ชื่อ
– สกุล นางสาวณัฐฐินันท์ ประดับพงษ์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เบอร์ติดต่อโทร. 081-5774470
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ คุณภาพชีวิตที่ดี
มีความสุขของคนในชุมชน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ เมษายน ปี 2555
สถานที่เกิดเหตุการณ์ ณ บ้านโพธิ์เย็น ตำบลบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เนื้อเรื่อง
บ้านโพธิ์เย็น หมู่ที่ 6 ตำบลบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา มีการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม
ประกอบในการวางแผนการตัดสินใจดำเนินกิจกรรมต่างๆ และ กลุ่มอาชีพ เพื่อการช่วยเหลือคนในหมู่บ้าน อาทิเช่น
การจัดสวัสดิการให้แก่คนจน คนชรา
ผู้ด้อยโอกาส ซึ่งผู้นำหมู่บ้านได้กำหนดเป้าหมายหลักเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ให้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต
ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งบ้านโพธิ์เย็นก็ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยวให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
“อยู่เย็น เป็นสุข”
ของอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ซึ่งจะต้องมีการประเมินความสุขมวลรวมของชุมชนด้วยตัวชี้วัด
6 ด้าน 23 ตัวชี้วัด
การประเมิน”ความสุขมวลรวมชุมชน”
หรือ ความ “อยู่เย็น เป็นสุข” ของชุมชนนั้น เป็นการวัดคุณค่าของการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ที่สะท้อนเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา (Ends)
และสามารถพิจารณาเชื่อมโยงถึงวิธีการ
(Means) ต่างๆ ที่จัดทำเพื่อให้ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายความ
“อยู่เย็น เป็นสุข” ในชุมชนด้วย โดยดัชนีชี้วัดความอยู่เย็น
เป็นสุขสามารถประเมินได้ทั้งใน ระดับชุมชน ระดับครอบครัวและระดับบุคคล ซึ่งจะมีวิธีการดำเนินการประเมินความสุขมวลรวม ดังนี้
๑)
มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ ๑ คน
เป็นผู้ควบคุมดำเนินการถามความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมายที่ละด้านเป็นข้อๆ
ข้อใดที่มีข้อความยาวก็อ่านให้ฟังจนครบถ้วน
แล้วอธิบายความหมายประกอบ หรือให้กลุ่มเป้าหมายยกตัวอย่างที่ดำเนินกิจกรรมเหล่านั้นในหมู่บ้าน
เสร็จแล้วถามความคิดเห็นระดับความสุขที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมต่างๆ
ในแต่ละข้อ โดยมีเจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งคอยนับจำนวน
สรุปบันทึกผลระดับความคิดเห็นประมวลออกมาเป็นข้อๆ และเป็นภาพรวมในแต่ละด้าน
จนครบทุกด้าน
๒)
เมื่อดำเนินการครบทุกด้านแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการประมวลผลเป็นภาพรวมจากตัวชี้วัดทั้งหมดในแต่ละด้านว่ามีค่าคะแนน
และคิดเป็นร้อยละได้เท่าใด
๓)
เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการประเมินสอบถามความรู้สึกและความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมาย
ว่าหมู่บ้านน่าจะมีค่าการประเมินความสุขมวลรวมเท่าใด เพื่อเปรียบเทียบกับค่าประเมินความสุขมูลรวมแบบมีส่วนร่วมที่ดำเนินการ
และได้ค่าคะแนนตามข้อ ๒ แล้วนั้น
๔)
แจ้งผลการประเมินให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
และเปรียบเทียบกับความรู้สึกและความคิดเห็น ในข้อ ๓ ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
๕)
ชี้แจงให้เห็นและตระหนักในความสุขที่ขาดหายไปจากการประเมินว่ามีเรื่องใดบ้าง
และ
ชุมชนสามารถเติมเต็มความสุขนั้นได้อย่างไร
บันทึกขุมความรู้
(Knowledge
Assets)
- การกำหนดเป้าหมาย
ทิศทาง บทบาท ภารกิจการทำงานที่ชัดเจน
-ความชัดเจนเข้าใจในรูปแบบ
และวิธีการที่จะสื่อความหมายในรูปแบบต่าง ๆ
-การสร้างความยอมรับ/แสวงหาส่วนร่วมและประสานการทำงานร่วมกับภาคีทุกภาคส่วน
-การบริหารจัดการ
การแบ่งงาน การมอบหมายงาน การควบคุมติดตามและประเมินผล
แก่นความรู้ (Core
Competency)
-การศึกษารับทราบข้อมูลและนำไปวิเคราะห์กำหนดทิศทางเป้าหมาย
-การประชุมปรึกษาหารือ
-การกระตุ้น
ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความร่วมมือ ชี้แนะให้กำลังใจ
-การสร้างความพึงพอใจ
-งานสัมฤทธิ์ผล
กลยุทธ์ในการทำงาน
๑. ศึกษาข้อมูล รายละเอียดที่ชัดเจน
ทดลองฝึกปฏิบัติจากสถานการณ์จริง
๒. จัดประชุม
ปรึกษาหารือ ระดมความคิดเห็นจากทุกผ่ายเพื่อให้ได้ข้อสรุป
ข้อยุติที่ชัดเจนเป็นทิศทาง รูปแบบการปฏิบัติ๓. กระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุน ให้ทีมงาน-ภาคีได้มีบทบาทและส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอน ประสานการดำเนินการช่วยเหลือแก้ไขปัญหา และคอยให้กำลังใจให้ทุกภาคส่วน ร่วมทำงานกันได้อย่างสันติ
๔.
สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ร่วมงาน ภายใน-ภายนอกหน่วยงาน
ภาคีการทำงาน และประชาชนผู้ร่วมงาน อยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งต่อไป
๕.
งานสัมฤทธิ์ผล รู้สึกเป็นสุข
และภาคภูมิใจ ที่ได้รับมอบหมายภารกิจที่สำคัญ
เป็นจุดยืนที่จะต้องดำเนินการและขับเคลื่อนกิจกรรมครั้งต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น