วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีวัดความสุข


ผมมีประสบการณ์วัดความสุขกับชาวบ้านครับ ผมเคยถามเขาว่า “ความสุขเนี่ย เราวัดเป็นตัวเลขได้ไหม” ร้อยทั้งร้อยบอกว่าไม่ได้ครับ มันเป็นนามธรรมจะวัดกันยังไง ว่าแล้วผมก็บอกว่า “เอางี้ ตอนที่นั่งคุยกันอยู่เนี่ย ถ้าให้เต็ม 10 คะแนน คุณป้ารู้สึกว่ามีความสุขสักกี่คะแนน ลองให้คะแนนความสุขตัวเองดูสิ ให้กี่คะแนน” ชาวบ้านเขาก็จะบอกเท่านั้นเท่านี้ตามความรู้สึกของเขา ผมได้ทีก็บอกว่า “นั่นไง ความสุขวัดเป็นตัวเลขได้ ไม่เห็นยากเลย มันมีทุกข์มาก คะแนนมันก็น้อย มันมีทุกข์น้อย คะแนนมันก็มาก หรือสุขมากๆ คะแนนมันก็มาก สรุปว่าวัดได้นะความสุข”

ทีนี้วัดเป็นคนๆ วัดได้ แล้วจะวัดทั้งหมู่บ้านล่ะวัดได้ไหม  ก็วัดได้อีกครับ เราก็ให้แต่ละคนให้คะแนนความสุขของตัวเองมาสิครับ สมมุติว่าทั้งหมู่บ้านมี 100 คน เป็นตัวแทนครัวเรือนละ 1 คน ถ้าเราอยากวัดความสุขทั้งหมู่บ้าน เราก็ให้คนเหล่านี้ให้คะแนนสิครับ “เอ้าถ้าความสุขมีเต็มที่เลย ชอบใจหมู่บ้านของเรามาก มีผู้นำที่ดี มีชาวบ้านที่ดี สภาพแวดล้อมก็ดี การบริหารงานก็โปร่งใส เป็นธรรม  ให้เต็มเลย 10 คะแนน แต่ถ้าเห็นว่าไม่น่าเต็มหรอก แล้วควรจะให้เท่าไร ลองให้ดูซิ” ไหนใครว่า 10 คะแนน ยกมือหน่อย.... ไหนใครว่า 9 คะแนน ยกมือ... “ แล้วก็ค่อยพาเขายกมือเรื่อยไปจนถึง 0 คะแนน คือ ไม่มีความสุขเลย....

เสร็จแล้ว ก็เอาคะแนนทั้งหมดมารวมครับ สมมุติว่า มีคนให้ 10 คะแนน 10 คน 9 คะแนน 10 คน 8 คะแนน 70 คน 7 คะแนน 5 คน และ 6 คะแนน 5 คน ส่วนคะแนนอื่นๆ ไม่มี ให้เราเอาจำนวนคะแนนคูณด้วยจำนวนคนครับ แล้วรวมทุกชั้นคะแนนเข้าด้วยกัน แล้วหารด้วยจำนวนคนทั้งหมด อย่างในตัวอย่าง จะได้คะแนนดังนี้
(10*10)+(9*10)+(8*70)+(7*5)+(6*5) = 815/100 คิดเป็นคะแนนเท่ากับ 8.15 นี่ไงครับคะแนนของหมู่บ้านนี้ ถามว่าแล้วมันจะได้อะไร ตอบว่าก็เราจะได้รู้ไงครับว่าหมู่บ้านเขามีความสุขกันมากน้อยแค่ไหน ถ้าวัดกันด้วยความรู้สึกล้วนๆ คะแนน 8.15 ถือว่าดีนะครับ ในโรงเรียนคะแนนระดับนี้ต้องได้เกรด 4 หรือเกรด A นั่นเลย

แต่การวัดความสุขของหมู่บ้านในแบบของกรมการพัฒนาชุมชนนั้น เขามีองค์ประกอบหลายตัวครับ เขาไม่ได้วัดตูมเดียวอย่างของผม ที่เล่าน่ะเป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านเข้าใจครับ ว่าความสุขมันว่าเป็นตัวเลขได้ จะวัดแบบคนเดียวหรือวัดทั้งหมู่บ้านก็ได้

