วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ผู้นำชุมชนสั่งเป็นสั่งตายโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน


ชื่อ สกุล  สิบเอกสมพงษ์ นาคสาคร
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางคล้า
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก    08 - 3103 - 8838
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ    อาชีพรายได้ของประชาชนในหมู่บ้าน/ชมชน
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ  เดือนพฤษภาคม 2542 – กรกฎาคม 2544
สถานที่เกิดเหตุ บ้านท่าแพ ม.4 ต.บางศาลา อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

ตามที่อำเภอปากพนัง  ให้ข้าพเจ้าเป็นพัฒนากรผู้ประสานงาน ตำบลบางศาลา  มี ๙ หมู่บ้าน โดยมี นายจวน ศรีเจริญ เป็นกำนัน (เป็นผู้มีอิทธิพล/ซุ้มมือปืน) ในขณะนั้นมีเรื่องยิงกันในพื้นที่อยู่บ่อย ๆ ตำบลบางศาลาเป็นตำบลที่มีรายได้เฉลี่ยของประชาชน ปานกลาง ถึงรายได้มาก เนื่องจากชาวบ้านได้มีการทำนากุ้งกุลาดำแบบพัฒนา(เป็นนาที่บุกเบิกใหม่ระบบนิเวศยังอุดมสมบูรณ์อยู่)  ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง  วิถีชีวิตของประชาชนในตำบลชอบเล่นการพนันเป็นนิจ ( เช่น ปอปั่น,ไฮโล,ชนวัว,ชนไก่.กัดปลากัด,หวยเถื่อน)

บ้านท่าแพ หมู่ที่4  ตำบลบางศาลา เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก ได้รับงบประมาณโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน เมื่อ ปี 2538 โดยมีนายจวน ศรีเจริญ เป็นกำนันเป็นผู้ปกครองท้องที่ และเป็นประธานโครงการโดยตำแหน่ง ครัวเรือนยืมเงินได้มีมติเห็นชอบให้ทำโครงการเลี้ยงสุกร โดยครัวเรือนยืมเงินแล้วนำให้กำนันเป็นผู้บริหารโครงการ สถานที่ตั้งโครงการ ได้ใช้บริเวณบ้านกำนันเป็นที่เลี้ยงสุกร  ผลสรุปโครงการ ฯ ปรากฏว่าโครงการล้มเหลว (กำนันซึ่งเป็นผู้ทรงอิทธิพลไดนำเงินที่ขายสุกรได้ไปใช้ส่วนตัวจนหมดแล้วบอกครัวเรือนยืมเงินว่าขาดทุน)

ข้าพเจ้าซึ่งย้ายไปจากจังหวัดสระแก้ว ไปประจำที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อนร่วมงานเค้ารู้ข้อมูลตำบลนี้ดีอยู่แล้วว่าตำบลนี้ทำงานยาก เค้าก็ใจดียกตำบลบางศาลาให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ประสานงาน  และเมื่อได้รับทราบข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่แล้วข้าพเจ้าก็ใช้ หลักการ วิธีการ และกระบวนการพัฒนาชุมชน (พึ่งอบรมพัฒนาก่อนประจำการ ณ.วิทยาลัยการพัฒนาชุมชนอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มาใหม่ ๆ พ.ศ.2542) ข้าพเจ้าจึงวางแผนเข้าหากำนันเอียด ศรีเจริญ  โดยจัดให้มีการประชุมภายในตำบลแล้วก็ไปเชิญกำนันเข้าร่วมประชุมด้วยแทบทุกครั้ง แต่ละครั้งกำนั้นจะพร้อมอาวุธเต็มอัตรา (ก่อนหน้านั้นกำนันยิงกับสมาชิกสภาจังหวัดอยู่ก่อนแล้ว ) นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของข้าพเจ้า

การเข้าทำงานในพื้นที่แต่ละครั้งจะใช้รถจักรยานยนต์เพราะว่าทางลำบากมากเป็นผิวทางลูกรัง  ต่อมาชาวบ้านและผู้นำชุมชนที่เป็นห่วงข้าพเจ้ากลัวว่าพัฒนากรจะถูกลูกหลงไปกับกำนันด้วยก็เตือนว่าที่หลังอย่ารับกำนันเอียดไปไหนด้วย เพราะว่าทีมงาน สมาชิกสภาจังหวัดเขากำลังตามล้างแค้นกันอยู่ หลังจากนั้นข้าพเจ้าก็ลดการพากำนันออกประชุมในตำบล แล้วเวลามีข้อราชการข้าพเจ้าก็จะไปที่บ้านกำนันเอียด ก่อนเป็นลำดับแรกก็ไปหารือกับกำนัน แล้วกำนันก็ให้คนสนิทไปตาม

กลุ่มเป้าหมายมาคุยกับเรา งานในพื้นที่ทั้ง 9 หมู่บ้านก็ราบรื่นไปด้วยดี  โดยเฉพาะงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนบ้านท่าแพ หมูที่ 4 ข้าพเจ้าก็พูดคุยกับกำนัน โดยกำนันนำส่งเงินคืนงวดแรก จำนวน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) แล้วทำสัญญาคืนเงินเป็นงวด โดยกำนันลงนามในสัญญา กับ พัฒนาการอำเภอ โดยมีข้าพเจ้าเป็นผู้บันทึกสัญญา หลังจากนั้นข้าพเจ้าก็ย้ายไปรับราชการบนสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช

บันทึกขุมความรู้
1. ผู้นำชุมชนที่มีอิทธิพลสามารถทำให้โครงการต่าง ๆ ของภาครัฐไม่ประสพความสำเร็จได้
2. งานพัฒนาชุมชนจะสำเร็จได้และยั่งยืน จะต้องประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการให้ผู้มีส่วนได้เสีย เข้าใจเสียก่อนถึงจะทำโครงการ
3. ประชาชนในชุมชนยังเกรงกลัวต่อผู้นำชุมชน
4. ประชาชนในชุมชนยังมีความเอื้ออาธรกันภายในชุมชน

บันทึกแก่นความรู้
1. เทคนิคในการทำงานกับผู้นำชุมชน
2. การเข้าถึงผู้ชุมชนโดยระยะเวลาเป็นเครื่องมือ
3. การทำให้ผู้นำชุมชนและประชาชนยอมรับในตัวพัฒนากรผู้ประสานงานตำบลเพื่อนำไปสู่งานและกิจกรรมพัฒนาชุมชนจนประสพผลสำเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น