ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะเกียบ
เบอร์โทรศัพท์ 038-508-022
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะเกียบ
เบอร์โทรศัพท์ 038-508-022
ชื่อเรื่อง การทำแผนที่ชีวิตพิชิตความยากจน
เนื้อเรื่อง
โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ : ชี้เป้าชีวิต
จัดทำเข็มทิศชีวิต
บริหารจัดการชีวิต ดูแลชีวิต จังหวัดฉะเชิงเทรา
เป็นการบูรณาการกรทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน โดยในส่วนของอำเภอท่าตะเกียบ
ได้มีการแต่งตั้งทีมชุดปฏิบัติการตำบลเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจน
แบบบูรณาการ
ข้าพเจ้าได้ร่วมเป็นทีมชุดปฏิบัติการตำบลคลองตะเกรา โดยมีครัวเรือนเป้าหมายทั้งสิ้น 16 ครัวเรือน
ทีมชุดปฏิบัตการตำบล ประกอบด้วย
ปลัดอำเภอ อปท. เกษตรตำบล
ครู กศน. กพสอ. ผู้นำ อช. และพัฒนากร ได้ออกปฏิบัติการเคาะประตูเพื่อเข้าถึงครัวเรือนเป้าหมายใน
4 กระบวนงาน คือ การชี้เป้าชีวิต
การจัดทำแผนที่ชีวิต
การบริหารจัดการชีวิต และการดูแลชีวิต ในส่วนขั้นตอนที่มีความสำคัญและต้องอาศัยความร่วมมือ
และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนคือกระบวนงานที่ 2
การจัดทำแผนที่ชีวิต
ในขั้นตอนนี้ข้าพเจ้า และทีมปฏิบัติการตำบลได้ร่วมกับผู้นำชุมชน สร้างความเข้าใจทั้งในทีมงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ในการช่วยกันการค้นหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมาย และทีมปฏิบัติการตำบลได้ร่วมกับผู้นำชุมชน
และครัวเรือนเป้าหมาย กำหนดทิศทางหรือ “แผนที่ชีวิต” เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง
และครอบครัว โดยอาศัยการค้นหา
และวิเคราะห์ข้อมูลของครัวเรือนเป้าหมาย ทั้งข้อมูลทางกายภาพ และศักยภาพของครัวเรือน เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการการพัฒนาให้ครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และพ้นจากความยากจน โดยกำหนดขั้นตอนกาจัดทำแผนที่ชีวิต
ดังนี้
ขุมความรู้
1.การกำหนดช่องทางการให้ความช่วยเหลือ โดยการสร้างความเข้าใจกับผู้นำชุมชน และครัวเรือนเป้าหมาย ในส่งเสริม/สนับสนุน แนวทางที่เหมาะสม
2.การกำหนดวิธีการให้ความช่วยเหลือ โดยการจัดทำสมุดบันทึกการแก้ไขปัญหาความยากจน (Family folder) จัดทำแผนที่ชีวิต และบูรณาการหน่วยงานภาคีในระดับ ตำบล อำเภอ ค้นหาช่องทางวิธีการที่เหมาะสมตามความสามารถ และทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อให้การส่งเสริมอาชีพตามศักยภาพ และความถนัดของครัวเรือน
1.การกำหนดช่องทางการให้ความช่วยเหลือ โดยการสร้างความเข้าใจกับผู้นำชุมชน และครัวเรือนเป้าหมาย ในส่งเสริม/สนับสนุน แนวทางที่เหมาะสม
2.การกำหนดวิธีการให้ความช่วยเหลือ โดยการจัดทำสมุดบันทึกการแก้ไขปัญหาความยากจน (Family folder) จัดทำแผนที่ชีวิต และบูรณาการหน่วยงานภาคีในระดับ ตำบล อำเภอ ค้นหาช่องทางวิธีการที่เหมาะสมตามความสามารถ และทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อให้การส่งเสริมอาชีพตามศักยภาพ และความถนัดของครัวเรือน
3.การกำหนดทิศทางการพัฒนาของครัวเรือน โดยการประชุมประชาคมเพื่อรับครัวเรือนเป้าหมาย ส่งเสริมการจัดทำสมุดบัญชีครัวเรือนเพื่อเปรียบเทียบรายรับ
-รายจ่าย ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
และส่งเสริมอาชีพตามความสามารถของคนในครัวเรือน
แก่นความรู้
1. การบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคี ทุกภาคส่วน
2. ทีมชุดปฏิบัติการตำบลเป็นกลไกการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่
3. การส่งเสริมกิจกรรมตามแผนที่ชีวิตของครัวเรือนเป้าหมาย
4. การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจน
1. การบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคี ทุกภาคส่วน
2. ทีมชุดปฏิบัติการตำบลเป็นกลไกการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่
3. การส่งเสริมกิจกรรมตามแผนที่ชีวิตของครัวเรือนเป้าหมาย
4. การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น