ทีนี้การวัดความสุขแบบของกรมการพัฒนาชุมชนเนี่ยเขาเป็นแบบวิชาการครับ เขาต้องการวัดว่าเมื่อทางราชการใส่งบประมาณ ใส่วิชาการ ใส่ความรู้ ใส่วัสดุสิ่งของอุปกรณ์ต่าง ๆ ลงไปในหมู่บ้าน เขาจะรู้สึกอย่างไร มองดูก็น่าจะมีความสุขดีนะครับ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า ยังต้องพิสูจน์....

วิธีวัดความสุขของหมู่บ้านตามแบบของกรมการพัฒนาชุมชน เขาจะวัด “ความอยู่เย็น เป็นสุข” ครับ ความอยู่เย็น เป็นสุขหมายถึง สภาวะที่คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพทั้งจิต กาย ปัญญา ที่เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นองค์รวมและสัมพันธ์กันได้ถูกต้องดีงาม นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างคนกับคน และระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากความหมาย ความอยู่เย็น เป็นสุขสามารถกำหนดองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยพื้นฐานร่วม ในการสร้างความสุขของมนุษย์ได้ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีสุขภาวะ 2) เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งเป็นธรรม 3) ครอบครัวอบอุ่น 4) การบริหารจัดการชุมชนดี 5) การมีสภาพแวดล้อมดีมีระบบนิเวศที่สมดุล และ 6) เป็นชุมชนประชาธิปไตยมีธรรมาภิบาล

องค์ประกอบที่ 1. การมีสุขภาวะ
หมายความถึงการดำรงชีพของบุคคลอย่างมีสุขกาย ดำเนินชีวิตโดยใช้ความรู้ในการรักษาร่างกายให้แข็งแรงไม่เจ็บป่วย มีอายุยืนยาว มีสุขภาพจิตใจที่ดี ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม คิดเป็น ทำเป็นมีความเป็นเหตุเป็นผล มีทักษะในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข สร้างสรรค์ประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัวและสังคมได้อย่างเต็มศักยภาพ

1.1 บุคคล มีความรู้ในการสร้างและรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย อายุยืนนาน หมายถึง ประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้เข้าใจและปฏิบัติตามหลักโภชนาการ ไม่เป็นโรคทั้งติดต่อและไม่ติดต่อ มีหลักประกันสุขภาพ มีโอกาสได้รับการรักษาจากแพทย์ พยาบาล อย่างสะดวก
1.2 บุคคล มีสุขภาพจิตที่ดี ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม เชื่อมั่นในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ประชาชนในหมู่บ้านมีหลักยึดเหนี่ยวในใจ ทั้งหลักศาสนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประเพณี วัฒนธรรมและกติกาของหมู่บ้านเมื่อเกิดปัญหาสามารถแก้ไขให้สำเร็จลุล่วงไป ไม่เป็นโรควิตกกังวล ไม่เป็นโรคซึมเศร้า ไม่เป็นโรคจิต ไม่ฆ่าตัวตาย

1.3 บุคคล มีทักษะในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข สร้างสรรค์ประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้อย่างเต็มศักยภาพ หมายถึง ประชาชนในชุมชน มีเป้าหมายในชีวิต เชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของตน ได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง ใช้ความสามารถในการปรับตัวเพื่อการเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล การตัดสินใจ คิดเป็น ทำเป็นความคิดสร้างสรรค์ การประมาณตนและการควบคุมสถานการณ์ การสื่อสาร ต่อรอง ปฏิเสธและโน้มน้าวจิตใจ การปรับตัว (ทักษะคือความเชี่ยวชาญ ชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งบุคคลสามารถสร้างขึ้นจากการเรียนรู้)

