วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การบูรณาการแผนชุมชน

ชื่อ - สกุล นายอนิรุธ  ชาตะวราหะ
ตำแหน่ง  พัฒนาการอำเภอสนามชัยเขต
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสนามชัยเขต  จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก  038-597007
ชื่อเรื่อง  การบูรณาการแผนชุมชน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2555
สถานที่เกิดเหตุการณ์ อำเภอสนามชัยเขต  จังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื้อเรื่อง
การทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ไม่สามารถทำได้ โดยการสร้างจากบุคคล นอกชุมชน หรือทำโดยการสอน การฝึกอบรมเท่านั้น ชุมชนที่เข้มแข็งจะมีกระบวนการในการจัดการชุมชน มีการคิดวิเคราะห์ เรียนรู้ร่วมกัน มีกิจกรรมแก้ไขปัญหาของชุมชน รวมทังเพิ่มคุณค่าทางสังคม และเศรษฐกิจของคนในชุมชน ดังนั้นทุกชุมชน จึงต้องร่วมมือกันสร้างพลังชุมชน และใช้พลังชุมชนในการพัฒนาชุมชน  กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยส่งเสริมให้หมู่บ้านใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมกระบวนการ มีส่วนร่วม 
กระบวนการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาของคนในชุมชน โดยการเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยตนเองบนพื้นฐานของข้อมูล การคิด การตัดสินใจ และลงมือกระทำของคนในชุมชนโดยดำเนินการส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชนในหมู่บ้านเรื่อยมา มีปัญหา และวางรากฐานวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในหมู่บ้าน  
ทั้งมิติที่ชุมชนช่วยกันทำเอง เสนอขอความร่วมมือ และขอรับการสนับสนุนงบประมาณ โดยบูรณาการแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนให้เป็นแผนชุมชนบูรณาการระดับตำบลที่เสนอต่อองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เสนออำเภอ ( แผนพัฒนาอำเภอ ) และจังหวัด (แผนพัฒนาจังหวัด ) ตลอดจนหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนในปีงบประมาณ 2555 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสนามชัยเขต ได้ส่งเสริมให้ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน ( ศอช.ต.) ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชน มีการ บูรณาการแผนชุมชนระดับชุมชนระดับตำบล หรือใช้การปรับปรุงเข้าสู่แผนพัฒนาส่วนท้องถิ่นตลอดจนนำไปพัฒนาเป็นข้อบัญญัติงบประมาณประจำปีขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งไปใช้ในการบูรณาการแผนระดับอำเภอและบูรณาการแผนระดับจังหวัด เพื่อใช้พิจารณาจัดทำงบประมาณ  ต่อไป

วิธีการดำเนินงาน
1. ประชุมชี้แจงทีมปฏิบัติการขับเคลื่อนแผนชุมชนระดับตำบล ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ภาครัฐระดับตำบล ผู้แทนองค์กรส่วนท้องถิ่นผู้แทนกลุ่มองค์กรและเครือข่ายระดับตำบลฯ ผู้นำ อช. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ
2. การจัดเวทีบูรณาการแผนชุมชนในระดับตำบล โดยเชิญผู้นำชุมชน ผู้แทน อปท. ภาคีภาครัฐระดับตำบล  และภาคเอกชนโดยให้เวทีประชาคมดำเนินการดังนี้ 
  • แต่ละหมู่บ้านนำเสนอแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ของแต่ละหมู่บ้าน
  • นำข้อมูลของแต่ละหมู่บ้านมาวิเคราะห์เป็นภาครวมของตำบลด้วย  กำหนดอัตลักษณ์และตำแหน่งการพัฒนาตำบล ทิศทางการพัฒนาและศักยภาพของตำบล
  • ให้เวทีประชาคมนำแผนงาน/โครงการในแผนชุมชนแต่ละหมู่บ้าน มาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และจัดลำดับความสำคัญของแผนการ/โครงการ
  • เวทีฯจัดกลุ่มแผนงาน/โครงการ ออกเป็นสามกลุ่ม คือ ชุมชนดำเนินการโดยใช้ทุนของชุมชนแผนงาน/กิจกรรมที่ต้องขอความร่วมมือในกาสนับสนุนงบประมาณ หรือร่วมดำเนินการจาก อปท. และแหล่งทุนอื่น และแผนการ/โครงการกิจกรรมที่ขอใช้เงินงบประมาณทั้งหมด หรือส่วนใหญ่จาก อปท. และส่วนราชการอื่น
3. คณะทำงานระดับตำบลจัดทำเอกสารแผนชุมชนบูรณาการระดับตำบลและส่งต่อแผนฯ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอำเภอฯเพื่อประสานการปฏิบัติต่อไป
4. ทีมปฏิบัติการขับเคลื่อนแผนชุมชนระดับตำบล ร่วมกับ อปท. ภาคีภาครัฐระดับตำบล นำแผนการ/โครงการที่สำคัญ สู่การปฏิบัติ โดยมีแนวทางการประสานแผนที่ใช้หลักการด้านพื้นที่ ภารกิจ การมีส่วนร่วม โดยกำหนดพื้นที่ เป้าหมายร่วมกัน จัดลำดับความสำคัญของปัญหาเร่งด่วน , ปานกลาง, หรือปกติ และกำหนดเจ้าภาพหรือผู้รับผิดชอบพร้อมทั้งหน่วยงานที่สนับสนุน

ขุมความรู้
  • ชุดปฏิบัติการระดับตำบลมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดทำแผนชุมชนและกระบวนการแผนชุมชนอย่างชัดเจน
  • ต้องศึกษายุทธศาสตร์ของหน่วยงาน, ยุทธศาสตร์ จังหวัด/อำเภอฯ ยุทธศาสตร์ของแต่ละหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาตำบลให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด/อำเภอฯ
  • การจัดเวทีบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล โดยเน้นกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมกับการเสนอปัญหาสำคัญเร่งด่วนของชุมชน เพื่อนำมาสู่ปัญหาเร่งด่วนของตำบล
  • ต้องมีการประสานแผนการปฏิบัติ ในการกำหนดพื้นที่ภารกิจ และกำหนดเจ้าภาพหลัก และหน่วยงานสนับสนุน  
  • ควรให้ ศอช.ต. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการบูรณาการแผนชุมชน                                                                                                  
 แก่นความรู้
  • การจัดเวทีบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล เน้นกระบวนการที่มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการ   เสนอปัญหาเร่งด่วนการวิเคราะห์ตำบล การกำหนดแผนการในการพัฒนา ตลอดจนการประสานแผนในการปฏิบัติร่วมกัน
  • ให้ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน และ อปท. เป็นแกนนำหลักในการจัดเวทีในการประสาน แผนการปฏิบัติและการนำแผนงาน/โครงการที่สำคัญสู่การปฏิบัติ
  • ส่งเสริมให้ อปท. นำแผนบูรณาการระดับตำบล เข้าสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น และผลักดันให้นำไปพิจารณาเป็นข้อบัญญัติงบประมาณประจำปี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น