดเหตุ อำเภอบางปะกง
ตามที่อำเภอบางปะกงได้มอบหมายให้ข้าพเจ้า
รับงานผิดชอบประสานงานตำบลหอมศีล ซึ่งเป็นตำบลที่มีรายได้เฉลี่ยของประชากรข้อนข้างต่ำ
และมีผู้นำกลุ่มองค์กร ที่ค้อนข้างเข้มแข็ง พร้อมที่จะรับรู้และสร้างประสบการณ์กับการทำงานในรูปแบบใหม่
โดยเฉพาะ ผู้นำ อช.เป็นผู้ประสานงานในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่มีอยู่ในตำบล
และได้กลุ่มองค์กรสตรีเข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรม
ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน(ผู้นำ
อช.หญิง) ได้ติดต่อประสานงานผ่านมายังข้าพเจ้า
ว่าจะทำอย่างไรในการที่จะให้สมาชิกกลุ่มต่างๆ มีความรู้ด้านอาชีพ และ และสามารถรักษาสภาพแวดล้อมของหมู่บ้าน
ชุมชนของเราไว้ได้ด้วย ข้าพเจ้าจึงแนะนำไปว่า ขอดูความเข้มแข็งของกลุ่มองค์กรก่อน
โดยนัดประชุมเพื่อดูความพร้อม และประสานของบประมาณ ในการดำเนินงานก่อน
ในทางปฏิบัติ
ข้าพเจ้าในฐานะพัฒนากรประสานงานตำบลหอมศีล ได้เข้าร่วมประชุมกับกลุ่มองค์กรในตำบล
ซึ่งในวันที่มีการประชุมเตรียมความพร้อม มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมประมาณ 60-70 คน
โดยได้รับความร่มมือจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหอมศีล ให้ใช้ห้องประชุม
และได้รับฟังข้อคิดเห็นจากสมาชิก
และปัญหาต่างๆของหมู่บ้านที่มาจาการบอกเล่าจากสมาชิกกลุ่ม พอที่จะสรุปได้ว่า
อยากไปทัศนะศึกษาดูงาน ด้านอาชีพและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
จึงเป็นที่มาของการดำเนินกิจกรรมนี้
โดยประสานของบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลหอมศีล เป็นเงิน 50,000
บาท(ห้าหมื่นบาทถ้วน)ในการอบรมและทัศนะศึกษาดูงาน ณ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
บันทึกความรู้
1. ในการการจัดทำงาน/กิจกรรมต่างๆ
ต้องให้ชุมชนต้องการจึงจะได้ประโยชน์
2. ต้องมีการอบรมให้ความรู้ทางวิชาการก่อน
เพื่อเป็นแนวทางในการทัศนะศึกษาดูงานและสามารถสอบถามผู้ที่ให้ความรู้ได้
3. ต้องไปทัศนะศึกษาในสถานที่สามารถนำกลับมาทำได้จริง
มิใช่แหล่งวิชาการ
สิ่งที่ได้รับหลังการทัศนะศึกษาดูงาน
1. สมาชิกกลุ่มองค์กรนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานนำมาปฏิบัติ
จนสามารถเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวได้
ตัวอย่างเช่น อาชีพ ปลูกผักกระเฉด ในกระชัง ซึ่งสามารถทำได้ทั้งปี
เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณน้ำและการแตกยอดได้ และทำให้ครอบครัวนี้มีรายได้เพิ่มขึ้นมาจากก่อน
และเพียงพอสำหรับเป็นค่าอาหาร ในแต่ละวัน
2. การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
มีการจัดสรรบริเวณบ้านพักอาศัย ให้ใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น เช่น การปลูกต้นไม้ 3
อย่าง (3ชั้น) การปลูกต้นไม้แบบเกื้อกูลกัน การแบ่งพื้นที่ในการเก็บกักน้ำ
การบำบัดน้ำเสียและการใช้ประโยชน์จากน้ำเสีย
ซึ่งก่อนไปศึกษาดูงานจะไม่มีการทำและวางแผนจะทำ
3. การจัดการสิ่งแวดล้อม
มีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ ยกตัวอย่างเช่นการกำจัดขยะมูลฝอย
มีการคัดแยกขยะที่มาจากธรรมชาติ และขยะสังเคราะห์ และมีการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดขยะจากธรรมชาติ มีการคัดแยกขยะที่เปลี่ยนเป็นเงินได้เช่น
พลาสติก ขวดแก้ว ขวดพลาสติก
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นพื้นฐานนำสู่เศรษฐกิจพอเพียง ถ้าหากพื้นที่หมู่บ้านตำบลไม่มีการปรับปรุง ดูแล
รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะทำให้ครัวเรือนขาดรายได้และต้นทุนการผลิตในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชน
สูงมาขึ้น ทำให้ค่าครอชีพของครัวเรือนไม่พอใช้จ่าย ในเมื่อประชาชนในหมู่บ้าน
มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่นการทำปุ๋ยชีวภาพ(น้ำหมักชีวภาพ)
มีการพัฒนาสภาพพื้นที่ให้เหมาะสม สามรถใช้ประโยชน์ได้
จะทำให้ครัวเรือนมีอาชีพรายได้
และสามารถลดรายจ่ายและสามรถเพิ่มรายได้จากทรัพยากรธรรมติและสิ่งแวด้ล้อมได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น