องค์ประกอบที่ 2. เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งเป็นธรรม
หมายความถึง การกระทาใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิต การจาหน่ายและการบริโภค ให้เกิดรายได้ที่เพียงพอ เกิดจากการมีงานสุจริต มีความมั่นคงและความปลอดภัยในการทางาน มีรายได้ที่เป็นธรรมต่อเนื่อง มีการรวมตัวเป็นกลุ่มเพื่อช่วยเหลือ แบ่งปันกัน เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม และเกิดความยั่งยืน
2.1 ครอบครัว มีความมั่นคงในอาชีพ มีรายได้ที่เพียงพอเกิดจากการมีสัมมาชีพ หมายถึง ประชาชน มีงานที่มั่นคงทา มีรายได้ที่เป็นธรรมต่อเนื่อง โดยใช้ความรู้ ความสามารถ อย่างถูกกฎหมาย ในการทางานสร้างรายได้ ด้วยทรัพยากรที่มีอย่างสมประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นงานในครัวเรือนตนเองหรือในสถานประกอบการ จัดการหนี้สินได้ไม่เป็นภาระ
2.2 ชุมชน มีการกระจายรายได้ในกลุ่มต่างๆ ในชุมชนอย่างเป็นธรรม หมายถึงชุมชนสามารถจัดกิจกรรมสร้างรายได้ กระจายไปสู่ประชาชน ครอบครัว กลุ่มองค์กร ได้อย่างทั่วถึงทั้งหมู่บ้าน
2.3 ชุมชน มีกิจกรรมสร้างความมั่นคงเศรษฐกิจฐานราก มีและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อเนื่อง มีสถาบันการเงินหมายถึง ชุมชนมีกิจกรรมการสร้างเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง ด้วยกระบวนการกลุ่ม การพัฒนาอาชีพ เพิ่มพูนทักษะฝีมือ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่ม มีสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีกองทุนสวัสดิการชุมชน ที่ให้บริการสมาชิกตามความต้องการได้ อย่างทั่วถึง สามารถจัดการสร้างกิจกรรมแก้ปัญหาหนี้นอกระบบได้

องค์ประกอบที่ 3. ครอบครัวอบอุ่น
หมายถึง ครอบครัวที่สมาชิกมีความรัก ความผูกพันต่อกัน มุ่งมั่นที่จะการดาเนินชีวิตร่วมกันอย่างมีจุดหมาย สามารถปฏิบัติบทบาทหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม มีการอบรมเลี้ยงดูสมาชิกวัยเยาว์ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพในวิถีชีวิตของความเป็นไทย เลี้ยงดูผู้สูงอายุให้สามารถดารงชีวิตได้อย่างมีความสุข และรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันเพื่อให้สามารถดารงความเป็นครอบครัวได้อย่างมีคุณภาพที่ยั่งยืน

3.1 ครอบครัวรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน สามารถปฏิบัติบทบาทหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถดารงความเป็นครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีคุณภาพที่ยั่งยืน หมายถึง ประชาชนทาหน้าที่ในการสร้างครอบครัว โดยมีเป้าหมาย และทากิจกรรมต่างๆ มีความรับผิดชอบร่วมกันในด้านต่างๆ เช่น ดูแล เลี้ยงดูบุตร ส่งเสริมการศึกษา สุขภาพ ธรรมเนียมประเพณีไทย ดูแลผู้สูงอายุ และช่วยเหลือญาติพี่น้อง ด้านการงาน ด้วยความผูกพันเอื้ออาทรต่อกัน ร่วมกันแก้ปัญหาของครอบครัวด้วยความรัก และการแสดงบทบาทหน้าที่ในครอบครัวอย่างสมบูรณ์ เช่น พ่อ แม่ ประกอบอาชีพสุจริต กระทาตนเป็นตัวอย่างแก่บุตร ดูแลทุกข์สุข ให้ความอบอุ่น เลี้ยงดูอบรมสั่งสอน บุตรมีหน้าที่ช่วยเหลือ ดูแล บารุง พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย เคารพเชื่อฟัง เป็นต้น สามี ภรรยา มีความสนใจในแนวทางเดียวกัน จิตใจหนักแน่น ปรับตัวเข้าหากัน เสียสละ ใจกว้าง รู้เหตุผล ไม่ขัดแย้งโดยไม่มีเหตุผล และไม่ยึดเหตุผลของตนฝ่ายเดียว เอาใจใส่และห่วงใยพร้อมร่วมสุข ร่วมทุกข์ ยกย่อง ไม่ดูหมิ่น ไม่นอกใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

