ชื่อ
– สกุล นางแสงเงิน
ไกรนรา
ตำแหน่ง
พัฒนาการอำเภอ
สังกัด
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะเกียบ
เบอร์โทรศัพท์
0818199614
ชื่อเรื่อง
การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี
พ.ศ.2555
สถานที่
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะเกียบ
เรื่องเล่า
เมื่อปี
พ.ศ. 2554 ข้าพเจ้าได้มีโอกาสกลับไปเยือนถิ่นเก่า
ที่เคยปฏิบัติหน้าที่เป็นพัฒนากร
การไปเยือนครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าทราบว่ากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่ข้าพเจ้าได้เคยมาสนับสนุนให้จัดตั้งยังคงดำรงอยู่และมีเงินหลายล้านบาท
ข้าพเจ้าจำได้ว่ากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกลุ่มนี้ข้าพเจ้าได้ใช้เวลานานมากกว่าจะจัดตั้งได้
โดยเริ่มแรกข้าพเจ้าได้เทียวไปเทียวมาบ้านผู้ใหญ่เพื่อพูดคุยขายความคิดเรื่องการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
จนผู้ใหญ่บ้านเห็นด้วย จึงเรียกประชุมชาวบ้านเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
ซึ่งในขั้นตอนนี้ก็ใช้เวลาการประชุม 2-3 ครั้งจึงมีความพร้อมที่จะจัดตั้งได้
และทุกเดือนในวันเก็บเงินสัจจะสะสม ข้าพเจ้าจะเข้าไปเป็นพี่เลี้ยง
และประชุมสร้างความเข้าในเรื่องคุณธรรม 5 ประการ ในส่วนของของเอกสารทะเบียนต่างๆ
ในเริ่มแรกข้าพเจ้าได้ทำเป็นตัวอย่างให้ดู
และสอนให้คณะกรรมการจัดทำเองโดยข้าพเจ้าเป็นพี่เลี้ยงทุกเดือน
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกลุ่มนี้ได้ดำเนินตามขั้นตอนทุกอย่าง
และเอกสารทะเบียนต่างๆก็จัดทำตามแบบที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด
ในปี
พ.ศ. 2555 ข้าพเจ้าได้กลับมาสัมผัสกับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตอีกครั้ง เมื่อข้าพเจ้าได้มาดำรงตำแหน่งพัฒนาการอำเภอท่าตะเกียบ
ซึ่งข้าพเจ้าได้ให้ความสนใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ
โดยเริ่มต้นจากการสอบถามข้อมูลจากพัฒนากรที่รับผิดชอบงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น จากนั้นจึงเชิญคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตทุกกลุ่ม
รวมถึงกลุ่มสัจจะสะสมที่เกิดขึ้นจากการสนับสนุนของหน่วยงานอื่นมาประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
ผลจากการประชุมครั้งที่เป็นที่พอใจของผู้เข้าประชุมเพราะเขาได้รับรู้รับทราบการดำเนินงานของกลุ่มอื่นๆเพื่อนำไปปรับใช้กับกลุ่มของตัวเอง
จากนั้นข้าพเจ้าได้ทำการตรวจสุขภาพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตโดยในเบื้องต้นได้ให้ทุกกลุ่มตรวจสุขภาพของตนเองก่อน
จากนั้นก็นำข้อมูลที่ทุกกลุ่มได้ตรวจสุขภาพตนเองมาอ่านให้ที่ประชุมฟังและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน และชี้แจงให้ทุกกลุ่มทราบว่ากลุ่มตัวเองไม่ผ่านข้อไหนบ้างเพื่อจะได้นำข้อมูลจากการตรวจสุขภาพกลับไปพูดคุยกับสมาชิก
เพื่อวางแผนปรับปรุงการดำเนินงานของงกลุ่มต่อไป
จากผลการตรวจสุขภาพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
ทำให้ทราบว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่มยังไม่ได้ตระหนักในเรื่องคุณธรรม 5 ประการ
บางกลุ่มสมาชิกส่งเงินสัจจะสะสมไม่ต่อเนื่อง บางกลุ่มเก็บเงินสัจจะเป็นรายปี
เอกสารทะเบียนและบัญชีก็ไม่เป็นไปตามแบบที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด
กลุ่มออมทรัพย์ฯบางกลุ่มมีกรรมการไม่ครบทั้ง 4 คณะ บางกลุ่มสมาชิกส่งเงินคืนไม่เป็นไปตามสัญญา
