วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความสุขนั้นอยู่หนใด

ชื่อ นามสกุล    นางสาวอัญชนา    สลิลรัตน์
ตำแหน่ง       พัฒนาการอำเภอแปลงยาว
สังกัด          สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแปลงยาว
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก    08-1306-4240 / 08-1819-9362
เรื่อง           ความสุขนั้นอยู่หนใด

เนื้อเรื่อง
ท่ามกลางกระแสการชี้วัดการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงจากหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจากทางภาคราชการและภาคเอกชน ในมุมมองที่แตกต่างกัน จะสะท้อนให้เห็นภาพที่หลากหลาย และมีการจัดระดับให้หมู่บ้าน ว่าเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับใด แต่มีใครเคยถามชาวบ้านบ้างหรือเปล่าว่า เขาต้องการแบบไหน ทุกภาคส่วนต่างก็บอกว่าวิธีการของตัวเองดี ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วม อย่างน้อยก็ได้ร่วมคิด ร่วมทำ ส่วนร่วมได้รับผลประโยชน์นั้น ก็แล้วแต่เวลาและชาวบ้าน อำเภอแปลงยาว ได้รับมอบให้เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและได้กำหนดกรอบแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นรากฐานของชีวิตให้กับประชาชนในหมู่บ้านโดยประยุกต์แนวทางการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ตามบริบทของพื้นที่ให้เกิดเป็นรูปธรรม และทำการประเมินด้วยตัวชี้วัด 6 หมวด 22  ตัวชี้วัด และประเมินด้วยตัวชี้วัดกระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน  23 ตัวชี้วัด  ในปีงบประมาณ 2555  อำเภอแปลงยาว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามยุทธศาสตร์กรม

การพัฒนาชุมชน โครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 1 หมู่บ้าน และโครงการรักษาและพัฒนาคุณภาพความเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จำนวน 3 หมู่บ้าน และก่อนที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว อำเภอแปลงยาวได้มีการประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข” ของหมู่บ้าน หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน (Gross Village Happiness: GVH) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะวัดคุณค่าของการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่สะท้อนเป้าหมายของการพัฒนาว่าอยู่ในระดับใด และเมื่อได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานแล้ว ก็จะมีการประเมินอีกครั้งเพื่อดูผลความแตกต่าง การประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข” สามารถประเมินได้ทั้งในระดับชุมชน ระดับครอบครัวและระดับบุคคล และอำเภอแปลงยาวได้ดำเนินการประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข” ระยะก่อนการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการ จำนวน 4  หมู่บ้าน

ก่อนดำเนินการต้องเตรียมอะไรบ้าง
1. ศึกษารายละเอียดแนวทาง ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน เอกสารที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจอย่างชัดเจน
และกำหนดรูปแบบการดำเนินการเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับทีมงาน
2. จัดประชุมทีมงานของอำเภอ เพื่อชี้แจงรายละเอียด แนวทาง ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการประเมิน
ความสุขมวลรวม พร้อมมอบภารกิจแบ่งความรับผิดชอบการประเมิน เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม
3. เตรียมความพร้อมของสถานที่ดำเนินการประเมิน

เมื่อถึงวันประเมินความสุขมวลรวม ทำอย่างไร
1. เจ้าหน้าที่ 1 คน เป็นผู้ดำเนินการถามความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมายที่ละด้านเป็นข้อๆ อ่านให้ฟังจนครบถ้วน และอธิบายความหมายประกอบให้ชัดเจนแล้วถามความคิดเห็นระดับความสุขที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละข้อ โดยมีเจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งคอยนับจำนวน สรุปบันทึกผลระดับความคิดเห็น ประมวลออกมาเป็นข้อๆ และเป็นภาพรวมในแต่ละด้าน จนครบทุกด้านและทุกข้อ
2. เมื่อครบทุกด้านทุกข้อแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการประมวลเป็น
ภาพรวมจากตัวชี้วัดทั้งหมดในแต่ละด้านมีค่าคะแนนเท่าใด และคิดเป็นร้อยละเท่าไหร่
3. เจ้าหน้าที่ได้สอบถามความรู้สึกและความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมาย ว่าภาพรวมของหมู่บ้านน่าจะมีความสุขมวลรวมเท่าไหร่ แล้วมาเปรียบเทียบกับค่าประเมินความสุขมวลรวมแบบมีส่วนร่วม
4. แจ้งผลการประเมินให้ให้กลุ่มเป้าหมายทราบ แล้วเปรียบเทียบความรู้สึกและความคิดเห็นว่ามีความ
แตกต่างหรือไม่
5. ชี้ให้ที่ประชุมเห็นว่าความสุขที่หายไปจากการประเมินมีเรื่องอะไรบ้าง และสามารถจะเติมความสุขนั้นได้อย่างไร

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
  • การกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง และภารกิจการทำงานที่ชัดเจน
  • เข้าใจในรูปแบบ และวิธีการที่จะสื่อในรูปแบบต่างๆ
  • การบริหารจัดการ การมอบหมายงาน การควบคุมและติดตามประเมินผล                                  
แก่นความรู้ (Core Competency)
  • การสร้างบรรยากาศ การกระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความร่วมมือ ให้กำลังใจ
  • ความสุขมวลรวมของชุมชนเปลี่ยนแปลงได้ได้ตามสภาวะแวดล้อมของชุมชนที่มีการเปลี่ยนแปลง
  • กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนมีผลต่อความเที่ยงตรงของค่าคะแนนความสุขที่วัดได้     
 กลยุทธ์ในการทำงาน 
  • สร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง และไว้วางใจกันและกันในเวที
  • การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์กระตุ้นความคิดให้กับผู้ร่วมเวที
  • ใช้หลักประชาธิปไตย ยึดหลักการมีส่วนร่วม
  • มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 
  • แนวคิด “สร้างพลังชุมชน ใช้พลังชุมชน ในการพัฒนาชุมชน” 
  • ตัวชี้วัดความ “อยู่เย็น เป็นสุข” ของชุมชน หรือความสุขมวลรวมชุมชน(Gross Village Happiness) ของกรมการพัฒนาชุมชน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น