3.2 ครอบครัว มีการอบรมเลี้ยงดูสมาชิกวัยเยาว์ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพในวิถีชีวิตของความเป็นไทย หมายถึง ครอบครัวมีวิธีการอบรมบุตร หลาน โดยอธิบายให้เชื่อในการทาดีให้หลักยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ความเอื้อเฝื้อ โอบอ้อมอารี สร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคม โน้มน้าวให้ประพฤติดีงาม รู้จักเลี้ยงชีพ มีวินัย มีกริยามารยาทดีงาม ปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อการศึกษา เพื่อปรับปรุงชีวิตให้มีหลักฐานมั่นคง

3.3 ครอบครัว ชุมชน เลี้ยงดูผู้สูงอายุให้สามารถดารงชีวิตได้อย่างมีความสุข หมายถึง กิจกรรมที่ครอบครัวและชุมชนจัดขึ้นและดาเนินการเพื่อดูแล ส่งเสริมผู้สูงอายุ ในครอบครัวและชุมชน ในด้านจิตใจ สุขภาพ เศรษฐกิจ รวมทั้งการสืบทอดภูมิปัญญา เพื่อให้ผู้สูงอายุอยู่ในครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีความสะดวกสบาย

องค์ประกอบที่ 4. ชุมชนมีการบริหารจัดการชุมชนดี
หมายถึง ชุมชน แสดงความสามารถบริหารจัดการชุมชน จัดกระบวนการพัฒนาชุมชน มีกิจกรรมการแก้ไขปัญหาชุมชนได้ด้วยตนเองอย่างมีเหตุมีผลและมีการบริหารจัดการที่ดี ผู้นำ ประชาชนและองค์กรในชุมชนสามารถร่วมมือ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข รวมทั้งมีภาคีการพัฒนาที่มีบทบาทเกื้อหนุนการทางานภายในชุมชน มีการสื่อสาร และกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง สามารถอนุรักษ์คุณค่าของประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชนท้องถิ่นรวมถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย

4.1 ประชาชนและกลุ่มองค์กรต่างๆ ในชุมชน มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ร่วมมือ ช่วยเหลือกัน เกื้อกูลและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข หมายถึง ประชาชนมีความสามัคคี มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านและคนอื่นๆ ในชุมชน ไม่มีปัญหาความขัดแย้ง การมีส่วนร่วมกับการทางานเพื่อการพัฒนาชุมชน ให้การสนับสนุน ทั้งด้านความรู้ ทรัพย์สิน แรงงาน ของประชาชนและจากองค์กรในชุมชน ในการช่วยกันคิด ตัดสินใจและบริหารกิจกรรมให้สำเร็จ

4.2 ชุมชน มีการบริหารจัดการที่ดี มีและใช้แผนชุมชนในการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน หมายถึง ชุมชนมีการจัดระบบบริหารจัดการชุมชน ส่งเสริมประชาชนให้มีส่วนร่วมใช้หลักวิชาการ ข้อมูล ในการตัดสินใจดาเนินกิจกรรมการพัฒนา มีแผนและใช้แผนพัฒนาชุมชนเป็นเครื่องมือในการกากับ การติดตามพัฒนาให้เกิดผลตามที่กำหนด การจัดสรรทรัพยากร โดยมอบหมายผู้รับผิดชอบงานและผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวไปสู่ความสำเร็จ

4.3 ชุมชน ร่วมกับภาคีการพัฒนาที่มีบทบาทเกื้อหนุนกัน สร้างการทางานภายในชุมชน หมายถึง การมีส่วนร่วม ของสถาบัน หน่วยงานต่างๆ ได้ในการสนับสนุนการทางานของชุมชนในการพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพ ทั้งทางด้านวิชาการ และสนับสนุนปัจจัยอื่นๆ