ส่วนด้านสวัสดิการให้แก่สมาชิก
และการจัดกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์ของกลุ่มมีทุกกลุ่มแต่ไม่เกิน 6 กิจกรรม บางกลุ่มก็มีปัญหาไม่ไว้วางใจคณะกรรมการ
บางกลุ่มคณะกรรมการทำงานกันเพียงไม่กี่คน
บางกลุ่มมีปัญหาสมาชิกกู้ยืมเงินแล้วไม่ส่งชำระคืน สมาชิกไม่มาร่วมประชุมทุกเดือนทำให้ไม่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
สมาชิกไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
สมาชิกมุ่งหวังแต่เรื่องการกู้ยืมเงินจากกลุ่ม
เมื่อได้ข้อมูลการตรวจสุขภาพของทุกกลุ่มแล้ว
ก็ได้พูดคุยกันในทีมงานเพื่อให้ทุกคนได้ทำแผนปฏิบัติการประจำเดือนไปติดตามสนับสนุน
โดยเน้นเรื่องธรรมาภิบาล ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อได้พูดคุยกับทีมงานแล้วทำให้ได้ข้อมูลว่าตัวเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนไม่ค่อยได้ติดตามให้การสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เท่าที่ควร
เมื่อถามว่าทำไม ก็ได้คำตอบว่าบางครั้งเมื่อเจ้าหน้าที่เข้าไปแล้วบางกลุ่มเขาก็เกรงว่าจะไปปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆที่เขาเป็นอยู่ให้มีความยุ่งยาก
อย่างเช่น รูปแบบของบัญชีต่างๆ
เพราะส่วนใหญ่แล้วเขาจะทำบัญชีตามความเข้าใจของเขาเองซึ่งเขาก็เข้าใจ
หรือคณะกรรมการของกลุ่ม เขาก็มีคณะกรรมการที่สามารถทำงานได้ถึงแม้จะไม่ครบ 4
คณะตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน
และที่สำคัญคือเจ้าหน้าที่มีงานอื่นๆอีกมากจึงไม่สามารถแบ่งเวลามาติดตามเรื่องนี้ได้
ขุมความรู้
1.การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจะต้องมีการขายความคิดจนกว่าชาวบ้านจะเข้าใจและมีความพร้อมในการจัดตั้ง
เปรียบเหมือนการนำสินค้าไปเสนอขายให้ลูกค้า
2.เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจะต้องมีความมุ่งมั่นในการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
ถ้าเปรียบกับเซลล์แมนก็คือจะต้องพยามยามขายสินค้าให้ได้
3.เมื่อจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ได้สำเร็จแล้ว
เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจะต้องมีการติดตามให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
เปรียบเหมือนการบริการหลังการขายที่ต้องคอยใส่ใจลูกค้า
4.การตรวจสุขภาพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะจะทำให้คณะกรรมการทราบว่ากลุ่มของตัวเองมีข้อบกพร่องเรื่องอะไรบ้าง
เพื่อจะได้วางแผนปรับปรุงให้ดีขึ้น
แก่นความรู้
1.การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
ต้องเกิดจากความต้องการที่แท้จริงของสมาชิก กลุ่มจึงจะสามารถดำรงอยู่ได้
2.กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่ประสบผลสำเร็จ
สมาชิกจะต้องตระหนักถึงคุณธรรม 5 ประการ
3.การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่ประสบผลสำเร็จ
ส่วนหนึ่งเกิดจากการดูแลเอาใจใส่ของเข้าหน้าที่
4.กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่ประสบผลสำเร็จ
จะต้องมีประชุมพบปะและเปลี่ยนความคิดกันอย่างสม่ำเสมอทั้งในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม
5.กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่ประสบผลสำเร็จจะต้องมีการติดตามและประเมินผลโดยบุคคลภายนอกเพื่อจะได้ทราบข้อบกพร่องของตนเองโดยไม่ลำเอียงเข้าข้างตัวเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น