4.4 ชุมชน มีระบบการสื่อสารและกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง หมายถึง ชุมชนมีการส่งข่าวสาร ความรู้ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน และมีการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในชุมชน ด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น ประชุมเป็นประจา หอกระจายข่าว เสียงตามสาย เป็นต้น

4.5 ชุมชน สามารถธำรงไว้ซึ่งคุณค่าของประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนเอกลักษณ์ความเป็นไทย หมายถึง ชุมชนจัดให้มีกิจกรรมที่แสดงถึงการรักษาคุณค่า การถ่ายทอดและสืบทอด ภูมิปัญญา ประเพณีวัฒนธรรมต่อเนื่อง รวมถึงการนาภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหมู่บ้านได้

องค์ประกอบที่ 5.การมีสภาพแวดล้อมดีมีระบบนิเวศที่สมดุล
หมายถึง บรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการใช้ชีวิตของคนในหมู่บ้าน สร้างความสะดวก สบาย ร่มรื่น ปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ครอบครัวมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน และการมีบริการสาธารณูปโภคที่พอเพียง มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มีคุณภาพ สมดุล ในระบบนิเวศเพื่อใช้ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน

5.1 บุคคล ครอบครัว มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงหมายถึง ครอบครัวเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยที่แข็งแรงมั่นคง ให้เป็นที่พักอาศัยร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวอย่างสะดวกสบายและปลอดภัย
5.2 ชุมชน จัดสภาพแวดล้อมเพื่อการดารงชีวิตในชุมชนให้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หมายถึง บรรยากาศสวยงามและสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพที่ดี ไม่มีสิ่งเป็นพิษรบกวน สร้างความเดือดร้อนรำคาญ เช่น น้ำเน่า เสียงดัง ขยะพิษ กลิ่นเหม็น ไม่มีโจร ผู้ร้าย มีระบบป้องกันภัยอันตราย มีวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ไม่กังวลต่อการเกิดคดีที่กระทาต่อร่างกายและทรัพย์สิน

5.3 ชุมชน มีบริการสาธารณูปโภคที่พอเพียง หมายถึง ชุมชนมีสิ่งสาธารณะ ที่จาเป็นของหมู่บ้าน อยู่ในสภาพดี สามารถใช้ประโยชน์ อำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
5.4 ชุมชน มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพเพื่อสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศ และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของคน หมายถึง ทรัพยากรต่างๆ ของหมู่บ้าน มีคุณภาพดี เช่น ป่าชุมชน แหล่งน้ำ สัตว์น้ำ ทุ่งหญ้าชุมชน สภาพดินหรือสิ่งอื่นๆ มีการดูแลให้คงสภาพ เพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันในการดำเนินชีวิตของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อการพึ่งตนเอง หรือช่วยแบ่งเบาภาระในการดำเนินชีวิตให้มีความสะดวก สบาย ไร้กังวล เช่น สามารถมีรายได้ สามารถใช้ประโยชน์จากป่าในการลดรายจ่าย เป็นต้น

องค์ประกอบที่ 6. เป็นชุมชนประชาธิปไตยมีธรรมาภิบาล
หมายถึง ชุมชนเป็นสังคมประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาล ประชาชน มีสิทธิเสรีภาพได้รับการยอมรับและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นคนที่เท่าเทียมกันตามระบอบประชาธิปไตย ประพฤติ ปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ของตนเองและเคารพในสิทธิและหน้าที่ของคนอื่น มีระเบียบวินัย มีระบบการบริหารจัดการที่ยึดหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดความโปร่งใส คุ้มค่า และกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม นำไปสู่สังคมสมานฉันท์มีสันติสุขอย่างยั่งยืน

6.1 บุคคล มีศักดิ์ศรี มีสิทธิเสรีภาพและการยอมรับ และเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นคนที่เท่าเทียมกันตามระบอบประชาธิปไตย หมายถึง ประชาชน มีความเป็นอิสระในการกระทำกิจกรรมใดๆ ในชีวิตประจำวัน ตามขอบเขตอำนาจของกฎหมายหรือศีลธรรม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น อยู่ในหมู่บ้านร่วมใจกันปฏิบัติงานต่างๆ อย่างให้เกียรติ เคารพในความรู้ความสามารถ มีสิทธิคุณค่าของคน ให้โอกาสในการมีส่วนร่วมในการทางานและรับผลที่เกิดขึ้น อย่างเท่าเทียม เสมอกัน

6.2 บุคคล ปฏิบัติตามสิทธิ หน้าที่ กติกาประชาธิปไตย ไม่ซื้อสิทธิ์ ขายเสียงในการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง หมายถึง การแสดงออกของบุคคลในการกระทำต่างๆ ตามหน้าที่พลเมืองทีดี ยึดมั่นวัฒนธรรม ศีลธรรม กฎ กติกาของหมู่บ้าน มีวินัยในตนเอง โดยไม่ละเมิดหรือเอาเปรียบสิทธิของผู้อื่น เคารพตนเอง ในการตัดสินใจ การเลือกผู้แทนในการทำหน้าที่บริหารงานหมู่บ้าน/ชุมชนหรือประเทศ โดยไม่เห็นแก่ สินจ้างรางวัล และไม่สนับสนุนคนที่ทำผิดกฎ กติกาที่ได้กำหนดไว้

6.3 ชุมชนมีธรรมภิบาลชุมชน มีระบบการบริหารจัดการที่ยึดหลักความโปร่งใส คุ้มค่า เป็นธรรม รับผิดชอบหมายถึง การบริหารงานของคณะผู้บริหารของหมู่บ้าน ทุกคณะ ทุกกลุ่มที่มีในหมู่บ้าน ดำเนินการโดย ยึดหลักการปฏิบัติตาม กฎระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ ที่ทันสมัย เที่ยงธรรม ยึดมั่นในความถูกต้อง ซื่อสัตย์ สุจริต การปฏิบัติงานเปิดเผย ประชาชนรับทราบข้อมูลข่าวสารตรงไปตรงมา ให้โอกาสประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการคิด ตัดสินใจ เมื่อผิดพลาดมีการยอมรับและรับผิดชอบพร้อมแก้ไขปรับปรุงได้ทันท่วงที บนฐานการบริหารทรัพยากรอย่างประหยัด เกิดประโยชน์บรรลุเป้าหมายต่อประชาชนเป็นสำคัญ ประชาชนมีจิตสานึกที่ดีไม่ยอมรับและละอายต่อพฤติกรรมการเรียกรับสิ่งตอบแทนของผู้มีหน้าที่ให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกหรือได้มาซึ่งประโยชน์ที่ตนเองและครอบครัวต้องการ โดยกระทำในสิ่งที่กฎหมายห้ามไว้หรือไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายกำหนดให้ทำ หรือเบียดบัง ยักยอกทรัพย์สินส่วนรวมไปเพื่อประโยชน์ของตน

6.4 ชุมชน มีวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง สร้างความสันติสุข สมานฉันท์ในชุมชนโดยชุมชน หมายถึง ชุมชนมีระบบหรือกิจกรรมในการสร้างความรักความเข้าใจ มีความสามัคคี อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ใช้คณะกรรมการหรือบุคคลที่มีหน้าที่ในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นสร้างความปรองดองในชุมชน

ข้อมูลค่อนข้างยาวสักหน่อย เวลาวัดก็ต้องค่อยๆ ทำอย่างมีสติ สุขุม รอบคอบ ให้ชาวบ้านเข้าใจและให้คะแนนทีละข้อ ไม่ต้องรีบ ชวนคิด ชวนคุย ถึงวิธีการเพิ่มความสุขในข้อนั้นๆ ไปด้วย โดยใช้ตัวชี้วัด “ความอยู่เย็น เป็นสุข” เป็นเป้าหมายครับ...

นายสุรเดช  วรรณศิริ
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
โทร.081-2993477

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น